Monday, August 15, 2011

วิธีแก้ปัญหา Outlook

Outlook ไม่ยอมให้เปิดไฟล์ที่แนบมาทำไงดี ??
ดูเหมือนว่า เครื่องของคุณจะกำหนดให้ Outlook บล็อคไฟล์แนบ (attachment) เพื่อป้องกันไวรัสที่แนบมากับไฟล์ ซึ่ง
ถ้าคุณใช้ ซอฟต์แวร์แอนตี้ไวรัส จะสามารถปิดฟังก์ชันบล็อคไฟล์แนบได้โดยไม่ต้องกังวล อย่างไรก็ดีการที่จะ
สามารถทำให้เปิดไฟล์แนบนั้นได้ให้ทำตามขั้นตอนต่อไปนี้
เปิด Outlook ไปที่เมนู Tool คลิกคำสั่ง Option และเลือกแท็บ Security คลิกยกเลิกเช็กบ็อกซ์หน้าข้อมความว่า "Do
not allow attachment to be saved or opened that could potentioally be a virus" จากนั้นคลิกที่ OK
Outloook Express ไม่จำ Password แก้ไง
ทิปนี้เหมือนกับสองคม เพราะมันสะดวกแต่มันอาจไม่ปลอดภัย ถ้าคุณมีข้อมูลสำคัญ ๆ อยู่ในเครื่อง แต่ถ้าคุณต้อง
ความสะดวกมากกว่า ทิปนี้ก็เหมาะสำหรับคุณ เพระมันจะทำให้คุณสามารถใช้ Outloook Express ได้ทันทีโดยไม่ต้อง
พิมพ์ Password ซ้ำอีก ซึ่งก็มีวิธีการดังต่อไปนี้ครับ
1. คลิกปุ่ม Sart > Run พิมพ์คำว่า regedit
2. เข้าไปที่ HKEY_CURRENT_USER\Software\Microsoft
3. คลิกบนโฟลเดอร์ Protected Storage System Provider แล้วกดปุ่ม Delete ที่คีย์บอร์ด คลิก Yes เพื่อยืนยันการลบทั้ง
โฟลเดอร์
4. รีสตาร์ทระบบใหม่
5. เปิดโปรแกรม Outloook Express แล้วพิมพ์ Password ของคุณเข้าไป
6. ปิดโปรแกรม Outloook Express
เท่านี้โปรแกรม Outloook Express ก็จะจำ Password ที่คุณพิมพ์เข้าไปแล้ว
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net

การ Backup Mail ใน Outlook Express
บางครั้งเครื่องคอมพิวเตอร์ของคุณก็ต้องทำการ Format Hardisk บางเพราะอาจจะเกิดจากสาเหตุหลายประการซึ่ง
คุณจำเป็นจะต้องล้าง Hardisk จริง ๆ เวลาที่คุณล้าง Hardisk แน่นอนข้อมูลทุกอย่างที่อยู่ใน Hardisk จะถูกลบไป
หมด นั้นก็หมายถึง Mail ที่อยู่ใน Outlook Express ก็ต้องถูกลบออกไปด้วยเช่นกัน เพราะฉะนั้นเราจะมาทำการ
Backup Mail ที่อยู่ใน Outlook Express กัน
1.เริ่มแรกให้เข้าไปที่ My computer เลือก C:\Windows
2.เลือก Application Data เลือกแฟ้มที่ชื่อว่า Identities >{55232100-9B0E-11D4-9C38-BF9D94DD694E} >
Microsoft
3.จะเห็นแฟ้มที่ชื่อว่า Outlook Express ถ้าคุณเข้าไปดูในแฟ้มนี้คุณจะเห็นไฟล์ต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับ Mail ของคุณ
4.Copy แฟ้ม Outlook Express ไปทั้งแฟ้มเลย คุณอาจจะก็อปไปไว้ใน Hardisk ตัวที่ 2 เมื่อเสร็จแล้วคราวนี้คุณจะลบ
Hardisk หรืออะไรก็ตามสบาย หลังจากลงโปรแกรมเสร็จเรียบร้อยแล้ว ให้คุณเปิดโปรแกรม Outlook Express ขึ้นมา
ให้โปรแกรมสร้างแฟ้ม Folder ของ Outlook เสียก่อน เสร็จแล้วให้นำตัวที่เรา Back ีup ไว้ ไปใส่ในที่อยู่ตามที่อยู่เดิม
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net

การแก้ปัญหา รับ- ส่งอีเมล์ Hotmail ไม่ได้ในโปรแกรม Outlook Express
หลายๆ ท่านที่ใช้ Hotmail แล้วต้องการใช้อีเมล์ POP3 ซึ่ง จะดูดจดหมายลงมาในเครื่องของเรา แต่บางท่านรับ - ส่ง
ไม่ได้ มีวิธีแก้ดังนี้
1. ตรวจสอบค่าต่าง ๆ ของ Outlook Express ให้ถูกต้องดังนี้ครับ
เปิดโปรแกรม Outlook Express แล้วไปที่ เมนู -> Accounts... -> Mail จากนั้น ดับเบิ้ลคลิกที่ Hotmail ในกรอบสีขาว
หัวข้อ Account หรือ คลิกที่ Hotmail -> Properties
คลิกที่ Server แล้วตรวจสอบในช่อง Login name: จะต้อง เป็น Email ที่มี @hotmail.com เช่น
attaporn_11@hotmail.com
ตรวจ Password ให้ถูกต้อง
ตรวจ My mail server Is An จะต้องเป็น HTTP server ถ้าไม่ใช่ต้องลบและสร้างใหม่
ตรวจ Server Url : อันนี้ควรจะใส่ http://services.msn.com/svcs/hotmail/httpmail.asp
2. ถ้าลองวิธีดังกล่าวแล้วไม่ได้ผลให้ลองเข้าเว็บ Hotmail ดูนะครับ ถ้าเข้าไม่ได้ อาจจะเกิดปัญหาที่ทาง Hotmail เอง
ครับ
3. หากไม่ได้อีกต้อง ลองติดต่อ ISP ที่ใช้บริการอยู่ครับ
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net

กำจัดเครื่องหมาย > เวลาฟอร์เวิร์ดเมล์ ใน Outlook ทำไง
การยกเลิกเครื่องหมาย > ใน Outlook สามาถทำได้โยคลิกเมนู Tools > Option คลิกแท็บ Send สังเกตุหัวข้อ Mail
Sending Format ที่ให้เลือกกำหนดเป็น HTML หรือ Plain Text คลิกที่ปุ่ม Plain Text Setting จากนั้นคลิกยกเลิก
หัวข้อที่เขียน Indent the Original Text With ... (>,: หรือ When Replying or Forwarding คลิก OK เพียงเท่านี้ก็เสร็จ
แล้วครับ
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net

ดึงแอดเดรสจาก Outlook เข้าไว้ใน Excel
การสร้างอีเมล์แอดเดรสไปเก็บใน Excel ส่วนใหญ่จะทำเพื่อแบ็กอัพข้อมูลไว้ใช้ยามฉุกเฉินหรือยามที่ต้องฟอร์แมต
ฮาร์ดดิสก์ แล้วยังอยากเก็บอีเมล์ของญาติๆ ไว้ก็สามารถทำได้โดยเปิดโปรแกรม Outlook Express
แล้วคลิ้กเมนู File -> Export ->Address Book เมื่อโปรแกรมขึ้นหน้าต่างมาถามว่าจะส่งออกอีเมล์ไปไว้ในรูปแบบของ
ไฟล์อะไร ก็ให้เลือก Text File ( Comma Separated Values) ตามด้วยการกดคลิ้กปุ่ม Export และกำหนดว่าจะเอา
ฐานข้อมูลอีเมล์ทั้งหมดไปสำรองไว้ที่โฟลเดอร์ใด (คลิ้กปุ่ม Browse) รวมถึงการจะต้องตั้งชื่อไฟล์ ซึ่งก็ทำเหมือน
เวลาบันทึกงานธรรมดา กดคลิ้กปุ่ม Save ก็จะกลับมาที่หน้าจอเดิม ให้คลิ้กปุ่ม Next เพื่อเข้าสู่ขั้นตอน Select the filed
you wish to export ที่ให้เลือกว่าจะเอาฟิลด์ไหนสำรองเก็บไว้บ้าง ก็เลือกเท่าที่จำเป็น และที่ขาดไม่ได้คือ ฟิลด์ Email
Address เมื่อเลือกครบแล้วให้คลิ้กปุ่ม Finish
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net
ตั้งค่าให้ผู้รับอีเมล์ตอบกลับว่าได้รับอีเมล์แล้ว Outlook Express
ถ้าจะให้ผู้รับตอบกลับมาว่าได้รับอีเมล์ที่เราส่งไปให้ ก็ต้องมีการตั้งค่าในโปรแกรมกันนิดหน่อย ซึ่งมีดังต่อไปนี้
1. เข้าสู่โปรแกรม Outlook Express จากนั้นคลิกปุ่ม Create Mail
2. แล้งคลิกคำสั่ง Tools > Request Read Receipt
3. จากนั้นให้พิมพ์ชื่อผู้รับ , Subject และเนื้อหาต่าง ๆ
4. จากนั้นก็คลิกส่งได้เลย โดยคลิกที่ Send
** ขั้นตอนนี้คือวิธีที่ให้ผู้รับตอบกลับมาว่าได้รับเมล์แล้ว ถ้าผู้รับไม่ให้ความร่วมมือก็จะไม่มีข้อความแจ้งกลับมา
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net

ตั้งเวลาเช็คอีเมล์อัตโนมัติใน Outlook Express
ให้คลิกที่ Tool > ที่แท็บ General ในส่วนของ Send / Receive Messages ให้คลิกถูกที่ Check for new messages every
แล้วให้กำหนดเวลา โดยมีหน่วยเป็นนาที สำหรับในส่วนของ If my computer is not connected at this time ให้คุณ
เลือกว่าถ้าไม่ได้ทำการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตจะให้ทำอย่างไร เช่น ทำการเชื่อมต่อหรือไม่ต้อง เป็นต้น
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net

ติดตั้ง PS2 แล้วรูปไม่ยอมแสดงใน Outlook Express
หลังจากที่ติดตั้ง Windows XP SP2 ไปแล้วไม่สามารถดูภาพของนิวส์เลตเตอร์จากอีเมล์ที่รับประจำ จะมีเพียง
เครื่องหมายกากบาทสีแดงเท่านั้น วันนี้ผมมีวิธีแก้ปัญหานี้ให้ครับ
คุณสมบัติของความปลอดภัยนี้จะเกิดขึ้นกับผู้ใช้ Outlook Express ที่ติดตั้ง Windows XP SP2 เข้าไปในระบบ สำหรับ
สิ่งที่คุณต้องทำก็เพียงคลิกบาร์ที่อยู่ใต้บรรทัดหัวเรื่อง (Subject line) ซึ่งจะเขียนแจ้งไว้ว่า "Some pictures have been
blocked... Click here to download pictures" หลังจากคลิกแล้วรูปก็จะปรกฎขึ้นมา
จะว่าไปแล้วคุณสมบัติของการรักษา ความปลอดภัยให้กับระบบในลักษณะนี้ต้องถือว่ามีประโยชน์มากทีเดียว
โดยเฉพาะเมื่อคุณต้องการให้อีเมล์ที่ไม่ประสงค์รับ แสดงภาพขึ้นมาให้เสียเวลา แต่ในทางกลับกันมันอาจจะทำให้
ผู้ใช้รู้สึกไม่สะดวก วิธีแก้อย่างถาวรก็คือปิดคุณสมบัติของการทำงานนี้ ซึ่งมีวิธีดังต่อไปนี้
คลิกเมนู Tools เลือกคำสั่ง Options คลิกแท็บ Security ภายใต้หัวข้อ Download Images ยกเลิกเครื่องหมายถูก
หน้าข้อความ Block Images and other externat content... เพียงเท่านี้รูปภาพต่าง ๆ ที่อยู่ในอีเมล์ทุกฉบับก็จะปรากฎ
ขึ้นมาเหมือนเดิมแล้วละครับ
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net

ทำอย่างไรไม่ให้ Outlook ลบเมล์ที่ดาวน์โหลดจากเว็บเมล์
เหมือนจะดูเป็นการยาก แต่จริง ๆ แล้วไม่ใช่เลย เพียงเรากำหนดค่านิดหน่อยก็จะทำให้หลังจากที่รีบอีเมล์จาก
Outlook แล้วอีเมล์ที่อยู่ในในเว็บเมล์จะไม่ถูกลบไปด้วย ซึ่งขึ้นตอนการกำหนดค่ามีดังนี้
1. ขั้นแรกให้เข้าสู่โปรแกรม Outlook แล้วคลิกเลือกคำสั่ง Tool > Accounts...
2. คลิกเลือกอีเมล์ที่ต้องการตั้งค่า
3. จากนั้นคลิกปุ่ม Properties
4. คลิกแท็บ Advanced
5. คลิกเครื่องหมายถูกหน้า Leave a copy of messages on server
6. คลิก OK
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net

ยกเลิก AutoArchive ใน MS Outlook
สำหรับฟังก์ชัน AutoArchive จะทำหน้าที่ช่วยคุณจัดเก็บอีเมล์เก่า ๆ ในโฟลเดอร์ที่กำหนดไว้ใน Outlook โดยปกติ
AutoArchive จะได้รับการกำหนดให้ทำงานทุก ๆ 14 วัน แต่คุณก็สามารถกำหนดให้มันทำงานได้ตามต้องการ ซึ่งการ
ปรับแต่งการทำงานของ AutoArchive สามารถทำได้โดยคลิกเมนู Tools ตามด้วยคำสั่ง Option ใน Outlook เลือก
แท็บ Other แล้วคลิกปุ่ม AutoArchive ในกรณีที่คุณต้องการปิดการทำงานของ ฟังก์ชัน AutoArchive ก็สามารถทำได้
โดยคลิกยกเลิกเซ็กบ็อกซ์หน้าข้อความ “Run AutoArchive every 14 days” แล้วคลิกปุ่ม OK อีกสองครั้ง ก็เป็นอัน
เรียบร้อยแล้วครับ
วิธีการเซ็ต Outlook กับ Gmail
ถ้าท่านใช้อีเมล์ของ Gmail แล้วอยากใช้ร่วมกับ Outlook วันนี้ผมมีวิธีเซ็ตมาฝากกันครับ ง่าย ๆ อีก
เหมือนเดิม
1. ให้ท่านไปดาวส์โหลด GmailConfig ที่ http://toolbar.google.com/gmailhelper/
GmailConfig.exe มาก่อน
2. เปิด GmailConfig ที่ดาวส์โหลดขี้นมา ที่ E-mail address: ให้ใส่ E-mail ของคุณ ที่
Display name: ใส่ชื่อที่ต้องการ (ที่จำง่าย) แล้วคลิกที่ Configure
3. คลิก Finish
4. จากนั้นให้เปิด Outlook ขึ้นมา ไปที่เมนู Tools > Accounts
5. คลิกที่ Add > Mail..
6. ใส่ชื่อของคุณที่ช่อง Display name: แล้วคลิก Nexe
7. ใส่ Email ของคุณที่ช่อง Email address: แล้วคลิก Next
8. ที่ Incoming mail (POP3, IMAP or HTTP) server กรอก pop.gmail.com ที่
Outgoing mail SMTP) server: กรอก smtp.gmail.com จากนั้นคลิก Next
9. ใส่ @gmail.com เพิ่มเข้าไปในส่วนของ Accounts Name: ที่ Password: ก็ใส่ตามที่ตั้งไว้
จากนั้นคลิก Next
10. คลิก Finish
11. ที่หน้าต่าง Internet Accounts ให้คลิกที่แท็บ Mail จากนั้นเลือก pop.gmail.com แล้ว
คลิก Properties
12. คลิกที่แท็บ Advance แล้วคลิกเครื่องหมายถูกหน้า This server requires a secure
connection (SSL) ที่ Outgoing Mail (SMTP): กรอก 465 และคลิกเครื่องหมายถูกที่
This server requires a secure connection (SSL) ที่ Incoming mail (POP3):
กรอก 995 แล้วคลิก Apply
13. คลิกที่แท็บ Servers ให้คลิกเครื่องหมายถูกที่ My server requires authentication แล้ว
คลิก OK จากนั้นให้ปิด Outlook แล้วเปิดขึ้นมาใหม่ครับ โปรแกรม
ก็จะ Download อีเมล์มาที่เครื่อง เพียงเท่านี้ก็เสร็จแล้วครับ
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net

วิธีแก้ปัญหาหาก Outlook แสดงภาษาไทยไม่ได้
พอดีว่าวันนี้ผมได้รับ Email ฉบับนึงที่เป็นภาษาไทยผ่านโปรแกรม Outlook Express ซึ่งพอผมเปิดอ่านก็ปรากฏว่าไม่
สามารถอ่านได้ ก็เลยงงๆ ว่าทำไมฉบับนี้ถึงอ่านไม่ได้ ทั้งๆ ที่ฉบับอื่นๆ ที่เป็นภาษาไทยเหมือนกัน ผมก็สามารถอ่าน
ได้หมดอย่างไม่มีปัญหา?? ดังนั้นผมก็ลองคลิกไอนู้นไอนี่ไปเรื่อยๆ จนพบทางแก้ไข ก็เลยคิดว่าน่าจะเป็นประโยชน์
ให้กับเพื่อนๆ บางท่านที่มีปัญหาลักษณะเดียวกันนี้ได้นะครับ
1. วิธีการแก้ไขก็ต้องทำ 2 จุดด้วยครับ จุดที่แรกให้คุณไปที่เมนู Tools -> Options... จากนั้นให้คุณกดปุ่ม Fonts...
เลือก Thai แล้วกดปุ่ม Set as Default ครั้งนึงก่อนนะครับ จากนี้นกด OK ได้เลย
2. จุดต่อไปก็คือให้คุณกดปุ่ม International Settings... แล้วให้ติ๊กถูกหน้าข้อความว่า Use default encoding for all
incoming messages ดังภาพด้านล่างนี้ แล้วกด OK ปิดหน้าต่างไปให้หมดเลยนะครับ
3. จากนั้นให้คุณคลิกที่ Email ฉบับอื่นก่อน แล้วกลับมาคลิก Email ฉบับที่อ่านภาษาไทยไม่ออกนี้อีกครั้งนึง เพื่อเป็น
การ Refresh ... ทีนี้คุณก็จะเห็นว่าสามารถอ่านภาษาไทยได้ตามปกติแล้วครับ
ส่ง Outlook พร้อมเสียงเพลงทำไง
เริ่มต้นเปิด Outlook Express จากนั้นสั่งเขียนเมล์ใหม่ โดยคลิกที่ Creae Mail คลิกเมนู Fomat
เลือก Background เลือก Sound... ไดอะล๊อกบ๊อกซ์ Background จะปรากฎขึ้นมา คลิกปุ่ม
Browse เพื่อเลือกไฟล์ เพลง WAV ที่ต้องการ จากนั้นกำหนดจำนวนครั้งที่จะให้เล่นเพลงนั้น ถ้าต้องการ
ให้เล่นเรื่อย ๆ ก็ให้เลือก Continuously คลิกปุ่ม OK ก็เป็นเสร็จพิธี
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net

ส่งเอกสารด่วนโดยไม่ง้อ Outlook
เมื่อคุณจำเป็นต้องส่งเอกสารเร่งด่วนขณะทำงานอยู่ในโปรแกรม Word ก็ไม่ใช่
เรื่องยากเลย เพียงแค่เปิดไฟล์เอกสารที่ต้องการส่ง แล้วคลิกเมนู File เลือกคำสั่ง
Send To > Mail Recipient (ส่งเป็นไฟล์แนบ) ใส่ชื่อผู้รับ
(Recipient) หัวเรื่อง (Subject) และพิมพ์ข้อความ เสร็จแล้วคลิกปุ่ม
Send เป็นอันเรียบร้อย และในขั้นตอนเดียวกันคุณสามารถประยุกต์ใช้กับ
เอกสารจากโปรแกรม Excel และโปรแกรม PowerPoint ได้เช่นกัน
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net
ให้แสดงสีสันชัด ๆ ว่าเมล์ไหนใน Outlook Express มีไฟล์แนบ
อันนี้เป็นเทคนิคง่าย ๆ จากการใช้ฟีเจอร์ Massage Rules ของ Out look Express โดยในที่นี้จะใส่
สีแดงให้กับอีเมล์ที่มีไฟล์แนบมา ซึ่งมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
- คลิกเมนู Tools > Massage Rules >Mail คลิกปุ่ม New แล้วคลิกเงื่อนไง
- ขั้นตอนที่ 1 เลือกเช็กบ๊อกซ์ Where the Massage has an attachment
- ขั้นตอนที่ 2 เลือกเช็กบ๊อกซ์ highlight it with corlor
- ขั้นตอนที่ คลิกบนลิงค์ Color ไดอะล๊อกบ๊อกซ์ Select Color จะแปรากฎขึ้นมา ให้เลือกสีแดง แล้ว
คลิก OK เพียงแค่นี้ก็เสร็จแล้วครับ
บทความจากเว็บไซต์ bcoms.net

รู้จักกับโปรโตคอล


                                    รู้จักกับโปรโตคอล
การที่จะให้คอมพิวเตอร์สามารถติดต่อสื่อสารกันได้อย่างเข้าใจนั้น
จำเป็นต้องมีภาษาในการสื่อสารโดยเฉพาะ สำหรับภาษาของการ
สื่อสารในคอมพิวเตอร์เรียกว่า โปรโตคอล (Protocol) เป็นระเบียบ
วิธีที่กำหนดขึ้นสำหรับการสื่อสาร ให้สามารถติดต่อสื่อสารกันหรือ
รับส่งข้อมูลระหว่างต้นทางกับปลายทางได้อย่างถูกต้องไม่ผิดพลาด
โปรโตคอลที่ใช้สำหรับคอมพิวเตอร์มีอยู่มากมายหลายแบบเช่น
NetBEUI ซึ่งเป็นโปรโตคอลอีกตัวหนึ่งที่ใช้ได้ดีในระบบเครือข่าย
ขนาดเล็กที่ใช้ระบบปฏิบัติการ Windows เป็นหลัก แต่ไม่สามารถ
ทำงานได้เร็วมากนัก นิยมใช้ในระบบปฏิบัติการรุ่นเก่าอย่าง
Windows for Workgroup 3.11 เป็นต้น และก็ยังมีโปรโตคอล
อื่นๆ อีกมาก แต่ส่วนมากที่ใช้กันเป็นหลักก็คือโปรโตคอล TCP/IP
(Transmission Control Protocol / Internet Protocol)
TCP/IP เป็นโปรโตคอลที่ใช้กันในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ซึ่งแน่นอน
ว่าใช้ใน Home Network ได้ด้วย TCP/IP จะทำหน้าที่เป็นสื่อกลาง
ในการรับส่งข้อมูลในเครือข่าย การทำงาน TCP/IP จะมีการจัดแบ่ง
ข้อมูลออกเป็นขนาดย่อยๆ เรียกว่า "แพ็กเกจ" จากนั้นจึงทยอยส่งกัน
ไปจนถึงจุดหมายปลายทาง เสร็จแล้วจึงจะรวมแพ็กเกจย่อยๆ นั้นเป็น
ข้อมูลต้นฉบับอีกครั้ง และมีการรับประกันความถูกต้องโดยตัวมัน
เอง
IP Address
การติดต่อสื่อสารในเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ใช้โปรโตคอล TCP/IP
นอกจากการทำงานของ TCP/IP แล้ว ยังจำเป็นต้องมีการกำหนดเลข
หมายของอุปกรณ์ทุกชิ้นในเครือข่าย เพื่อเกิดการอ้างอิงโดยไม่ซ้ำกัน
จะได้ส่งข้อมูลได้อย่างถูกต้องแม่นยำ เลขหมายดังกล่าวเรียกว่า ไอพี
แอดเดรส เป็นตัวเลขหลัก 4 ชุดที่คั่นด้วยจุด เช่น 192.168.0.1 ไอพี
แอดเดรสก็เปรียบเหมือนกับเลขที่บ้าน โดยบ้านแต่ละหลังจะต้องมี
เลขที่บ้านโดยต้องไม่ซ้ำกัน เพราะถ้าซ้ำกันแล้ว บุรุษไปรษณีย์คงจะ
ส่งจดหมายไม่ถูก สำหรับใน Home Network ของเรานี้ จะเริ่ม
กำหนดไอพีแอดเดรส 192.168.0.1 เป็นต้นไป เช่น คอมพิวเตอร์
เครื่องที่ 1 กำหนดไอพีแอดเดรสเป็น 192.168.0.2 คอมพิวเตอร์
เครื่องที่ 2 มีไอพีแอดเดรสเป็น 192.168.0.2 แบบนี้ไปเรื่อยๆ แต่
ต้องไม่เกิน 192.168.0.254 ครับ (คิดว่าคงไม่มีบ้านไหนมี
คอมพิวเตอร์ถึง 254 เครื่อง)
นอกจากนี้ยังมีเรื่องของความเร็วในการติดต่อสื่อสารและแลกเปลี่ยน
ข้อมูล ในปัจจุบันมีมาตรฐานที่เรียกว่า Fast Ethernet หัวใจหลัก
ของ Fast Ethernet ก็คือความเร็วในการรับส่งข้อมูลได้ถึง 100
Mbps (หนึ่งล้านบิตต่อวินาที) และความเร็วขนาด 1000 Mbps
หรือ 1 Gbps (พันล้านบิตต่อวินาที) และอาจถึง 10 Gbps ใน
อนาคตอันใกล้นี้
สำหรับ Home Network ที่แนะนำให้คุณผู้อ่านรู้จัก และจะเริ่มลง
มือปฏิบัติต่อไปนี้ จะเป็นระบบ LAN แบบ Peer to Peer ใช้
รูปแบบการเชื่อมต่อแบบสตาร์ โดยใช้สาย UTP และมีอุปกรณ์
เพิ่มเติมคือ ฮับ หรือ สวิตซ์ และกำหนดไอพีแอดเดรส เริ่มตั้งแต่
192.168.0.1 เป็นต้นไป
IEEE (Institute of Electrical and Electronics Engineers)
และ EIA (Electronics Association) เป็นหน่วยงานสากลที่มี
หน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานของการออกแบบผลิตภัณฑ์
อิเล็กทรอนิกส์ กำหนดรูปแบบ
การส่งสัญญาณ จะมีโปรโตคอลอยู่ 3 แบบ ด้วยกันคือ
• ARCnet
• Ethernet
• Token Ring
• ARCnet หรือ Attached ARCnet Resource Computing
Network เป็นโปรโตคอลที่ออบแบบโดยบริษัท Data Point
ในช่วงปีคศ.1977 ใช้หลักการแบบ "Transmission Permission"
ในการส่งข้อมูล จะมีการกำหนดตำแหน่งแอดเดรสของเครื่อง
เวิร์กสเตชั่นลงไปด้วย สามารถจะเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Bus และ Star
มีความเร็วในการส่งผ่านข้อมูลค่อนข้างน้อยเพียง 2.5 Kbps (2.5
เมกกะบิตต่อวินาที) ทำให้ไม่เป็นที่นิยมใช้งาน
Ethernet เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยบริษัท Xerox ในช่วงปี
คศ.1970 ใช้หลักการทำงานแบบ CSMA/CD(Carrier Sense
Multiple Access With Collision Detection) ในการส่งแมสเซจ
ไปบนสายสัญญาณของระบบเครือข่าย ถ้าหากมีการส่งออกมาพร้อม
กันย่อมจะเกิดการชนกัน (Collision) ของสัญญาณ ทำให้การส่งผ่าน
ข้อมูลต้องหยุดลงทันที CSMA/CD จะใช้วิธีของ Listen before-
Transmiting คือ ก่อนจะส่งสัญญาณออกไปจะต้องตรวจสอบว่า
ขณะนั้นมีเวิร์กสเตชั่นเครื่องใดทำการรับ-ส่งแมสเซจบนสายเคเบิ้ลอยู่
หรือไม่? ถ้ามีก็ต้องรอจนกว่าสายเคเบิ้ลจะว่าง แล้วจึงส่งข้อมูลออกไป
บนสายเคเบิ้ล
โปรโตคอล Ethernet เป็นมาตรฐานของ IEEE 802.3 สามารถ
เชื่อมต่อได้ทั้ง Bus และ Star โดยใช้สาย Coaxial หรือสาย
ทองแดงคู่ตีเกลียว (UTP = Unsheild Twisted Pair) ที่มีความเร็ว
ในการรับ-ส่งข้อมูล 10 Mpbs (10 เมกกะบิตต่อวินาที) ในปัจจุบัน
ได้พัฒนาความเร็วเป็น 100 Mbps มีความยาวสูงสุดระหว่างเครื่อง
เวิร์กสเตชั่น 2.8 กิโลเมตรในการส่งสัญญาณอิเล็กทรอนิกส์ไปบนสาย
เคเบิ้ล จะใช้แบบ Machestes Encodeb Digital Base band
และกล่าวถึงสัญญาณดิจิตอล 0-1 ในการส่งผ่านไปบนสายเคเบิ้ล
Ethernet มีรูปแบบการต่อสายเคเบิ้ล 3 แบบด้วยกันคือ
• 10 Base T
• 10 Base 2
• 10 Base 5
10 Base T เป็นรูปแบบในการต่อสายที่นิยมมาก "10" หมายถึง
ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล (10 เมกกะบิตต่อวินาที) "Base"
หมายถึง ลักษณะการส่งข้อมูลแบบ Base band ซึ่งเป็นดิจิตอล และ
"T" หมายถึง Twisted Pair (สายทองแดงคู่ตีเกลียว) สรุปแล้ว 10
Base T คือ การใช้สาย Twisted Pair ในการรับ-ส่งมีความเร็ว 10
Mbps ด้วยสัญญาณแบบ Base band ปัจจุบันจะใช้สาย UTP
(Unshield Twisted Pair) ซึ่งจะมีสายเส้นเล็กๆ ภายใน 8 เส้นตี
เกลียวกับ 4 คู่
10 Base 2 เป็นรูปแบบต่อสายโดยใช้สาย Coaxial มีเส้นศูนย์กลาง
1/4 นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial สายจะมีความยาวไม่เกิน 180 เมตร
10 Base 5 เป็นรูปแบบในการต่อสายโดยใช้สาย Coaxial ขนาด
ใหญ่ จะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1/2 นิ้ว เรียกว่าสาย Thick Coaxial การ
เชื่อมต่อละจุดจะมี Transcever เป็นตัวเชื่อมและใช้สายเคเบิ้ล AUI
เชื่อมระหว่างเครื่องเวิร์กสเตชั่น สายจะมีความยาวไม่เกิน 500 เมตร
Token Ring เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบโดยบริษัท IBM ใช้
มาตรฐานของ IEEE 802.5 มีระบบการติดต่อแบบ Token-
Passing สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Ring และ Star มีความเร็วใน
การรับ-ส่งข้อมูล 4/16 Mbps และยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับ
ฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ของเครื่องเมนเฟรมได้โดยตรง จากปัญหาที่
เกิดการชนกันของสัญญาณ (Collision) เป็นเหตุให้ IBM หันมาใช้
สัญญาณ Token เพื่อติดต่อระหว่างโหมด ขั้นตอนการรับ-ส่งข้อมูล
แบบ Token-Passing Ring มีดังนี้
• ชุดข้อมูล Token จะถูกส่งให้วิ่งไปรอบๆ วงแหวนของเน็ตเวิร์ก ถ้า
มีเวิร์กสเตชั่นเครื่องใดต้องการจะส่งผ่านข้อมูล ก็จะต้องรอจนกว่า
Token นั้นว่างก่อน
• เมื่อรับ Token ว่างมาแล้ว ก็จะทำการเคลื่อนย้ายเฟรมข้อมูล
ต่อท้ายกับ Token นั้นแล้วส่งข้อมูลไปยังปลายทาง
• เวิร์กสเตชั่นอื่นที่ต้องการจะส่งข้อมูลก็ต้องรอจนกว่า Token จะว่า
จึงจะส่งข้อมูลได้
เน็ตเวิร์กโปโตคอลที่ต้องใช้งาน
ในการรับส่งข้อมูลระหว่างเซิร์ฟเวอร์และไคลเอ็นต์ จะใช้โปรแกรม
โตคอลในการสื่อสารข้อมูล การค้นหาเส้นทางสนับสนุนการใช้บริการ
ต่างๆ ของเซิร์ฟเวอร์ซึ่งมีอยู่หลายชนิดด้วยกันคือ
TCP/IP (Transmission Control Protocol/Internet
Protocol)
เป็นโปรโตคอลที่ถูกพัฒนาขึ้นในปี ค.ศ.1969 โดยเครือข่ายทาง
ทหารของสหรัฐอเมริกาชื่อ ARPANET (Advanced Research
Project Agency Network) เพื่อใช้กับระบบเครือข่าย WAN
ต่อมาได้นำมาใช้งานเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายสาธารณะขนาดใหญ่หรือ
อินเตอร์เน็ต TCP/IP เป็นโปรโตคอลที่มีประสิทธิภาพและมีความ
ยืดหยุ่นในการทำงานสูงสามารถจะค้นหาเส้นทางได้ เหมาะสำหรับใช้
ในองค์กรขนาดเล็กจนถึงขนาดใหญ่ สามารถจะส่งผ่านข้อมูลข้าม
ระบบที่ต่างกันได้ เช่น Windows กับ UNIX หรือ Netware หรือ
Linux
NetBEUI (NetBIOS Extended Use Interface)
เป็นโปตคอลที่พัฒนามาจาก NetBIOS เริ่มใช้งานประมาณปี ค.ศ.
1985 ถูกออกแบบมาให้ใช้งานกับเครือข่ายขนาดเล็ก เช่น ระบบ
LAN ที่มีเครื่องคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 10-200 เครื่อง NetBEUI ไม่
สามารถจะค้นหาเส้นทางได้ และทำการ Route ข้อมูลข้ามเครือข่าย
ไม่ได้ เหมาะสำหรับเครือข่าย LAN แต่ไม่เหมาะกับระบบ WAN
ระบบปฏิบัติการ Windows NT และ Windows 2000 ยังสนับสนุน
ไคลเอ็นต์รุ่นเก่าที่ใช้โปรโตคอลตัวนี้อยู่
IPX/SPX (Intenetwork Packet Exchange/Sequanced
Packet Exchange)
เป็นโปรโตคอลที่พัฒนามาจาก XNS Protocol (ของบริษัท Xerox
Corporation และทางบริษัท Novell ได้นำพัฒนาให้มีประสิทธิภาพ
มากขึ้น) จะมีความสามารถในการค้นหาเส้นทางสำหรับเครือข่าย
ระบบ LAN และ WAN ทางไมโครซอฟท์ก็สนับสนุนโปรโตคอลตัวนี้
แต่เรียกว่า NWLink IPX/SPX Compatible Transport
Protocol ซึ่งใช้ในการเชื่อมต่อกับระบบเครือข่ายของ Netware
สามารถใช้งานฐานข้อมูล SQL Server บน Windows NT ได้
หรือการเข้าสู่เซิร์ฟเวอร์ SNA ที่เชื่อมต่อกับเครื่อง Mainframe ของ
IBM
DLC (Data Link Control)
เป็นโปรโตคอลที่ออกแบบพัฒนาโดยบริษัท IBM เพื่อใช้ในการ
เชื่อมต่อสื่อสารกับเครื่องเมนเฟรมของ IBM,AS/400 ที่ใช้
สถาปัตยกรรมเครือข่าย SNA (System Network Architecture
สายเคเบิ้ลในการเชื่อมตอ่
ในการเชื่อมต่อแบบต่างๆ จะต้องใช้สายเคเบิ้ลเป็นตัวกลาง (Media)
ซึ่งการใช้งานจะขึ้นอยู่กับรูปแบบการเชื่อมต่อ เช่นแบบ Bus จะใช้
สายเคเบิ้ล Coaxial, แบบ Star จะใช้สายเคเบิ้ล UTP สายเคเบิ้ลที่
ใช้งานในระบบเน็ตเวิร์กจะมีอยู่ 3 ประเภทคือ
สาย Coaxial เป็นสายเส้นเดียวมีลวดทองแดงเป็นแกนกลางหุ้มด้วย
ฉนวนสายยาง โดยจะมีลวดถักหุ้มฉนวนสายยางอีกชั้น (shield)
ป้องกันสัญญาณรบกวน และมีฉนวนด้ายนอกเป็นยาง สีดำหุ้มอีกชั้น
จะมีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ อย่างหนา (thick) อย่างบาง (thin)
ส่วนมากจะใช้งานบนระบบ Ethernet โดยที่ปลายสายทั้ง 2 ด้าย
จะต้องมีตัว terminator ปิดด้วย มีความเร็วในการส่งข้อมูลต่ำกว่า
สายแบบ UTP สาย Coaxial อย่างบาง (thin) มีข้อเสียคือ ไม่
สามารถใช้รับ-ส่งสัญญาณได้เกิน 185 เมตร อาจต้องใช้ตัวทวน
สัญญาณ (Repeater) ช่วยขยายสัญญาณให้
สาย UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือสาย CAT
(Category) เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้นตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่ ไม่มี
เส้นลวดถัก (shield) เพราะการตีเกลียวคู่เป็นการลดสัญญาณรบกวน
อยู่แล้ว การใช้งานจะต้องมีการแค๊มหัว RJ-45 เข้ากับสาย UTP
แล้วนำไปเสียบเข้ากับ Hub มีความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูล
10/100Mbps ปัจจุบันนิยมใช้สาย CAT 5 กันมาก เพราะสนับสนุน
การรับ-ส่งข้อมูลความเร็วตั้งแต่ 10-100 Mbps
สาย STP (Shielded Twisted Pair) เป็นสายเส้นคู่ตีเกลียวมีอยู่ 2
คู่ มีเส้นลวดถัก (shield) ป้องกันสัญญาณรบกวน ใช้งานในการ
เชื่อมต่อระยะทางไกลๆ ซึ่งสาย UTP ทำไม่ได้
หัวต่อสายแลนด์
หัวต่อสายแลนด์จะมีอยู่ 3 ประเภทด้วยกันคือ BNC, RJ-45 และ
AUI แต่ละประเภทจะใช้สายแลนด์แตกต่างกันไป รวมทั้งวิธีการเข้า
หัวต่อก็ไม่เหมือนกัน
หัวต่อแบบ BNC จะใช้สายแลนด์แบบ Coaxial ซึ่งเป็นสายเส้นเดียว
มีลวดทองแดง เป็นแกนกลาง หุ้มด้วยฉนวนสายยาง หัวต่อ BNC จะ
เป็นโลหะรูปวงกลมมีเกลียวสำหรับล๊อก และยังต้องใช้ตัว
Terminator (มีความต้ายทาน 50 โอห์ม) ปิดปลายสายทั้ง 2 ด้ายอีก
ด้วย
หัวต่อแบบ RJ-45 จะใช้สายแลนด์แบบ CAT (Category) 5 หรือ
สาย UTP เป็นสายเส้นเล็กจำนวน 8 เส้น ตีเกลียวคู่ มีอยู่ 4 คู่
รูปแบบในการเข้าหัวต่อแบบ RJ-45 มีอยู่ 2 แบบด้วยกันคือ
1. Peer to peer
2. มาตรฐาน TIA/EIA 568B
Peer to peer เป็นการเชื่อมต่อโดยตรงระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์
ทั้ง 2 เครื่อง ด้วยสาย UTP เพียง 1 เส้น โดยเสียบหัวต่อ RJ-45 ไป
ที่การ์ดเน็ตเวิร์กของทั้งสองเครื่อง รูปแบบการเข้าสาย UTP กับ
หัวต่อ RJ-45 มีดังนี้

มาตรฐาน TIA/EIA 568B เป็นการเชื่อมต่อระหว่างเครื่อง
คอมพิวเตอร์กับ ฮับ รูปแบบการเข้าสาย UTP กับหัวตัว RJ-45 มี
ดังนี้
การเชื่อมต่อแบบ BUS
โปรโตคอล Ethernet สามารถเชื่อมต่อได้ทั้งแบบ Bus โดยใช้สาย
Coaxial และแบบ Star ใช้สายทองแดงคู่ดีเกลียว (สาย UTP) การ
เชื่อมต่อแบบ Bus จะเป็นตามมาตรฐานของ 10Base2 เป็นรูปแบบ
เชื่อมต่อสายโดยใช้สาย Coaxial (โคแอกเชี่ยล) มีเส้นศูนย์กลาง ?
นิ้ว เรียกว่า Thin Coaxial ความยาวโดยรวมของสายทั้งหมดจาก
เครื่องต้นทางถึงเครื่องปลายทางต้องไม่เกิน 180 เมตร บางทีก็เรียก
สาย Coaxial ว่าสาย RG-58 (มีความต้านทาน 50 โอห์ม) การ
เชื่อมต่อแบนี้ไม่ต้องใช้ฮับเป็นตัวกลาง ทำให้มีต้นทุนต่ำแต่
ประสิทธิภาพการทำงานจะไม่ดีเท่าที่ควร วิธีการเชื่อมต่อสายระหว่าง
จุดต่อจะใช้ตัว T-Connector เป็นตัวกลาง และจะมีหัวต่อ BNC
สำหรับต่อเข้ากับการ์ดเน็ตเวิร์ก และสิ่งสำคัญจะต้องมีตัว
Terminator ปิดที่ปลายสายของทั้งสองด้าน
จากรูปที่ 2.13 ก. เป็นรูปการเชื่อมต่อสาย Coaxial เข้ากับการ์ดเน็ต
เวิร์ก โดยมีตัว T-Connector เป็นตัวกลาง โดยมีความยาวของ
สายในแต่ละช่วงจะต้องไม่ต่ำกว่า 0.5 เมตร และมีตัว Terminator
ปิดที่ปลายสายของทั้งสองด้านอีกด้วย
ปัจจุบันการเชื่อมต่อแบบ Bus ไม่เป็นที่นิยมใช้งาน เพราะมีความเร็ว
ต่ำเพียง 10 เมกกะบิตต่อวินาทีและข้อจำกัดด้านความยาวของสาย
ฮับ (Hub)
ฮับ เป็นอุปกรณ์สำคัญในการเชื่อมโยงสัญญาณของเครื่อง
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์เน็ตเวิร์กเข้าด้วยกัน ปกติจะเป็นเครือข่าย
แบบ Ethernet 10BaseT รูปแบบการเชื่อมต่อ หรือ LAN
Topology จะเป็นแบบ Star การเชื่อมต่อแบบนี้จะใช้ฮับเป็น
ศูนย์กลางในการเชื่อมต่อ ทุกเครื่องจะเชื่อมต่อผ่ายฮับและใช้สาย
UTP (Unshielded Twisted Pair) หรือ CAT5 กับหัวต่อแบบ
RJ-45 ในการรับ-ส่งข้อมูล ฮับ จะเป็นเสมือนตัวทวนสัญญาณ
(Repeater) และฮับบางรุ่นยังสามารถตรวจจับข้อมูล (Data
Detection) ต่างๆ เช่น Receive Sent Data, Jabbers,
Collision Data, Short Frames
ฮับ จะอัตราความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลตั้งแต่ 10 Mbps (Mega
Bit per sec.) จนถึง 100 mbps และจะมีจำนวนช่องขนาดเล็ก
ตั้งแต่ 4 ช่อง หรือเรียกว่า ฮับ 4 port (8 port, 12 port,16 port
และ 24 port) การเลือกใช้การ์ดเน็ตเวิร์กก็ควรเลือกให้เหมาะสมกับ
ความเร็วของฮับ ถ้าใช้การ์ดเน็ตเวิร์กที่มีความเร็วเพียง 10 Mbps
แล้วนำมาเชื่อมต่อกับฮับแบบ 10 Mbps จะทำให้มีอัตราความเร็ว
เพียง 10 Mbps เท่านั้น (หรือ ใช้การ์ดเน็ตเวิร์กที่มีความเร็ว 10
Mbps กับฮับแบบ 10 Mbps ก็จะทำให้อัตราความเร็วต่ำที่ 10
Mbps เช่นกัน) ฮับบางรุ่นจะมีพอร์ต Uplink เอาไว้เชื่อมต่อกับ
พอร์ตธรรมดาของฮับตัวอื่นเพื่อขยายช่องสัญญาณ และยังมีสวิตซ์ใน
การเลือกความเร็วระหว่าง 10 หรือ 100 Mbps ดังรูปที่ 2.15
การเชื่อมต่อแบบ Star
การเชื่อมต่อแบบ Star จะเป็นตามมาตรฐานของ 10BaseT เป็น
รูปแบบการใช้สาย Twisted Pair ในการรับ-ส่งมีความเร็ว 10/100
Mbps ด้วยสัญญาณแบบ Base band จะใช้สาย UTP (Unshield
Twisted Pair) ซึ่งจะมีสายเล็กๆ ภายใน 8 เส้นตีเกลียวกัน 4 คู่
ความยาวของสายแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับจะต้องไม่เกิน 100 เมตร
(ทางที่ดีไม่ควรเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน) ปัจจุบัน
นิยมใช้การเชื่อมต่อแบบนี้มากที่สุด
อุปกรณ์ของมืออาชีพ
จากที่ไดก้ ล่าวไปแล้วในช่วงแรกเกี่ยวกับอุปกรณ์พื้นฐาน เพื่อสร้าง
การเชื่อมโยงของเครือข่าย สำหรับหน่วยงานและองค์กรขนาด
กลางถึงขนาดใหญ่ ซึ่งมีคอมพิวเตอร์จำนวนมากตั้งแต่ 50-100
เครื่อง ที่ต้องเชื่อมต่อเข้าหากัน จะต้องมีอุปกรณ์ที่มีความเร็วและ
ความสามารถสูงในการทำงาน เช่น Bridge, Switch,
Switching Hub และ Router ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีการทำงาน
ที่ซับซ้อนและราคาสูง ต้องใช้วิศวกรผู้เชี่ยวชาญในการเซตอัพและ
ปรับแต่งการทำงาน
บริดจ์ (Bridge) เป็นอุปกรณ์ที่มีหน้าที่การทำงานคล้ายๆ กับตัว
ทวนสัญญาณ (Repeater) โดยจะขยายสัญญาณให้มีระดับความ
แรงเพื่อส่งต่อไป แต่มีหน้าที่หลักคือเชื่อมต่อเครือข่ายย่อยเข้า
ด้วยกัน หรือเชื่อมต่อเครื่อข่ายต่างระบบกัน เช่น ในหน่วยงานมี
ระบบเครือข่ายแรกเป็นแบบ Ethernet และมีระบบเครือข่ายที่
สองเป็นแบบ Token-Ring ดังรูปที่ 2.17 จะเห็นว่าใช้บริดจ์เป็น
สะพานในการเชื่อมต่อระหว่างเครือข่ายทั้งสอง (บริดจ์ จะมีพอร์ต
ในการเชื่อมต่อจำนวน 2-4 พอร์ต คือ พอร์ต A , B, C, D)
นอกจากนี้บริดจ์ยังมีความสามารถในการตรวจสอบ Packet หรือ
Frame ที่รับ-ส่งข้อมูลในระดับฮาร์ดแวร์ เพื่อส่งข้อมูลไปยังอีก
ฟากหนึ่งของเครือข่าย โดยที่บริดจ์จะเก็บรวบรวมหมายเลข MAC
(Media Access Control) Address ของการ์ดเน็ตเวิร์กที่
ติดตั้งในเครื่องคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อกันเอาไว้ในตารางของ
บริดจ์เรียกว่า SAT (Source address Table) เพื่อจะได้ทราบ
ว่าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องอยู่เซ็กเมนต์ใดบ้าง
สวิตช์ (Swith) เป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่รวมความสามารถของฮับ
และบริดจ์เข้าไว้ภายใน ตามปกติแล้วเครือข่ายของ Ethernet ไม่
สามารถส่งข้อมูลพร้อมกันหลายเครื่องได้ จะต้องสลับกันส่ง
เนื่องจากเป็นการเชื่อมต่ออยู่บนโดเมนปะทะ (Collision
Domain) กล่าวคือ ถ้าเกิดมีการรับ-ส่งข้อมูลระหว่างคอมพิวเตอร์
2 เครื่องบนระบบฯก็จะมีการกกระจายข่าวสารออกไปให้ทั้ง
เครือข่ายทราบ และเครื่องอื่นไม่สามารถจะรับ-ส่งข้อมูลได้ จนกว่า
เครื่องทั้ง 2 จะรับ-ส่งข้อมูลกันเสร็จเรียบร้อย แต่สวิตซ์ทำให้
สามารถจะส่งข้อมูลออกไปพร้อมๆ กันได้หลายเครื่องด้วย
ความเร็วสูงกว่า
การทำงานพื้นฐาน ถ้ามีการส่งข้อมูลจากเครื่องใดเครื่องหนึ่งบน
เครือข่าย สวิตซ์จะจัดการส่งข้อมูลไปยังเครื่องนั้นโดยตรง ไม่มี
การกกระจายข้อมูลไปยังทุกเครื่องเพื่อให้เครื่องที่มี MAC
Address ตรงกันรับไปเป็นการลดปริมาณข้อมูลทีวิ่งอยู่บน
เครือข่ายอีกด้วย
ขั้นตอนการทำงานอย่างคร่าวๆ จากรูปที่ 2.19 มีดังนี้
1. เครื่องเซิร์ฟเวอร์ D ต้องการจะส่งข้อมูลให้เครื่อง F ก็จะ
ตรวจสอบช่องสัญญาณว่าว่างหรือเปล่าแล้วส่งข้อมูลไปยังเครื่อง F
ผ่านตัวสวิตซ์
2. ทำให้สวิตซ์ได้รับข้อมูลจากเครื่องเซิร์ฟเวอร์ D จากนั้นจะสร้าง
วงจรเสมือน หรือ Virtual Circuit ระหว่างเครื่อง D และ เครื่อง
Fขึ้นมา เพื่อให้ทั้งสองเครื่องติดต่อสื่อสารกันได้โดยตรง (และ
ช่องสัญญาณจะว่าง)
3. ถ้าหากเครื่อง C จะส่งข้อมูลให้เครื่อง A บ้าง ก็จะตรวจสอบ
ช่องสัญญาณ ซึ่งจะว่างอยู่ตลอดเวลาอยู่แล้ว จากนั้นจะส่งข้อมูล
ผ่านสวิตซ์ไปยังเครื่อง A อุปกรณ์สวิตซ์จะสร้างวงจรเสมือน
ระหว่างทั้งสองเครื่องเพื่อให้ส่งข้อมูลกันโดยตรงเช่นกัน
เราท์เตอร์ (Router) เป็นอุปกรณ์ที่ใช้เชื่อมต่อระบบเครือข่าย
หลายๆ แบบเข้าด้วยกัน มีความสามารถในการทำงานสูงกว่าสวิตซ์
ขั้นตอนในการเซตอัพก็ยากกว่า เราท์เตอร์สามารถเชื่อมต่อ
เครือข่ายที่ใช้สายเคเบิ้ลต่างกัน แต่มีโปรโตคอลเหมือนกันได้ เช่น
เครือข่ายหนึ่งใช้สาย Coaxial แต่อีกเครือข่ายใช้สาย UTP เราท์
เตอร์มีหน้าที่ในการเชื่อมโยงเครือข่ายที่อยู่ห่างไกลกัน เช่น
ระหว่างจังหวัด, ภูมิภาค, ประเทศหรือทวีป โดยผ่ายเซอร์วิสของ
WAN, ATM, ISDN,X25
รูปแบบการเชื่อมต่อบนเครือข่าย
การเชื่อมต่อบนระบบเครือข่ายแบบ Ethernet นิยมใช้การ
เชื่อมต่อแบบ Star ซึ่งเป็นตามมาตรฐานของ 10Base T โดยมี
ฮับเป็นตัวกลางในการเชื่อมโยงสัญญาณต่างๆ ของอุปกรณ์เน็ต
เวิร์กเข้าด้วยกัน หมายความว่าสัญญาณหรือข้อมูลจากเครื่องต้น
ทางจะต้องผ่านอับก่อนทุกครั้ง แล้วจะส่งข้อมูลนั้นไปยังเครื่อง
ปลายทาง ฮับเป็นอุปกรณ์เครือข่ายที่จะสามารถส่งข้อมูลได้รวดเร็ว
10-100 MB./Sec (เมกกะบิตต่อวินาที) และยังสามารถจะนำฮับ
หลายตัวมาพ่วงต่อกันได้อีกด้วย
การทำงานพื้นฐานของ HUB
จากที่กล่าวไว้ว่า โพรโตคอล Ethernet ใช้หลักการทำงานแบบ
CSMA/CD (Carrier Sense Multiple Access With
Collision Detection) โดยจะใช้วิธีของ Listen before
Transmitting คือ ก่อนจะส่งสัญญาณออกไปจะต้องตรวจสอบว่า
ขณะนั้นมีเวิร์กสเตชั่นเครื่องไดทำการรับ-ส่งแมสเซจบนสายเคเบิล
อยู่หรือไม่? ถ้ามีก็ต้องรอจนกว่าสายเคเบิลจะว่าง แล้วจึงส่งข้อมูล
ออกไปบนสายเคเบิล (เพื่อป้องกันการชนกัน Collision ของ
สัญญาณ ซึ่งจะทำให้การส่งผ่านข้อมูลต้องหยุดลงทันที)
รูปแบบการเชื่อมต่อ HUB
ในการนำฮับมาใช้งานนั้นจะต้องเข้าใจถึงคุณสมบัติพื้นฐานก่อน
เช่น ความยามของสาย UTP จากเครื่องถึงฮับ ความยาวของสาย
เชื่อมต่อระหว่างฮับ 2 ตัว จำนวนสูงสุดของฮับที่สามารถใช้ต่อพ่วง
ได้ การจัดวางฮับให้เหมาะสม และอื่นๆ อีกมากมาย ขึ้นอยู่กับ
สถานที่และการใช้งาน
การเชื่อมต่อพื้นฐาน
การเชื่อมต่อสายแลนด์จากเครื่องคอมพิวเตอร์มายังฮับ ความยาว
ของสายแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับจะต้องไม่เกิน 100 เมตร (ทางที่
ดีไม่ควรเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันสัญญาณรบกวน)
จำนวนฮับที่ต่อแบบคาสเคด
ตามทฤษฎีแล้วอับแบบ 10 MB/sec (10 เมกกะบิตต่อวินาที) จะ
สามารถนำมาต่อพ่วงแบบคาสเคดได้ไม่เกิน 4 ตัว โดยที่ระยะทาง
ระหว่างฮับแต่ละตัวจะไม่เกิน 100 เมตร และสายแลนแต่ละเส้น
จากเครื่องถึงฮับต้องไม่เกิน 100 เมตรเช่นกัน รวมระยะทางแล้ว
ทำให้สามารถเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ 2 เครื่องที่อยู่ห่างกันถึง 500
เมตร แต่ในทางปฏิบัติแล้วไม่ควรเกิน 400 เมตร (โดยไม่ให้ความ
ยาวแต่ละช่วงเกิน 80 เมตร เพื่อป้องกันการรบกวน) ถ้าต้องการต่อ
พ่วงฮับเกิน 4 ตัว ควรจะใช้ Stackable HUB หรือเปลี่ยนไปใช้
สวิตซ์ (Switch) แทน
การเชื่อมต่อในอาคาร
สำหรับหน่วยงานหรือองค์กรที่อยู่ตามตึกอาคารหลายชั้น และมี
เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หลายสิบหลายร้อยเครื่องกระจายอยู่ในแต่ละ
ชั้น Admin จะต้องวางแผนในการเชื่อมต่อให้ดี เพื่อให้มี
ประสิทธิภาพในการทำงานสูงสุดและสะดวกในการแก้ปัญหา โดย
จะต้องคำนึงถึงเรื่องต่อไปนี้
• เครื่องคอมพิวเตอร์แต่ละแผนก ในแต่ละชั้นมีจำนวนเท่าไร?
• จำนวนเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมดภายในบริษัท หรือหน่วยงาน
• จำนวนฮับทั้งหมดที่ต้องใช้งาน
• ระยะทางจากชั้นล่างขึ้นไปถึงชั้นบานสุดเป็นกี่เมตร
• การติดตั้งฮับแบบต่อพ่วงให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
การติดตั้งระบบเครือข่ายภายในอาคารนี้ Admin ต้องติดตั้ง
เซิร์ฟเวอร์ไว้ในห้องควบคุมส่วนตัว หรือเป็นห้องของศูนย์
คอมพิวเตอร์ ซึ่งจะต้องมีตู้ Rack Switches สำหรับเชื่อมต่อกับ
Hub/Switch ในแต่ละชั้น โดยใช้สาย Fiber Optic ในการ
เชื่อมต่อ และในแต่ละชั้นก็อาจจะใช้ Hub หรือ Switch ในการ
เชื่อมต่อเครื่องคอมพิวเตอร์ทั้งหมด
สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึงคือระยะทางระหว่างฮับต้องไม่ควรเกิน 80
เมตร รวมทั้งระยะทางระหว่างฮับกับคอมพิวเตอร์ก็ไม่ควรเกิน 80
เมตรเช่นกัน ถ้าเป็นตึกขนาด 20 ชั้น และต้องใช้จำนวน 10 ตัว
เพื่อความสะดวกอาจจะนำฮับมาวางไว้ในชั้นที่ 10 เพื่อง่ายในการ
ดูแล แต่อย่าลืมว่าถ้าห้องศูนย์คอมฯ อยู่ชั้นที่ 2 แล้วคอมพิวเตอร์ใน
ชั้นที่ 4 มีปัญหา เราต้องเดินหรือขึ้นลิฟต์มาที่ชั้น 10 เพื่อตรวจดู
ฮับ แต่ถ้าเรากระจายฮับไปไว้ในชั้นคู่ เช่น ชั้น 2, 4, 6, 8… จะช่วย
ให้เสื้อเชิ้ตของเราไม่ต้องชุ่มเหงื่อและง่ายในการทำงานอีกด้วย
เทคนิคการเชื่อมต่อ HUB
Admin บางคนอาจจะพบปัญหาที่ผู้ใช้โทรมาบอกบ่อยๆ เช่น บางที
ก็รับไฟล์ข้อมูลไม่ได้ หรือได้มาก็ไม่สมบูรณ์ บางครั้งแมปไดร์ฟ
บนเซิร์ฟเวอร์ไม่ได้ ทั้งทีเมื่อวานยังใช้งานอยู่ what happen?
มันเกิดอะไรขึ้นครับ อาจเกิดจากหลายสาเหตุด้วยกัน เช่น การ
เชื่อมต่อของสายระหว่างฮับกับเครื่องไม่ดี หนูไปกัดแทะสายแลนด์
เกือบขาด เดินสายแลนด์ใกล้กับสายไฟของตัวอาคาร หรือจัดวาง
ฮับในการต่อพ่วงไม่เหมาะสม ในทางปฏิบัติแล้วเครื่องไคลเอนต์ 2
อาจจะได้รับข้อมูลช้าหรือได้ข้อมูลที่ไม่ครบ 100% เนื่องจาก
ระยะทางจากฮับ A ไหลจากฮับ D พอสมควร วิธีแก้ไขเบื้องต้นมี
ดังนี้
• ห้ามเดินสายแลนด์ใกล้กับสายไฟฟ้าของตัวอาคาร เพราะจะเกิด
การรบกวนอย่างแน่นอน
• การเดินสายแลนด์ไว้บนฝ้าเพดาน จะต้องมีท่อร้อยสายเพื่อ
ป้องกันหนูมากัดแทะสาย
• ควรใช้สาย UTP CAT5 และหัวต่อ RJ-45 ที่มีคุณภาพ อย่าใช้
ของถูกหรือของปลอม และตรวจการเข้าหัว RJ-45 กับสายแลนด์
ให้ดี โดยใช้เครื่องมือ Testet เช่น Mux
• ไม่ควรเผื่อสายแลนด์ไว้ยาวเกินไป แต่ควรเข้าสายเผื่อเอาไว้ซัก
2-3 เมตร สำหรับการย้ายเครื่อง
• จัดวางฮับในการต่อพ่วงให้เหมาะสม และห้ามต่อพ่วงเกิน 4 ตัว มิ
เช่นนั้นให้เปลี่ยนไปใช้ Switch
การสร้างเครือข่ายในบ้าน
สำหรับบ้านที่มีสมาชิกอยู่หลายคน และใช้งานคอมพิวเตอร์เกือบ
ทั้งหมด เราสามารถจะสร้างระบบเครือข่ายภายในบ้านขึ้นมา
แล้วเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องเข้าด้วยกัน เพื่อให้สามารถ
แลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างกันและเข้าใช้งานอินเตอร์เน็ตเพียง
แอคเคาน์เดียว
เทคโนโลยีเครือข่ายในบ้าน
เนื่องจากภายในบ้านจะมีการเดินสายไฟ สายโทรศัพท์เอาไว้อยู่
แล้ว จึงสามารถนำสิ่งที่มีอยู่มาทำเป็นระบบเครือข่ายได้ ทำให้
ไม่ต้องมาเดินสายเคเบิลกันใหม่ เทคโนโลยีเครือข่ายในบ้าน
สามารถจะแบ่งออกเป็น 5 แบบด้วยกันดังนี้
• เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Bus
• เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Star
• เทคโนโลยีเครือข่ายสายโทรศัพท์
• เทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้า
• เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย
เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Bus
เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Bus เป็นไปตาม
มาตรฐาน 10Base2 โดยใช้สาย Coaxial (โคแอกเชี่ยล)
เรียกว่า Thin Coaxial หรือ สาย RG-58 (มีความต้านทาน
50 โอห์ม) ความยาวโดยรวมของสายทั้งหมดจากเครื่องต้นทาง
ถึงเครื่องปลายทางต้องไม่เกิน 180 เมตร การเชื่อมต่แบบนี้มี
ต้นทุนต่ำเพราะไม่ต้องใช้ฮับเป็นตัวกลางในการรับ-ส่งสัญาณ
เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Star
เทคโนโลยีเครือข่าย Ethernet แบบ Star เป็นไปตาม
มาตรฐาน 10BaseT เป็นรูปแบบการใช้สายUTP (Unshield
Twisted Pair) ซึ่งจะมีสายเส้นเล็ก ๆ ภายใน 8 เส้นตีเกลียวกัน
4 คู่ ในการรับ-ส่งมีความเร็ว 10/100 Mbps ด้วยสัญญาณแบบ
Base band ความยาวของสายแต่ละเส้นจากเครื่องถึงฮับ
จะต้องไม่เกิน 100 เมตร (ทางที่ดีไม่ควรเกิน 80 เมตร เพื่อ
ป้องกันสัญญาณรบกวน)
การเชื่อมต่อแบบนี้จะเหมาะสมสำหรับใช้ภายในบ้านเพราะ
สามารถเคลื่อนย้ายเครื่องและสะดวกในการถอดสายแลนด์
สำหรับค่าใช้จ่ายก็ไม่แพงมากเนื่องจากฮับขนาด 8 พอร์ต มี
ราคา 1,000 บาทเศษ ๆ
เทคโนโลยีเครือข่ายสายโทรศัพท์
เทคโนโลยีเครือข่ายสายโทรศัพท์ หรือ Phoneline Network
เป็นการนำสายโทรศัพทท์ ี่เดินไวภ้ ายในบ้าน มาเชื่อมต่อระหว่าง
เครื่องคอมพิวเตอร์ ปกติแล้วจะมีการเดินสายโทรศัพท์เอาไว้ทุก
ห้องในบ้าน เราเพียงแต่นำการ์ดเน็ตเวิร์ก ที่ใช้สำหรับเชื่อมต่อ
กับสายโทรศัพท์มาเสียบลง ในเครื่องคอมพิวเตอร์ก็สามารถใช้
งานได้แล้ว
รู้จักกับ HomePNA
องค์กรที่ควบคุมดุแลมาตรฐานการใช้เครือข่ายสายโทรศัพท์มี
ชื่อว่า HomePNA โดยจะมีเว็บไซต์ชื่อ www.homepna.org
เป็นแหล่งข้อมูลเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ที่ใช้เชื่อมต่อบนเครือข่าย
สายโทรศัพท์ดังรูปที่ 5.5 ความเร็วในการรับ-ส่งข้อมูลประมาณ
10 เมกกะบิตต่อวินสที (10 Mbps) เป็นเทคโนโลยีที่น่าสนใจ
นำมาใช้งานเพราะมีคุณสมบัติการทำ Inernet Gateway
เหมือนกับระบบอื่น
เทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้า
เทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้า (Powerline Network) หรือ
Power Line Communication เป็นการนำเอาสายไฟฟ้าที่
เดินอยู่ภายในบ่านมาใช้รับ-ส่งข้อมูล (การใช้งานจะต้องมี
อุปกรณ์แปลงสัญญาณข้อมูลออกจากสัญญาณไฟฟ้า)
เทคโนโลยีเครือข่ายสายไฟฟ้าสามารถจะรับ-ส่งทั้งภาพ เสียง
ไฟล์ข้อมูลขนาดใหญ่ รวมทั้งการท่องอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง
ขนาด 4.5 เมกกะบิตต่อวินาที (ความเร็วบนโมเด็มประมาณ 56
กิโลไบต์ต่อวินาที) การทำงานพื้นฐานของเทคโนโลยีเครือข่าย
สายไฟฟ้า เมื่อมีสัญญาณข้อมูลจากอินเตอร์เน็ตซึ่งจะมีความถี่
สูงเข้าก็จะส่งสัญญาณนี้ไปยังสถานีไฟฟ้าท้องถิ่น เพื่อจ่ายไฟฟ้า
ให้กับทุกบ้าน ผู้ใช้จะต้องมีหม้อแปลงพิเศษสำหรับเสียบเข้ากับ
ปลั๊กไฟตามบ้าน แล้วทำการแปลง-แยกสัญญาณข้อมุลต่าง ๆ ทั้ง
ภาพและเสียงออกจากสัญญาณไฟฟ้า จากนั้นจึงส่งข้อมูล
เหล่านั้นไปให้แก่เครื่องคอมพิวเตอร์หรือครื่องใช้ไฟฟ้าอื่น ๆ
ต่อไป
องค์กรที่ควบคุมดูแลมาตรฐานการใช้เครือข่ายสายไฟฟ้าคือ
HomePlug Powerline A lliance โดยการรวมตัวของ
บริษัทผู้ผลิตอุปรณ์เครือข่ายชั้นนำต่างๆ เช่น AMD, CISCO,
Compaq, Intel, Motorola, 3COM ฯลฯ มีเว็บไซต์ชื่อ
www.homeplug.org
เทคโนโลยีของบริษัท Intellon จะเป็นการออกแบบชิพ (Chip)
เพื่อใช้ฝังเข้าไปในคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ จากรูป
ที่ 5.8 จะเห็นว่าเทคโนโลยี Intellon Homeplug 1.0
Compliant มีความเร็วสูงถึง 14 เมกกะบิตต่อวินาที
เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย
เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สาย (Wireless) มีการพัฒนาใช้
งานในช่วงมากกว่า 5 ปีที่ผ่านมา เหมาะสำหรับสถานที่ๆ ไม่
ต้องการเดินสายแลนด์ให้เกะกะ เช่น ห้องประชุม ห้องรับรอง
ลูกค้าระดับ VIP สวนสาธารณะหรือพื้นที่ๆ ไม่สามารถจะ
เดินสายแลนด์ได้ เพียงแต่เรานำเครื่องคอมพิวเตอร์มาตั้งใช้งาน
ให้อยู่ในรัศมีการกระจายคลื่น โดยจะมีรัศมีทำการตั้งแต่ 80 ถึง
400 ฟุต เทคโนโลยีเครือข่ายแบบไร้สายมีอยู่ 2 ชนิดด้วยกันคือ
1. HomeRF (Home Radio Frequency)
2. IEEE 802.11
HomeRF (Home Radio Frequency) เป็นผลิตภัณฑ์ของ
กลุ่มบริษัท Cayman System, Compaq Ciemens, Intel,
Motorola และ Proxim ที่ออกแบบมาให้ใช้งานภายในบ้าน
ช่วยให้เราสามารถจะหิ้วโน๊ตบุ๊คไปนั่งทำงานในห้องใดในบ้านก็
ได้ หรือจะมานั่งเปิด E-mail และค้นหาข้อมูลบนอินเตอร์เน็ต
ตรงสนามหญ้าหน้าบ้านก็ได้ ไม่ต้องสนใจเรื่องสายแลนด์จะยาว
ผอไหม ? เพราะระบบ HomeRF จะใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz
(จิกะเฮิร์ต) สำหรับทะลุทะลวงผนังห้อง กำแพง สิ่งกีดขวางต่างๆ
ในการรับ-ส่งข้อมูล ระบบนี้จะมีรัศมีการประมาณ 150 ฟุต มี
ความเร็วในการรับ-ส่งไฟล์ 10 เมกกะบิตต่อวินาทีตาม
มาตรฐาน HomeRF 2.0
IEEE 802.11b เป็นผลงานการออกแบบและพัฒนาโดย
หน่วยงาน Institute of Electrical and Electronic
Engineers (IEEE หรือเรียกว่า I triple E) เครือข่ายแบบ
IEEE 802.11b จะรู้จักกันในชื่อ Wireless LAN(WLAN)
ใช้คลื่นความถี่ 2.4 GHz (จิกะเฮิร์ต) ในการรับ-ส่งข้อมูล ระบบ
นี้จะมีรัศมีทำการประมาณ 80-300 ฟุต จากจุดเข้าใช้งาน หรือ
อาจจะมากถึง 100 เมตร มีความเร็วในการรับ-ส่งไฟล์ 11
เมกกะบิตต่อวินาที ระบบเครือข่ายไร้สาย หรือ Wireless LAN
นี้จะประกอบด้วย 2 ส่วนคือ Access Point (จุดเข้าใช้) และ
การ์ด PC โดยทั้ง 2 ส่วนนี้จะทำหน้าที่รับ-ส่งสัญญาณคลื่น
ความถี่ 2.4 GHz มีหน่วยงานที่ทำการทดสอบและรับรอง
ผลิตภัณฑ์เหล่านี้คือ WECA (Wireless Ethernet
Compatibility Alliance) มีเว็บไซต์ www.wi-fi.com
สำหรับอินฟอร์มเมชั่น ต่างๆที่เกี่ยวข้อง มีอยู่ 2 บริษัทที่
ออกแบบชิพจากทั้ง 2 บริษัทนี้
ระบบความปลอดภัย การรับ-ส่งข้อมูลไร้สายแบบ IEEE
802.11b ออกไปนั้น ย่อมจะมีโอกาสถูกดัก จับข้อมูลเช่นกัน
ดังนั้นก่อนที่จะรับผลิตภัณฑ์ทาง WiFi จะตรวจสอบระบบรักษา
ความปลอดภัย ซึ่งจะไปตามมาตรฐานของ WEP (Wired
Equivalent Privacy) เป็นการเข้ารหัสข้อมูล (Data
Encryption) ขนาด 40-64 บิต และ 128 บิต เพื่อเพิ่มความ
ปลอดภัยให้กับข้อมูล
Wireless LAN ความเร็ว 5 GHz
ระบบเครือข่ายไร้สายแบบ IEEE 802.11b จะมีความเร็วใน
การรับ-ส่งข้อมูล 5-11 เมกกะบิตต่อวินาทีพร้อมด้วยการ
เข้ารหัสข้อมูล ขณะนี้มีผู้ผลิตหลายรายทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา
และกลุ่มประเทศในยุโรปเริ่มออกแบบพัฒนาตรฐาน IEEE
802.11a ซึ่งใช้คลื่นความถี่ 5 GHz (จิกะเฮิร์ต) ทำให้สารถส่ง
ข้อมูลด้วยความเร็วสูงถึง 22-72 เมกกะบิตต่อวินาที และ
สนับสนุน Quality of Service งานที่เกี่ยวกับระบบมัลติมีเดีย
เช่น ภาพเสียงที่คมชัดอีกด้วย เนื่องจากผู้ผลิตทางสหรัฐฯ จะใช้
มาตรฐาน 802.11b ซึ่งมีการทำงานคล้ายกับระบบ Ethernet
คือ Listen before Transmitting หรือ ฟังก่อนส่ง แต่ทาง
ยุโรปจะใช้มาตรฐานของ HIPERLAN/2 ในการทำงานโดยจะ
กำหนด time slot คล้ายกับระบบ ATM ความแตกต่างของ 2
มาตรฐานนี้จะทำให้เกิดปัญหาแก่ผู้ใช้งานคือไม่สามารถนำ
อุปกรณ์ของฝั่งยุโรปมาใช้ในสหรัฐฯ ได้ และผู้ใช้ในสหรัฐฯ ก็
ไม่สามารถจะนำ อุปกรณ์ในประเทศไปใช้ในยุโรปได้เช่นกัน
ตั้งคา่ Network ให  Windows
สำหรับในส่วนนี้จะแบ่งการติดตั้งไว้สองแบบ แบบแรกเป็นการ
ตั้งค่าให้กับ Windows 2000/XP อีกแบบคือการตั้งค่าให้กับ
Windows 95/98/ME และสำหรับการใช้ Windows
2000/XP คุณผู้อ่านจะต้องล็อกอินเข้าวินโดวส์ในฐานะ
Administrator มิฉะนั้นจะตั้งค่าต่างๆ ไม่ได้ครับ
ตั้งค่า Network ให้ Window 2000/XP
1. คลิ้กปุ่ม Start -> Control Panel ดับเบิ้ลคลิ้กไอคอน
Network Connections จากนั้นให้ดับเบิ้ลคลิก Local Area
Connection
2. คลิ้กปุ่ม Properties ให้ทำเครื่องหมายหน้าส่วนประกอบ
เหล่านี้ ได้แก่ Client For Microsoft Networks, File and
Printer Sharing for Microsoft Networks และ Internet
Protocol (TCP/IP) ให้เลือก Internet Protocol (TCP/IP)
แล้วคลิกปุ่ม Properties
3. เลือกหัวข้อ Use the following IP address: จากนั้นใน
ช่อง IP Address: ให้ใส่ไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์เครื่องที่
1 ในเครือข่าย คือ 192.168.0.1 ช่อง Subnet mask : ใส่
255.255.255.0 คลิ้กปุ่ม OK และ OK อีกครั้ง
สำหรับไอพีแอดเดรสของคอมพิวเตอร์เครื่องถัดไปให้กำหนด
เป็น 192.168.0.2 และ 192.168.0.3 ตามลำดับ (เปลี่ยนแค่
เลขตัวสุดท้าย) เรียงต่อไปเรื่อยๆ ในเครือข่ายนี้ห้ามกำหนดไอพี
แอดเดรสที่ซ้ำกันส่วน Subnet mask ให้ใช้ค่าเดิม
4. เปิด Control Panel ให้ดับเบิลคลิ้กไอคอน System เลือก
แถบ Computer Name คลิ้กปุ่ม Change… แล้วกำหนดชื่อ
เครื่องในช่อง Computer name: จากนั้นเลือกหัวข้อ
Workgroup: ใส่ชื่อเวิร์กกรุ๊ปลงไป ต่อมาจะพบว่าชื่อเครื่อง
คอมพิวเตอร์กับชื่อเวิร์กกรุ๊ปจะเปลี่ยนไปแล้วรีสตาร์ต
คอมพิวเตอร์
ตั้งค่า Network ให้ Windows 95/98/ME
1. คลิ้กปุ่ม Start -> Control Panel ให้ดับเบิลคลิ้กไอคอน
Network ที่แถบ Configuration ให้ติดตั้ง Components ทั้ง
4 รายการคือ Client for Microsoft Networks, การ์ด LAN,
TCP/IP และ File and printer sharing for Microsoft
networks โดยคลิ้กปุ่ม Add แล้วเลือกรายการ Components
ให้ครบ
2. เลือก TCP/IP คลิ้กปุ่ม Properties เลือกแถบ IP Address
คลิ้กหัวข้อ Specify an IP Address กำหนดไอพีแอดเดรส
192.168.0.2 (สมมุติว่าได้มากำหนดให้กับคอมพิวเตอร์เครื่อง
อื่นอีกในระบบ) และ Subnet Madk เป็น 255.255.255.0
3. กำหนดชื่อเครื่องและเวิร์กกรุ๊ป เลือกแถบ Indentification
แล้วตั้งชื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ในช่อง Computer name: ตั้งชื่อ
เวิร์กกรุ๊ปในช่อง Workgroup: สุดท้ายให้คลิ้กปุ่ม OK และรี
สตาร์ตคอมพิวเตอร์
4. หลังจากรีสตาร์ตคอมพิวเตอร์แล้วจะพบกับหน้าต่างล็อกอิน
ให้ใส่ User name และ Password เสร็จแล้วคลิ้กปุ่ม OK ให้
คอมพิวเตอร์เชื่อมเข้าสู่ระบบ หากไม่ยอมล็อกอินแต่คลิ้กปุ่ม
Cancel เพื่อยกเลิก ก็จะไม่สามารถเข้าสู่ระบบเครือขา่ ยได้ แต่
สำหรับ Home Network ของเรานี้ จะเน้นความง่ายในการใช้
งานเป็นหลัก ดังนั้นให้ใส่ Use name และ Password เป็น
อะไรก็ได้แต่ถ้าจะให้ง่ายขึ้นไปอีก ก็ปิดหน้าต่างล็อกอินนี้ไม่ให้
ขึ้นมาอีกเลยจะดีกว่า โดยการ เปลี่ยนจาก Client for
Microsoft Networks เป็น Windows Logon ในช่อง
Primary Network Logon เพื่อให้ Windows ทำการล็อกอิน
เข้าสู่ระบบโดยตัวมันเอง
ทำการกำหนดไอพีแอดเดรสจนครบทุกเครื่องคุณผู้อ่านต้อง
กำหนดเองว่าจะให้เครื่องมีหมายเลขไอพีแอดเดรสอะไร
เพียงแต่อย่ากำหนดให้ซ้ำกัน และหากต้องการให้คอมพิวเตอร์
ใน Home Network ของคุณผู้อ่านต้องการใช้อินเทอร์เน็ตด้วย
แล้วขอแนะนำให้ไปกำหนดไอพีแอดเดรส 192.168.0.1 ที่
เครื่องที่มีโมเด็มติดตั้งไว้
ทดสอบการเชื่อมต่อ
หลังจากที่ติดตั้งระบบตามที่ได้กล่าวมาแล้ว ต่อไปจะทำการ
ตรวจสอบการเชื่อมต่อกันของคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย โดยเรา
จะใช้คำสั่ง Ping เป็นคำสั่งในการตรวจสอบการทำงานของ
คอมพิวเตอร์ในเครือข่ายว่าเชื่อมต่อกันได้หรือไม่ ผมจะทดสอบ
จากเครื่องที่มีไอพีแอดเดรส 192.168.0.1 ให้ติดต่อมาไปยัง
คอมพิวเตอร์ที่มีไอพีแอดเดรส 192.168.0.2 ไปที่ เครื่องที่มีไอ
พีแอดเดรส 192.168.0.1 จากนั้นเปิด MS-Dos Prompt หรือ
Command Prompt แล้วพิมพ์ว่า ping 192.168.0.2 กดปุ่ม
Enter ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดจะเห็นว่าคอมพิวเตอร์ที่มีไอพี
แอดเดรส 192.168.0.2 ส่งสัญญาณกลับมา แต่ถ้าเกิดการ
ผิดพลาดไม่สามารถติดต่อกันได้ก็จะไม่พบการตอบรับใดๆ ต้อง
ทำการแก้ไขให้ถูกต้อง
ตรวจสอบข้อมูล Network
เราสามารถตรวจดูได้ว่าคอมพิวเตอร์แต่ละเครื่องนั้นมีไอพี
แอดเดรสและชื่อเครื่องชื่ออะไร โดยที่ Windows 2000/XP
เปิด Command Prompt พิมพ์ว่า ipconfig /all กดปุ่ม Enter
แล้วจะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ Network ซึ่งเห็นว่ามีไอพี
แอดเดรสกับชื่อเครื่องปรากฏอยู่ ส่วน Windows 95/98/ME
คลิกปุ่ม Strat > Run พิมพ์คำสั่ง Winipcfg คลิกปุ่ม OK
โปรแกรม IP Configuration จะแสดงขึ้นมา โดยมีไอพี
แอดเดรสปรากฏอยู่ และถ้าคลิกปุ่ม More Info ก็จะมี
รายละเอียดที่มากขึ้น
เปิดบริการ ทรัพยากร
หัวใจของการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์ให้เป็นระบบเครือข่าย ก็คือ
การใช้งานร่วมกัน มิเช่นนั้นคงจะเปล่าประโยชน์ ดังนั้นจึงต้องมี
การเปิดบริการข้อมูลและทรัพยากรให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นใน
ระบบได้เข้ามาใช้บริการ อันเป็นเป้าหมายของ Home
Network
วัดระยะ Windows XP
การเปิดแชร์ไฟล์ใน Windows XP นี้ เป็นวิธีการเปิดการแชร์
ไฟล์แบบ Simple File Sharing หรือ แบบง่ายและสะดวกที่สุด
1. ก่อนอื่นต้องดูว่าได้เปิดบริการให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเข้ามา
ใช้งานแล้วหรือยัง โดยดูที่รายการ File and Printer Sharing
for Microsoft Networks จะต้องมีเครื่องหมายถูกหน้า
รายการ
2. คลิกขวาโฟลเดอร์ที่ต้องการเปิดแชร์แล้วเลือกเมนู Sharing
and Security เลือกแถบ Sharing ถ้าเป็นการเปิดแชร์ครั้งแรก
เลือกหัวข้อ If you understand the Security ricks but
want to share files without running the wizard, click
here. แล้วเลือกหัวข้อ Just enable file sharing คลิกปุ่ม
OK
3. จากนั้นหัวข้อเมื่อสักครู่จะเปลี่ยนไป ให้ทำเครื่องหมายถูกใน
ช่อง Share this folder on the network หมายถึงเปิดแชร์
โฟลเดอรน์ ี้ในช่อง Share name:ใส่ชื่อสิ่งที่เปิดแชรต์ าม
ต้องการ ส่วน Allow network users to change my files
หมายถึงอนุญาตให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นสามารถแก้ไขข้อมูลใน
โฟลเดอร์นี้ได้ แต่ถ้าไม่เลือกจะเป็นแบบอ่านได้อย่างเดียว
จากนั้นโฟลเดอร์ที่เปิดแชร์จะมีรูปมือมารองไว้ และหากต้องการ
ยกเลิกการแชร์ ก็เพียงแต่เอาเครื่องหมายถูกหน้า Share this
folder on the network ออกไป
การแชร์ไฟล์ใน Windows 95/98/Me
1. ก่อนอื่นต้องตรวจดูว่า ได้เปิดบริการการแชร์ไฟล์ไว้หรือยัง
คลิกขวาที่ไอคอน My Network Places ( Windows Me)
หรือ Network Neighborhood ( Windows 95/98) เลือก
เมนู Properties แล้วคลิกปุ่ม File and Print Sharing ทำ
เครื่องหมายถูกหน้า I want to be able to give others
access to my files หมายถึงอนุญาตให้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น
เข้ามาใช้ไฟล์ที่เปิดแชร์ไว้ได้ ส่วน I want to be able to
allow others to print to my printer(s). หมายถึงอนุญาตให้
คอมพิวเตอร์เครื่องอื่นเข้ามาใช้บริการเครื่องพิมพ์ได้
2. เลือกโฟลเดอร์ที่ต้องการ คลิกขวาที่โฟลเดอร์เลือกเมนู
Sharing…. ที่แถบ Sharing เลือกหัวข้อ Shared As: ใส่ชื่อสิ่ง
ที่เปิดบริการในช่อง Share Name: ตามต้องการเลือกรูปแบบ
การแชร์ที่หัวข้อ Access Type: โดยที่ Read-Only จะ
กำหนดให้เป็นการอ่านข้อมูลได้อย่างเดียว แบบ Full กำหนดให้
กระทำกับข้อมูลได้ทุกอย่างและ Depends on Password
กำหนดให้ใช้รหัสผ่านก่อนเข้าไปใช้ข้อมูลทุกกรณี แต่ต้อง
กำหนดรหัสผ่านในช่อง Read-Only Password กับช่อง Full
Access Password ด้วย ถ้าไม่กำหนดรหัสผ่านคอมพิวเตอร์
เครื่องอื่นก็จะเข้ามาในโฟลเดอร์นี้ได้ทันที จากนั้นโฟลเดอร์ที่
เปิดแชรก์ ็จะมีรูปมือมารองไว้ และเราสามารถแชร์ทั้งไดรฟ์ได้
เหมือนกัน แต่ไม่ขอแนะนำ เพราะอาจมีไฟล์ที่สำคัญอยู่ใน
โฟลเดอร์อื่นควรเปิดแชร์ในโฟลเดอร์ที่ต้องการเท่านั้น
การแชร์เครื่องพิมพ์ใน Windows 2000/XP
ก่อนอื่นต้องติดตั้งเครื่องพิมพ์ให้ใช้งานได้ก่อนนะครับ และการ
เปิดแชร์เครื่องพิมพ์แบบนี้ ก็เป็นวิธีการเปิดการแชร์เครื่องพิมพ์
ด้วยตนเองแบบง่ายๆ
คลิกปุ่ม Start -> Settings ->Printer and Faxes คลิกขวาที่
ไอคอนเครื่องพิมพ์ เลือกเมนู Sharing เลือกแถบ Sharing
แล้วเลือกหัวข้อ Share this printer เพื่อเปิดแชร์เครื่องพิมพ์
คลิกปุ่ม OK ไอคอนเครื่องพิมพ์จะมีรูปมือมารองไว้
การแชร์เครื่องพิมพ์ใน Windows 95/98/Me
เมื่อติดตั้งเครื่องพิมพ์ให้พร้อมใช้งานได้แล้ว คลิกที่ปุ่ม Start ->
Settings -> Printers คลิกขวาที่ไอคอนเครื่องพิมพ์ เลือกเมนู
Sharing ที่แถบ Sharing เลือกหัวข้อ Share AS คลิกปุ่ม หาก
ต้องการให้ผู้ใช้คอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ระบุรหัสผ่านก่อนสั่งพิมพ์
จากนั้น ให้ใส่รหัสผ่านในช่อง Password ไอคอนเครื่องพิมพ์
จะมีรูปมือมารองไว 
นอกจากนี้เรายังสามารถเปิดแชร์ซีดีรอมได้ด้วย ขั้นตอนก็
เหมือนกับการเปิดแชร์โฟลเดอร์ เมื่อเปิดแชร์แล้วก็จะมีรูปมือมา
รองที่ไอคอนซีดีรอมเช่นเดียวกัน แต่การเปิดแชร์ซีดีรอมนั้น
ต้องเปิดแชร์แบบ Read Only เพราะซีดีรอมอ่านได้อย่างเดียว
เข้าใช้ ทรัพยากรในเครือข่าย
การใช้งานระบบเครือข่ายคอมพิวเตอรใ์ ห้คุ้มค่า สิ่งหนึ่งคือการ
ได้เข้าไปใช้บริการข้อมูลหรือสิ่งที่ได้เปิดบริการไว้ใน
คอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ที่อยู่ในระบบ เช่น เข้าไปในไฟล์ หรือ
สั่งงานพิมพ์ผ่านระบบเครือข่าย
การค้นหาคอมพิวเตอร์ใน Network โดย Windows
2000/XP
1. คลิกปุ่ม Start -> Connect To -> Show all
connections หรือดับเบิลคลิกที่ My Network Places ที่
เดสก์ทอป แล้วคลิกที่ View workgroup computers จะพบ
กับไอคอนรูปเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ในระบบเครือข่าย
ดับเบิลคลิกที่ไอคอนรูปคอมพิวเตอร์ เครื่องที่เปิดแชร์ ก็จะพบกับ
ไฟล์ที่อยู่ภายในโฟลเดอร์นั้น เราสามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที
เช่น ก๊อปปี้ได้เลย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นได้เปิด
บริการไว้รูปแบบใดบ้าง เช่นเปิดแชร์แบบอ่านได้อย่างเดียว เรา
ก็ไม่สามารถเข้าไปลบไฟล์ในเครื่องนั้นได้ และถ้าคอมพิวเตอร์
เครื่องนั้นให้ระบุรหัสผ่านก่อน เราก็ต้องใส่รหัสผ่านลงไปด้วย
2. เข้าไปในคอมพิวเตอร์เครื่องที่ต้องการได้โดยเรียกเมนู RUN
ขึ้นมา พิมพ์ว่า \\two (เครื่องหมาย \\ ตามด้วยชื่อเครื่อง
คอมพิวเตอร์ที่ต้องการ) คลิกปุ่ม OK จะไปที่คอมพิวเตอร์เครื่อง
นั้นได้เปิดแชร์ไว้
3. อีกวิธีคือคลิกขวาที่ My Network Places เลือก Search
for computers แล้วพิมพ์ชื่อเครื่องลงในช่อง Computer
name: คลิ้กปุ่ม Search เพื่อค้นหาคอมพิวเตอร์ที่ระบุ เมื่อพบ
แล้วก็จะแสดงไอคอนคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นให้เห็น ซึ่งสามารถ
ดับเบิลคลิกเข้าไปดูได้เช่นกัน
การค้นหาคอมพิวเตอร์ใน Network โดยWindows95/98/Me
ดับเบิลคลิ้กไอคอน My Network Places -> Entire
Network จะพบว่ามีเวิร์กกรุ๊ป Mshome แสดงอยู่ ให้ดับเบิล
คลิกเข้าไปในเวิร์กกรุ๊ป จะเห็นไอคอนรูปคอมพิวเตอร์ใน
เครือข่าย ดับเบิ้ลคลิ้กเข้าไปในรูปคอมพิวเตอร์ที่ได้เปิดแชร์ไว้
ดับเบิลคลิ้กเข้าไปอีกจะเห็นว่ามีไฟล์ปรากฏอยู่ ส่วนวิธีอื่นก็ใช้ได้
เหมือนกับวิธีดังกล่าวมาในหัวข้อที่แล้ว
การแมปไดรฟ์
เราสามารถจำลองโฟลเดอร์ของคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นในระบบ
เครือข่าย ให้มาเป็นไดรฟ์หนึ่งบนเครื่องของเราได้ เวลาเรียกใช้
ก็แค่เปิด My Computer ขึ้นมาแล้วก็เข้าไปในไดรฟ์จำลองนั้น
ได้เลยเราเรียกวิธีการนี้ว่าการแมปไดรฟ์
คลิ้กขวาที่โฟลเดอร์ที่เครื่องนั้นๆ ได้เปิดแชร์ไว้ เลือกเมนู Map
Network Drive… จากนั้นเลือกชื่อไดรฟ์ที่ต้องการที่จะให้มา
แสดงใน My Computer ของเรา ถ้าจะให้แมปไดรฟ์นี้ทุกครั้งที่
เปิดเครื่องให้คลิ้กเครื่องหมายถูกที่ Reconnect at logon คลิ้ก
ปุ่ม Finish จากนั้นลองเปิดดูใน My Computer จะพบกับ
ไดรฟ์ Z: ที่เราได้ทำการแมปไว้ ซึ่งมีรูปท่อติดอยู่ด้วย ดับเบิ้ล
คลิกเข้าไปใช้งานได้ทันที ส่วนการยกเลิกไดรฟ์ที่แมปนี้ ก็
เพียงแต่คลิ้กขวาไดรฟ์ที่แมปแล้วเลือกเมนู Disconnect
ไอคอนไดรฟ์ที่แมปไว้นี้จะหายไป วิธีการนี้ทำคล้ายๆ กันใน
Windows ทุกเวอร์ชัน
การใช้เครื่องพิมพ์ผ่านเน็ตเวิร์ก
เมื่อคอมพิวเตอร์เครื่องที่มีเครื่องพิมพ์ติดตั้งไว้ ได้เปิดแชร์
เครื่องพิมพ์แล้ว เราสามารถสั่งงานพิมพ์ผ่านระบบเครือข่ายได้
ทันที แต่ก่อนอื่นต้องติดตั้งเครื่องพิมพ์ให้วินโดวส์รู้จัก
1. คลิ้ก Start -> Settings -> Printers ดับเบิลคลิ้ก Add
Printer เลือกหัวข้อ Network Printer คลิ้กปุ่ม Browse… แล้ว
เลือกเครื่องพิมพ์ที่เปิดแชร์ (ถ้าไม่พบให้รีสตาร์ตคอมพิวเตอรอ์ ีก
ครั้ง) จากนั้น Windows จะติดตั้งเครื่องพิมพ์ โดยเอาไดรเวอร์
ในคอมพิวเตอร์ที่ติดตั้งเครื่องพิมพ์มาติดตั้ง เมื่อติดตั้งสำเร็จ จะ
มีไอคอนเครื่องพิมพ์ที่มีท่อติดอยู่ด้านล่างหมายถึงเป็น
เครื่องพิมพ์ผ่าน Network
2. ตอนสั่งพิมพ์ต้องตรวจดูให้แน่ใจว่าจะสั่งพิมพ์ผ่าน Network
โดยเลือกเครื่องพิมพ์ก่อนในช่อง Name: สังเกตที่ Where:
\\NEW\Connon\Bub หมายถึงเป็นเครื่องพิมพ์ที่ติดตั้งอยู่ที่
คอมพิวเตอร์ชื่อ ONE
สำหรับ Windows XP ที่ติดตั้ง Service Pack 2
ถ้าไม่สามารถเข้าไปใช้ข้อมูล และไม่สามารถใช้คำสั่ง Ping ไป
ยังเครื่องที่ใช้ Windows XP ได้ สาเหตุเกิดมาจากเครื่องนั้นใช้
Windows XP ติดตั้ง Service Pack 2 ได้มีการเปิดใช้ไฟล์
วอลล์ ทำให้ไม่สามารถเข้าไปในเครื่องนั้นได้ การแก้ไขคือต้อง
เปิดบริการ File and Printer Sharing ในเครื่องนั้นให้ใช้งาน
ได้ด้วย จึงสามารถเข้าไปใช้ข้อมูลในเครื่องนั้นโดยเปิด Control
Panel ดับเบิลคลิ้กไอคอน Windows Firewall ที่แถบ
Exceptions ทำเครื่องหมายถูกหน้า File and Printer
Sharing คลิ้กปุ่ม OK
ประโยชน์เหล่านี้จะช่วยให้หมดปัญหาในด้านการส่งถ่ายข้อมูล
ไม่ว่าจะมีข้อมูลมากมายขนาดไหนก็ตาม ยกเว้นว่าฮาร์ดดิสก์นั้น
ไม่พอเก็บ ก็ต้องหามาเพิ่มตามระเบียบ.
แชร์อินเตอร์เน็ตใน Home Network
ใช่ว่าใน Home Network จะติดตอ่ สื่อสารกันเองในเครือขา่ ย
เท่านั้น ยังสามารถใช้อินเตอร์เน็ตกันได้ทุกเครื่อง คุณสมบัตินี้
เรียกกันง่ายๆ ว่า การแชร์อินเตอร์เน็ต ซึ่งคุณสมบัตินี้มีมาตั้งแต่
Windows 98 เรื่อยมาจนกระทั่ง Windows Server 2003
แต่ในตอนนี้เราจะใช้การแชร์อินเตอร์จาก Windows XP กัน
คุณสมบัติการแชร์ Windows XP นี้ทำได้ง่ายมาก ซึ่งผมขอ
สมมุติว่าใน Home Network ของคุณผู้อ่านนี้ ได้ติดตั้งโมเด็ม
ไว้แล้วที่เครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีไอพีแอดเดรส 192.168.0.1
และได้สร้างตัวติดต่อ (Connection) ไปยัง ISP แล้ว ซึ่งไม่ว่า
จะเป็นโมเด็มแบบ 56 K หรือแบบ ADSL ก็ไม่เกี่ยงครับ ซึ่งการ
ติดตั้งทั้งหมดนี้เป็นการทำการทำด้วยตนเอง ( Manual) เท่านั้น
การแชร์อินเตอร์เน็ตใน Windows XP
ไปที่ Control Panel -> Network Connections จากนั้น
คลิ้กขวาที่ไอคอน Connection ตัวที่ใช้หมุนโมเด็มติดต่อกับ
ISP แล้วเลือกเมนู Properties ที่แถบ Advanced จัดการ
เลือกหัวข้อต่างๆ ดังนี้
• หัวข้อ Internet Connection Sharing ทำเครื่องหมายถูกที่
หัวข้อ Allow other network user to connect through
this computer's internet connection เพื่อเปิดแชร์
อินเตอร์เน็ต
• หัวข้อ Establish a dial-up connection when ever a
computer on my network attempts to the internet
หมายถึง ถ้ามีเครื่องอื่นที่จะเข้าสู่อินเตอร์เน็ต เครื่องใหม่นี้ก็จะทำ
การติดต่อไปยัง ISP ให้ทันที
• หัวข้อ Allow other network users to control or
disable the share Internet connection จะเป็นการยินยอม
ให้ผู้ใช้งานเครื่องอื่นควบคุมการแชร์อินเตอร์เน็ต หรือยกเลิก
การแชร์อินเตอร์เน็ต (แต่มีข้อแม้ว่าจะต้องได้รับการ Setup
โดยใช้โปรแกรม Network setup Wizard ของ Windows
XP เท่านั้น) เมื่อตั้งค่าเรียบร้อยให้คลิ้กปุ่ม OK จะมีข้อความ
บอกว่าไอพีแอดเดรสที่การ์ด LAN ของเครื่องที่เปิดแชร์
อินเตอร์เน็ตนี้ จะเปลี่ยนเป็น 192.168.0.1 ที่เรากำหนดไปแล้ว
คลิ้กปุ่ม Yes สังเกตว่าที่ไอคอนจะมีรูปมือมารองไว้แสดงว่าเรา
เปิดแชร์อินเตอร์เน็ตแล้ว
กำหนดให้เครื่องต่างๆ ใช้อินเตอร์เน็ต
สำหรับคอมพิวเตอร์เครื่องต่างๆ ในเครือข่าย เราต้องกำหนดเส้น
ทางเข้าออกของอินเตอร์เน็ต ( Gateway) ให้กับเครื่องที่เหลือ
เหล่านั้นด้วย เพื่อให้ใช้อินเตอร์เน็ตได้ สำหรับทางเข้าออกก็คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ได้ติดตั้งโมเด็มไว้นั่นเอง
Windows 2000/XP
คลิกปุ่ม Start -> Control Panel ดับเบิลคลิ้กไอคอน
Network Connections แล้วดับเบิลคลิ้ก Local Area
Connections คลิ้กที่ปุ่ม Properties แล้วเลือก Internet
Protocol (TCP/IP) แล้วคลิกปุ่ม Properties ที่ช่อง Default
Gateway: และ Preferred DNS server: ใส่ไอพีแอดเดรส
192.168.0.1 คลิ้กปุ่ม OK
Windows 95/98/ME
คลิ้กปุ่ม Start -> Control Panel ดับเบิลคลิ้กไอคอน
Network ที่แถบ Configuration เลือก TCP/IP คลิ้กปุ่ม
Properties เลือกแถบ Gateway ใส่ไอพีแอดเดรส
192.168.0.1 ลงในช่อง New Gateway: คลิ้กที่ปุ่ม Add
เพื่อให้ไอพีแอดเดรสเพิ่มลงไป ต่อมาเลือกแถบ DNS
Configuration เลือกหัวข้อ Enable DNS ในช่อง Host ใส่
ชื่อเครื่องของเครื่องนั้นๆ ช่อง Domain ใส่ MSHOME ช่อง
DNS Server Search Order ใส่ 192.168.0.1 คลิ้กปุ่ม
Add ไอพีแอดเดรสจะเข้าไปอยู่ในรายการ คลิ้กปุ่ม OK แล้วรี
สตาร์ตคอมพิวเตอร์
เมื่อคอมพิวเตอร์ที่มีโมเด็มติดตั้งไว้ ได้เชื่อมต่อกับ ISP แล้ว
คอมพิวเตอร์ทุกเครื่องใน Home Network ก็สามารถใช้
อินเตอร์เน็ตได้ทันที รวมทั้งเครื่องที่แชร์อินเตอร์เน็ตเองด้วย
สื่อสารทันใจใน Home Network
ประโยชน์อีกแบบหนึ่งหลังจากการเนรมิต Home Network นั่น
คือการพูดคุยกันผ่านคอมพิวเตอร์ในเครือข่าย ซึ่งวินโดวส์มี
ฟังก์ชันการทำงานลักษณะนี้มาให้พร้อมแล้ว
NetMeeting เป็นโปรแกรมที่ได้รวมความสามารถไว้อย่าง
มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการแชต การรับส่งไฟล์ การใช้งานวีดีโอ
คอนเฟอเรนต์ พร้อมทั้งพูดคุยผ่านไมโครโฟน ทำให้การสื่อสาร
กันในเครือข่ายสะดวกมากยิ่งขึ้น
Windows 2000/XP
สำหรับ Windows 2000/XP โปรแกรมจะติดตั้งอยู่ที่
C:\Program Files\NetMeeting ให้ดับเบิลคลิ้กไฟล์ที่ชื่อ
conf.exe เมื่อติดตั้งแล้วให้เรียกโปรแกรม NetMeeting
ขึ้นมา ในครั้งแรกต้องปรับแต่งโปรแกรมกันก่อน คลิกปุ่ม Next
แล้วป้อนข้อมูลผู้ใช้ลงไป คลิ้ก Next เลือกหัวข้อ Local Area
Network คลิ้กปุ่ม Next เอาเครื่องหมายถูกออกไปในช่องที่
เขียนว่า Log on to a directory server when NetMeeting
starts คลิ้กปุ่ม Next ไปเรื่อยๆ จนถึงปุ่ม Finish ไอคอน
โปรแกรมจะวางไว้ที่เดสก์ทอป
ส่วน Windows 98/ME เปิด Control Panel ดับเบิลคลิ้ก
Add/Remove Programs เลือกแถบ Windows Setup
ดับเบิ้ลคลิกรายการ Communications ทำเครื่องหมายถูกหน้า
รายการ NetMeeting คลิ้กปุ่ม OK โปรแกรมจะถูกบรรจุใน
เมนู Accessories -> Communications สำหรับ Windows
95 จะเป็นเวอร์ชันเก่า หากใช้ก็ต้องดาวน์โหลดเวอร์ชันใหม่มา
ติดตั้ง
การสื่อสารใน Home Network
1. เรียกโปรแกรมขึ้นมา (อีกฝ่ายต้องเรียกโปรแกรมขึ้นมา
ทำงานไว้ด้วย) เลือกเมนู
Call -> New Call… หรือกดปุ่มรูปโทรศัพท์ เพื่อเริ่มการติดต่อ
จากนั้นใส่ไอพีแอดเดรสหรือชื่อเครื่องของคอมพิวเตอร์ที่
ต้องการติดต่อแล้วคลิ้กปุ่ม Call โปรแกรมจะบอกว่าให้รอการ
ตอบรับของคอมพิวเตอร์ปลายทาง ส่วนคอมพิวเตอร์ฝ่ายที่ถูก
เรียกจะมีปุ่ม Accept ให้กด เพื่อตอบรับการติดต่อ ให้กดปุ่ม
Accept
2.เมื่อคอมพิวเตอร์ทั้งสองเครื่องได้ติดต่อกันแล้ว จะมีรายชื่อ
ผู้ใช้โปรแกรมปรากฏอยู่ คลิ้กปุ่ม Chat หรือเลือกเมนู Tools >
Chat จะมีหน้าต่างการ Chat แสดงขึ้นมาทั้งสองเครื่อง
3. พิมพ์ข้อความลงในช่อง Message: แล้วคลิ้กปุ่ม Chat
ด้านข้าง ข้อความจะไปแสดงที่คอมพิวเตอร์ที่อีกเครื่องที่กำลังคุย
ด้วย เราสามารถเลือกได้ว่าจะส่งข้อความให้กับทุกคนหรือส่ง
เฉพาะที่ต้องการได้ โดยมีตัวเลือกในช่อง Send To: ถ้าต้องการ
ส่งข้อความให้กับทุกคนที่กำลังใช้ NetMeeting ให้เลือก
Everyone In Chat ส่วนการตอบกลับก็ทำเช่นเดียวกัน
4. คลิ้กปุ่ม File Transfer หรือเลือกเมนู Tools -> File
Transfer เพื่อส่งไฟล์ภายในเครือข่าย ปรากฏหน้าต่าง File
Transfer คลิ้กปุ่ม Add File (หมายเลข1) เลือกไฟล์ที่ต้องการ
จากนั้นรายชื่อไฟล์จะมาปรากฏในรายการ เลือกว่าจะส่งไฟล์
ให้กับใคร (หมายเลข 2) แล้วคลิ้กปุ่ม Send (หมายเลข 3) ทาง
คอมพิวเตอร์ฝั่งผู้รับจะมีหน้าต่างแสดงการรับไฟล์ ให้คลิ้กที่ปุ่ม
Accept เพื่อยืนยันการรับไฟล์ ส่วนไฟล์ที่รับมาจะเก็บไว้ที่
C:\ProgramFiles\NetMeeting\Received Files
กลุ่มอาการเสียของคอมพิวเตอร์
ลักษณะอาการเสียของเครื่องคอมพิวเตอร์ เราสามารถแบ่งได้
เป็น 5 กลุ่มอาการ ดังนั้นในการตรวจหาสาเหตุของอาการเสีย ก็
ให้ดูว่าเป็นอาการเสียที่อยู่ในกลุ่มใดดังนี้
1. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องจากเสียง Beep Code
ทุก ๆ ครั้งที่คุณเปิดใช้งานเครื่องครั้งแรก ก็จะได้ยินเสียง
ปี๊ป ดังสั้น ๆ 1 ครั้ง แล้วเครื่องก็จะทำงานต่อตามปกติ แต่ถ้า
เมื่อไรที่คุณได้ยินสียงมากกว่า 1 ครั้ง หรือมีเสียงดังยาว ๆ
จากนั้นเครื่องก็หยุดนิ่ง ก็ทำใจไว้ได้เลยว่าเครื่องของคุณมีปัญหา
แล้ว เมื่อคุณเจออาการแบบนี้ให้รีบปิดเครื่องทันที เพราะตราบ
ใดที่เครื่องยังไม่ได้รับการแก้ไข ก็จะไม่สามารถใช้งานเครื่องได้
จนกว่าจะแก้ปัญหาเสียก่อน เสียงปี๊ปที่เราได้ยินนี้จะถูกเรียกว่า
Beep Code ซึ่งจะมีจำนวนครั้งไม่เท่ากัน และมีเสียงดังสั้นบ้าง
ยาวบ้าง ลักษณะของเสียงที่แตกต่างกันนี้เองที่บอกเราว่า
อุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหา ดังนั้นถ้าเจอปัญหาลักษณะนี้ก็ต้องลอง
ฟังให้ดีว่า ดังกี่ครั้ง สั้นยาวแบบไหน แล้วนำไปเทียบดูในตาราง
ไบอสตามยี่ห้อของไบออส เพื่อจะรุ้ว่าอะไรคือต้นเหตุ แล้วจะได้
หาทงแก้ไขต่อไป
2. ตรวจสอบอาการเสียของเครื่องโดยดูจากข้อความที่แจ้งบน
หน้าจอ
การแจ้งปัญหาหรือความผิดปกติที่เครื่องตรวจพบด้วย
ข้อความบนหน้าจอ ซึ่งเราเรียกว่า Message Error นับป็นการ
แจ้งปัญหาอีกแบบหนึ่งที่มีประโยชน์ เพราะเราสามรถรู้ปัญหาได้
ทันทีว่าอปกรณ์ตัวไหนทำงานผิดปกติ หรือไม่ก็รู้ว่าการทำงาน
ส่วนใดมีปัญหา ซึ่งจะนำไปสู่แนวทางในการแก้ปัญหาที่ง่ายขึ่น
ตัวอย่างของข้อความที่ปรากฎให้เห็นบนหน้าจอบ่อย ๆ
อย่างเช่น
CMOS checksum Error
CMOS BATTERY State Low
HDD Controller Failure
Diskplay switch not proper
ดังนั้นถ้าคุณพบว่าเครื่องได้แจ้งปัญหาให้ทราบก็ให้รับหาทาง
แก้ไขโดยด่วน แต่ถ้าไม่สามารถแก้ไขได้ก็ให้จดข้อความบน
หน้าจอไว้ เพื่อเอาไว้สอบถามผู้ที่สามารถให้คำแนะนำได้หรือ
เอาไวให้ช่างที่ร้านซ่อมดูก็ได้ เพื่อให้การตรวจซ่อมทำได้เร็วขึ้น
3. ตรวจสอบอาการเสียโดยดูจากความผิดปกติของเครื่องที่
สามารถสังเกตุ
วิธีนี้คงต้องใช้ทักษะ ความรู้ และความชำนาญมากกว่า 2
แบบแรก เพราะจะเป็นอาการที่เครื่องไม่ได้มีอะไรแจ้งให้เรา
ทราบเลยว่าอุปกรณ์ชิ้นไหนมีปัญหาหรือเสียหาย มีแต่ความ
ผิดปกติที่เราสามารถสังเกตุได้ทางกายภาพ อย่างเช่น เปิดสวิตซ์
แล้วไฟไม่ติด , เสียบปลั๊กแล้วเครื่องก็เปิดทันที , เปิดใช้เครื่องได้
ไม่ถึง 5 นาที ระบบก็ล่ม เป็นต้น จะเห็นว่าอาการดังกล่าวนี้
เครื่องไม่ได้แจ้งอะไรให้เราทราบเลยนอกจากอาการผิดปกติที่
เรารับรู้ได้ ดังนั้นในการแก้ปัญหาในลักษณะนี้จึงจะต้องอาศัยผู้ที่
มีประสบการณ์หรือช่างผู้ชำนาญ จึงจะสามารถวิเคราะห์ตรวบ
สอบ และทำการซ่อมแซมแก้ปัญหาได้
4. ตรวจสอบอาการเสียที่เราสามารถระบุอุปกรณ์ได้เลย
ปัญหาแบบนี้จะเป็นกับอุปกรณ์ที่เราใช้อยุ่เป็นประจำแต่ถ้าอยุ่
ๆ ไม่สามารถทำงาน หรือทำงานได้ไม่ดี เราก็รู้ได้ทันทีว่าอะไร
เสีย อย่างเช่น ไดรว์ซีดีรอมไม่ทำงาน ภาพบนจอสั่นหรือ
กระพริบ ไดรว์ A ไม่ยอมอ่านแผ่น เป็นต้น จะเห็นว่าเป็นปัญหา
ที่เกิดจากความผิดปกติของอุปกรณ์ชิ้นนั้น ๆ โดยตรง การ
ตรวจสอบหรือตรวจเช็คจึงทำได้ง่าย ไม่ยุ่งยากเหมือน 3 แบบที่
ผ่านมา
5. ตรวจสอบอาการเสียที่เกิดจากการอัพเกรดอุปกรณ์ ไปจนถึง
การปรับแต่งเครื่อง
สิ่งที่ทำให้เครื่องเกิดปัญหาอีกอย่างก็คือ การเพิ่มเติม
ปรับเปลี่ยนหรือปรับแต่งอุปกรณ์บางตัวก็ทำไห้เกิดปัญหาได้อีก
เหมือนกัน เช่น อัพเกรดแรมแล้วเครื่องแฮงค์ Overclock ซีพียู
จนไหม้ , ปรับ BOIS แล้วเครื่องรวน เป็นต้น จะเห็นว่าในสภาพ
เครื่องก่อนกระทำใด ๆ ยังทำงานได้ปกติอยุ่ แต่หลังจากที่มีการ
อัพเกรดหรือปรับแต่งเครื่องแล้วก็มีปัญหาตามมาทันที แล้วคุณ
จะทำอย่างไร ????? บีคอมมีคำตอบให้คุณ
เรียนลัดคำสั่ง Dos ที่จำเป็นสำหรับการซอ่ มคอม
ความจำเป็นในการใช้ (Dos) ยังคงมีอยู่ แม้ว่าในปัจจุบันบทบาท
ของมันจะเริ่มลดลงไปมากหลังจาก Windows เริ่มมีความ
สมบูรณ์และมีสิ่งอำนวยความสะดวกมาให้ชนิดที่ไม่ต้องพึ่งดอส
เลย แต่ถ้าเมื่อไรเครื่องของคุณยังไม่มี Windows หรือเข้าไปใช้
งาน Windows ไม่ได้ คำสั่งดอสก็มีความจำเป็นอย่างยิ่ง เพราะ
การใช้คำสั่งดอสจะช่วยแก้ปัญหาต่าง ๆ ได้เช่นการ การ
ซ่อมแซมไฟล์ที่เสีย ก๊อปปี้ไฟล์ข้อมูล แก้ปัญหา Bad Sector
ฯลฯ ดังนี้เราควรทราบคำสั่งบางคำสั่งที่จำเป็นไว้บ้างเพื่อนำไปใช้
งานในยามฉุกเฉิน
Dos ย่อมาจาก Disk Operating System เป็นระบบ
ปฎิบัติการรุ่นแรก ๆ ซึ่งการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์จะมี
การทำงานบนระบบปฎิบัติการดอสเป็นหลัก โดยการทำงานส่วน
ใหญ่จะเป็นการทำงานโดยการใช้คำสั่งผ่านบรรทัดคำสั่ง
(Command Line) ที่นิยมใช้กันคือ MS-Dos ซึ่งต่อมาระบบ
ปฎิบัติการดอสจะถูกซ่อนอยู่ใน Windows ลองมาดูกันว่าคำสั่ง
ไหนบ้างที่เราควรรู้จักวิธีใช้งาน
CD คำสั่งเข้า-ออก ในไดเร็คทอรี่
CD (Change Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยน
ไดเร็คทอรี่ในโหมดดอส เช่น ถ้าต้องการรัน คำสั่งเกมส์ที่เล่นใน
โหมดดอส ซึ่งอยู่ในไดเร็คทอรี MBK ก็ต้องเข้าไปในไดเร็คทอรี
ดังกล่าวเสี่ยก่อนจึงจะรันคำสั่งเปิดโปรแกรมเกมส์ได้
รูปแบบคำสั่ง
CD [drive :] [path]
CD[..]
เมื่อเข้าไปในไดเร็คทอรีใดก็ตาม แล้วต้องการออกจาก
ไดเร็คทอรีนั้น ก็เพียงใช้คำสั่ง CD\ เท่านั้นแต่ถ้าเข้าไปใน
ไดเร็คทอรีย่อยหลาย ๆ ไดเร็คทอรี ถ้าต้องการออกมาที่ไดรว์ซึ่ง
เป็นระดับสูงสุด ให้ใช้คำสั่ง CD\ เพราะคำสั่ง CD.. จะเป็นการ
ออกจากไดเร็คทอรีได้เพียงลำดับเดียวเท่านั้น
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
CD\
กลับไปที่ Root ระดับสูงสุด เช่น ถา้ เดิมอยูท่ ี่
C:\>docs\data> หลังจากใช้คำสั่งนี้ก็จะ
ย้อนกลับไปที่ C:\ >
CD..
กลับไปหนึ่งไดเร็คทอรี เชน่ ถ้าเดิมอยู่ที่
C:\windows\command> หลังจากนั้น ใช้
คำสั่งนี้ก็จะก็จะย้อนกลับไปที่ C:\windows>
CHKDSK (CHECK DISK) คำสั่งตรวจเช็คพื้นที่ดิสก์
CHKDSK เป็นคำสั่งที่ใช้ในการตรวจสอบข้อมูลของ
หน่วยความจำ และการใช้งานดิสก์หรือฮาร์ดดิสก์ การรายงานผล
ของคำสั่งนี้จะเข้าไปตรวจสอบพื้นที่ไดเร็คทอรี และ FAT ของ
ดิสก์ หรือไฟล์ เพื่อหาข้อมผิดพลาดของการเก็บบันทึก ถ้า
CHKDSK พบว่ามี Lost Cluster จะยังไม่แก้ไขใด ๆ นอกจาก
จะใช้สวิตซ์ /f กำหนดให้ทำการเปลี่ยน Lost Cluster ให้เป็น
ไฟล์ที่มีชื่อไฟล์เป็น FILE0000.CHK ถ้าพบมากว่า 1 ไฟล์ อัน
ต่อไปจะเป็น FILE0002.CHK ไปเรื่อย ๆ นอกจากนี้ยัง
สามารถรายงานปัญหาที่ตรวจพบได้อีก อย่างเช่น จำนวน Bad
Sector , Cross-ling Cluster (หมายถึง Cluster ที่มีไฟล์
มากกว่าหนึ่งไฟล์แสดงความเป็นเจ้าของ แต่ข้อมูลใน Cluster
จะเป็นของไฟล์ได้เพียงไฟล์เดียวเท่านั้น)
รูปแบบคำสั่ง
CHKDSK [drive:][[path]filename] [/F] [/V]
[drive:][path] กำหนดไดรว์ และไดเร็ทอรีที่ต้องการต
รวบสอบ
filename ชื่อไฟล์ที่ต้องการให้ตรวจสอบ
/F สั่งให้ Fixes Errors ทันทีที่ตรวจพบ
/V ขณะที่กำลังตรวจสอบ ให้แสดงชื่อไฟล์และตำแหน่ง
ของดิสก์บนหน้าจอด้วย
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\WINDOWS>CHKDSK
D:
ตรวจสอบข้อมูลการใช้งาน
ดิสก์ในไดรว์ D
C:\>CHKDSK C: /F ตรวจสอบ ไดรว์ C พร้อมกับ
ซ่อมแซมถ้าตรวจเจอปัญหา
COPY คำสั่งคัดลอกไฟล์
Copy เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ จากไดเร็คทอรี
หนึ่งไปยังไดเร็คทอรีที่ต้องการ คำสั่งนี้มีประโยชน์มากควรหัดใช้
ให้เป็น เพราะสามารถคัดลอกไฟล์ได้ยามที่ Windows มีปัญหา
รูปแบบคำสั่ง
COPY [Source] [Destination]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\COPY
A:README.TXT
คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จาก
ไดรว์ A ไปยังไดรว์ C
C:\COPY
README.TXT A:
คัดลอกไฟล์ชื่อ README.TXT จาก
ไดรว์ C ไปยังไดรว์ A
C:\INFO\COPY
A:*.*
คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยัง
ไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
A:\COPY *.*
C:INFO
คัดลอกไฟล์ทั้งหมดในไดรว์ A ไปยัง
ไดเร็คทอรี INFO ในไดรว์ C
DIR คำสั่งแสดงไฟล์และไดเร็คทอรีย่อย
เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงรายชื่อไฟล์และไดเร็คทอรี คำสั่งนี้ถือ
เป็นคำสั่งพื้นฐานที่ต้องใช้อยู่เป็นประจำ เพื่อจะได้รู้ว่าในไดรว์
หรือไดเร็คทอรีนั้น ๆ มีไฟล์หรือไดเร็คทอรีอะไรอยู่บ้าง
รูปแบบคำสั่ง
DIR /P /W
/P แสดงผลทีละหน้า
/W แสดงในแนวนอนของจอภาพ
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>DIR
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรี
ทั้งหมดในไดรว์ C
C:\>DIR /W
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรี
ทั้งหมดในไดรว์ C ในแนวนอน
C:\>INFO\DIR /P
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ และไดเร็คทอรีย่อย
ในไดเร็คทอรี INFO โดยแสดงทีละ
หน้า
C:\>INFO\DIR
*.TEX
ให้แสดงรายชื่อไฟล์ทั้งหมดในไดเร็คทอ
รี INFO เฉพาะที่มีนามสกุล TXT
เท่านั้น
C:\> DIR
BO?.DOC
ให้แสดงรายชื่อไฟลใ์ นไดรว์ C ที่ขึ้นต้น
ด้วย BO และมีนามสกุล DOC ใน
ตำแหน่ง ? จะเป็นอะไรก็ได้
DEL (DELETE) คำสั่งลบไฟล์
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการลบไฟล์ ซึ่งต้องระมัดระวังในการใช้
คำสั่งนี้ให้มาก
รูปแบบคำสั่ง
DEL [ชื่อไฟล์ที่ต้องการลบ]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>DEL BOS.VSD ลบไฟล์ในไดรว์ C ที่ชื่อ BOS.VSD
C:\>PROJECT\DEL
JOB.XLS
ลบไฟล์ชื่อ JOB.XLS ที่อยู่ในไดเร็ค
ทอรี PROJEC ของไดรว์ C
D:\>DEL *.TXT ลบทุกไฟล์ที่มีนามสกุล TXT ใน
ไดรว์ D
FDISK ( Fixed Disk)
เป็นไฟล์โปรแกรมที่ใช้ในการจัดการกับพาร์ติชั่นของฮาร์
ดิสก์ ใช้ในการสร้าง ลบ กำหนดไดรว์ ที่ทำหน้าที่บูตเครื่อง
แสดงรายละเอียดของพาร์ติชันบนฮาร์ดิสก์ จะเห็นว่าเป็น
โปรแกรมอีกตัวหนึ่งที่ต้องทำความรู้จักและศึกษาวิธีใช้งาน
เพราะสามารถใช้ประโยชน์ในการสร้าง ฮาร์ดดิสก์ให้มีหลาย ๆ
ไดรว์ก็ได้
รูปแบบคำสั่ง
FDISK /STATUS
ตัวอย่างการใช้งานโปรแกรม
A:>\FDISK เริ่มใช้งานโปรแกรม
A:\>FDISK
/STATUS
แสดงข้อมุลเกี่ยวกับพาร์ติชันบน
ฮาร์ดดิสก์
FORMAT คำสั่งฟอร์แมตเครื่อง
เป็นคำสั่งใช้จัดรูปแบบของดิสก์ใหม่ คำสั่งนี้ปกติจะใช้หลัง
การแบ่งพาร์ชันด้วยคำสั่ง FDISK เพื่อให้สามารถใช้งาน
ฮาร์ดดดดิสก์ได้ หรือฝช้ล้างข้อมูลกรณีต้องการเคลียร์ข้อมูล
ทั้งหมดในฮาร์ดิสก์
รูปแบบคำสั่ง
FORMAT drive: [/switches]
/Q ให้ฟอร์แมตแบบเร็ว ซึ่งจะใช้เวลาน้อยลง (Quick Format)
/S หลังฟอร์แมตแล้วให้คัดลอกไฟล์ระบบลงไปในไดรว์นั้นด้วย
เพื่อให้ไดรว์ที่ทำการฟอร์แมตสามารถบูตได้
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
A:\>FORMAT C:
/S
ฟอร์แมตไดรว์ C แล้วให้คัดลอกไฟล์
ระบบลงไปในไดรว์ด้วย
C:\>FORMAT A:
/Q
ฟอร์แมตไดรว์ A แบบ Quick
Format
MD คำสั่งสร้างไดเร็คทอรี
MD (Make Directory) เป็นคำสั่งที่ใช้ในการสร้างไดเร็ค
ทอรี คำสั่งนี้จะช่วยให้สามารถสร้างไดเร็คทอรีชื่ออะไรก็ได้ที่เรา
ต้องการ แต่ต้องมีการตั้งชื่อที่อยู่ในกฎเกณฑ์ของ Dos
รูปแบบคำสั่ง
MD [drive:] path
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
D:\> MD TEST
สร้างไดเร็คทอรี TEST ขึ้นมาในไดรว์
D
D:\>DOC\MD
TEST
สร้างไดเร็คทอรีที่ชื่อ TEST ขึ้นมา
ภายในไดเร็คทอรี DOC
REN (RENAME) คำสั่งเปลี่ยนชื่อไฟล์
เป็นคำสั่งที่ใช้ในการเปลี่ยนชื่อไฟล์ และส่วนขยาย โดย
คำสั่ง REN นี้ไม่สามารถใช้เปลี่ยนชื่อไดเร็คทอรีได้
รูปแบบคำสั่ง
REN [ชื่อไฟล์เดิมล [ชื่อไฟล์ใหม่]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\REN BOS.DOC
ANN.DOC
เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ใน
ไดรว์ C เป็น ANN.DOC
C:\REN
C:\MAYA\BOS.DOC
PEE.DOC
เปลี่ยนชื่อไฟล์ BOS.DOC ใน
ไดเร็คทอรี MAYA ให้เป็น
PEE.DOC
C:\REN A:*.*TEX
*.OLD
เปลี่ยนส่วนขยายของไฟล์ชนิด TXT
ทุกไฟล์ในไดรว์ A ให้เป็น OLD
SCANDISK
คำสั่ง SCANDISK เป็นคำสั่งตรวจสอบพื่นที่ฮาร์ดดิสก์
สามารถใช้ในการตรวบสอบปัญหาต่าง ๆ ได้ และเมื่อ
SCANDISK ตรวจพบปํญหา จะมีทางเลือกให้ 3 ทางคือ FIX
IT , Don't Fix IT และ More Info ถ้าไม่เข้าใจปัญหาที่เกิดขึ้น
ให้เลือก More Info เพื่อขอข้อมูลเพิ่มก่อนตัดสินใจต่อไป
ถ้าเลือก FIX IT จะเป็นการสั่งให้ Scandisk ทำการแก้ไข
ปัญหาที่พบ ถ้าการซ่อมแซมสำเร็จโปรแกรมจะมีรายงานที่
จอภาพให้ทราบ ส่วน Don't Fix IT คือให้ข้ามปัญหาที่พบไป
โดยไม่ต้องทำการแก้ไข
รูปแบบคำสั่ง
SCANDISK [Drive:]/AUTOFIX
/AUTOFIX ให้แก้ไขปัญหาโดยอัตโนมัติ
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
A:\>SCANDISK
C:
ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ C
A:\>SCANDISK
D:/AUTOFIX
ทำการตรวจสอบปัญหาในไดรว์ D และ
แก้ไขอัตโนมัติ
Type คำสั่งดูข้อมูลในไฟล์
Type เป็นคำสั่งที่ใช้แสดงเนื้อหาภายในไฟล์บนจอภาพ
คำสั่งนี้จะใช้ได้กับไฟล์แบบ Text ส่วนไฟล์โปรแกรมต่าง ๆ จะ
ไม่สามารถอ่านได้
รูปแบบคำสั่ง
TYPE [ชื่อไฟล์ที่ต้องการอ่าน]
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>Type
AUTOEXEC.BAT
แสดงเนื้อหาภายในไฟล์
AUTOEXEC.BAT
C:\>NORTON\TYPE
README.TXT
แสดงเนื้อหาภายในไฟล์
README.TXT ในไดเร็คทอรี
NORTON
XCOPY คำสั่งคัดลอกทั้งไดเร็คทอรีและทั้งหมดในไดเร็คทอรี
XCOPY เป็นคำสั่งที่ใช้ในการคัดลอกไฟล์ได้เหมือนคำสั่ง
COPY แต่ทำงานได้เร็วกว่า และสามารถคัดลอก ได้ทั้งไดเร็ค
ทอรีและไดเร็คทอรีย่อย
รูปแบบคำสั่ง
XCOPY [ต้นทาง] [ปลายทาง] /S /E
/E ให้คัดลอกไดเร็คทอรีย่อยทั้งหมดรวมถึงไดเร็คทอรีย่อยที่ว่าง
เปล่าด้วย
/S ให้คัดลอกไดเร็คทอรีย่อยที่ไม่ว่างเปล่าทั้งหมด
ตัวอย่างการใช้คำสั่ง
C:\>XCOPY
BACKUP F: /S /E
คัดลอกทุกไฟล์และทุกไดเร็คทอรี
ย่อย BACKUP ไปไว้ในไดรว์ F
C:\>PRINCE>XCOPY
*.VSD A:
คัดลอกทุกไฟล์ที่มีนามสกุล VSD
ในไดเร็คทอรี PRINCE ไปที่
ไดรว์ A
ข้อความแจ้งปัญหาในดอส
ในการทำงานบนดอสบางครั้งก็เกิดปัญหาได้บ่อย ๆ
เหมือนกัน ซึ่งการเกิดปัญหาแต่ละครั้งก็จะมีข้อความแจ้งให้
ทราบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นนั้น มีสาเหตุจากอะไร ต่อไปนี้เป็น
ข้อความแจ้งปัญหาที่มักพบได้บ่อย ๆ มีดังนี้
Abort, Retry, Fail ?
จะพบได้ในการณีที่ไดรว์ไม่มีแผ่นดิสก์อยุ่แล้วเรียกใช้
ข้อมูลจากไดรว์นั้น การแก้ไขก็นำแผ่นดิสก์ที่ต้องการใช้มาใส่
เข้าไป
กดปุ่ม < R > (Retry) : การทำงานจะทำต่อจากงานที่ค้างอยู่
ก่อนเกิดความผิดพลาด
กดปุ่ม < A > (Abort) : รอรับคำสั่งจะไปอยู่ในไดรว์ที่สั่งงาน
ล่าสุด
กดปุ่ม < F > (Fail) : เมื่อต้องการยกเลิกการทำงาน และ
เปลี่ยนไดรว์ใหม่
Bad Command or file name : ใช้คำสั่งผิดหรือไฟล์ที่
เรียกใช้งานนั้นไม่สามารถเรียกใช้ได้ การแก้ไข ตรวจสอบ
บรรทัดคำสั่งว่าถูกต้องหรือไม่ เช่น พิมพ์คำสั่งหรือชื่อไฟล์
ถูกต้องหรือไม่ แล้วลองรันคำสั่งดูใหม่อีกครั้ง อาจเกี่ยวข้องกับ
เวอร์ชันของดอสไม่มีคำสั่งนั้นก็ได้
File not found : ไม่สามารถหาไฟล์นั้นพบ อาจไม่มีไฟล์นั้น
หรืออาจพิมพ์ชื่อไฟล์นั้นนผิดจากที่ต้องการ นอกจากนี้อาจเกิด
จากพาธ (Path) ที่สั่งงานไม่มีไฟล์นั้น
Insufficient memory หรือ Out of memory Insufficient
memory : หน่วยความจำไม่พอต่อความต้องการของโปรแกรม
Out of memory : โปรแกรมเริ่มทำงานไปแล้วบางส่วนแล้ว
หน่วยความจำไม่พอ ระบบจึงต้องแจ้งให้ผู้ใช้ทราบ
Directory already exits : เกิดขึ้นเมื่อสร้างไดเร็คทอรีแล้วไป
ซ้ำกับซื่อที่มีอยู่แล้วในพาธเดียวกัน
Duplicate file ot file not found : ถ้าเปลี่ยนชื่อไฟล์ไปซ้ำกับ
ชื่อที่มีอยู่จะทำไม่ได้และจะแจ้งเตือนดังข้อความดังกล่าว
InSufficient Disk space : ข้อความนี้จะเกิดขึ้นเมื่อดิสก์ไม่
เพียงพอต่อการเก็บข้อมูล วิธีแก้ ลองใช้ดิสก์อื่นหรือลบไฟล์ที่ไม่
จำเป็นต้องใช้ออก
ไขปัญหาในเรื่องทั่วไปบนวินโดวส์
ติดตั้งโปรแกรมหรือไดรเวอร์ไปแล้วเข้าวินโดวส์ไม่ได้
ลงโปรแกรม Norton AntiVirus ไปแล้ว พอบูตเครื่อง
ขึ้นมาอีกทีก็เข้าวินโดวส์ไม่ได้แล้ว ปัญหาทำนองนี้พบค่อนข้าง
บ่อยมาก อาจจะเนื่องมาจากในบ้านเราผู้ใช้คอมพิวเตอร์ ส่วน
ใหญ่จะใช้โปรแกรมเถื่อนที่มีขายอยู่ทั่วไปตามห้างไอที ทำให้
บางครั้งในขั้นตอนการผลิตซีดีไม่ได้มาตรฐานไฟล์บางตัวเลย
ก๊อปปี้มาไม่ครบ โดยเฉพาะอย่างยิ่งแผ่นซีดีโปรแกรมที่เป็น
แผ่น รวมหลายสิบโปรแกรมนั้น ค่อนข้างจะมีปัญหาเยอะมาก
เมื่อผู้ใช้ซื้อไปติดตั้งจึงมีปัญหาตามมาหรือบางโปรแกรม เช่น
Norton AntiVirus ชอบที่จะเข้าไปขอใช้ไฟล์ระบบที่มี
นามสกุล DLL เมื่อมีการติดตั้งไม่สมบูรณ์เลยทำให้ ไม่
สามารถเข้าวินโดวส์ได้
อีกสาเหตุหนึ่งก็เนื่องมาจากการลงไดรเวอร์นั่นเอง ไดรเวอร์
บางตัวก็มักมีปัญหากับระบบปฏิบัติการและชอบเข้าไปยุ่งกับ
ไฟล์ ระบบทำให้วินโดวส์พังก็มีให้เห็นมาแล้ว สำหรับแนวทาง
ในการแก้ปัญหาของ ช่างคอมพิวเตอร์นั้น ให้สอบถาม
พฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้เสียก่อน หากพบว่าได้มีการ
ติดตั้งโปรแกรม หรือไดรเวอร์ลงไปหลังจากนั้นก็ทำให้บูตเข้า
วินโดวส์ไม่ได้อีกเลย ให้เราสันนิษฐานไว้ก่อนว่าอาจเกิดจาก
สาเหตุการลงโปรแกรมและไดรเวอร์ไม่สมบูรณ์จนอาจทำให้
ระบบไม่สามารถบูตได้ โดยเราสามารถแก้ปัญหาได้ดังนี้
ให้บูตเครื่องเข้าสู่ Safe Mode เพราะการเข้าสู่ Safe
Mode จะเป็นการเข้าสู่วินโดวส์โดยที่ไม่ จำเป็นต้องใช้ไดร
เวอร์หรือไฟล์บางตัว จากนั้นให้เราเข้าไปลบโปรแกรมหรือ
ไดรเวอร์ที่ทำให้เกิดปัญหาออกไปจากเครื่องให้หมดเกลี้ยงอย่า
ให้เหลือซาก จากนั้นจึงบูตเครื่องเข้าสู่วินโดวส์ได้ตามปกติ
เครื่องบูตขึ้นแต่ไม่สามารถเข้าวินโดวส์ได้
กรณีที่เครื่องคอมพิวเตอร์ได้ผ่านขั้นตอนการ POST แล้ว
แต่กลับมาค้างที่หน้าจอแสดงโลโก้วินโดวส์ทำให้ไม่สามารถ
บูตเข้าวินโดวส์ได้เลย บางครั้งก็ยังไม่แสดงโลโก้ของวินโดวส์
แต่กลับมีข้อความแจ้งขึ้นมาว่า “Missing Operation
System”
สำหรับแนวทางการแก้ไขปัญหาของช่างคอมพิวเตอร์ก็คือ
ให้สอบถามพฤติกรรมการใช้งานของผู้ใช้ก่อน ว่าได้มีการลบ
ไฟล์ระบบบางตัวออกไปหรือเปล่า ส่วนใหญ่ปัญหานี้มันเกิด
จากไฟล์ระบบ COMMAND.COM เสียหายหรือถูกลบทิ้งไป
เนื่องจากว่าไฟล์ COMMAND.COM เป็นไฟล์ที่มีหน้าที่เก็บ
คำสั่งภายในของระบบดอสเอาไว้ เช่น TYPE, COPY, DIR,
DEL นอกจากนี้ก็ยังทำหน้าที่ ติดต่อและแปลคำสั่งของผู้ใช้
ผ่านคีย์บอร์ด และนำคำสั่งนั้นไปปฏิบัติงาน ซึ่งนับว่าไฟล์
COMMAND.COM นั้นมีความสำคัญต่อระบบปฏิบัติการที่
ยังต้องอิงกับระบบดอสอยู่มาก
วิธีแก้ไขก็คือ ให้บูตเครื่องด้วยแผ่น Startup Disk จากนั้น
พิมพ์คำสั่ง SYS C: ซึ่งเป็นคำสั่ง ก๊อปปี้ไฟล์ระบบลงไปใน
ไดรฟ์ C: โดยที่ไฟล์ระบบนั้นจะมีไฟล์ COMMAND.COM
รวมอยู่ด้วย จากนั้นให้บูตเครื่องขึ้นมาอีกครั้งคราวนี้จะพบว่า
สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้แล้ว
ข้อความผิดพลาดที่ 1 : This program has
performed anillegal operation and will be shut
down. If the problem persists, contact the program
vendor
ข้อความนี้แจ้งว่าโปรแกรมบางตัวมีปัญหาเราคงต้องมานั่ง
ไล่กันว่าโปรแกรมที่ติดตั้งครั้งหลังสุดคือโปรแกรมอะไร แล้ว
ลองลบออกไปโดยการ Add / Remove Program ใน
Control Panel หลังจากนั้น จึงติดตั้งใหม่ โดยแนะนำว่า
เปลี่ยนแผ่นโปรแกรมที่ใช้ติดตั้งเสียใหม่ เพราะหากใช้แผ่น
เก่าอาจเป็นเหมือนเดิมอีก หรือบางครั้งเกิดจากไฟล์โปรแกรม
ที่ติดตั้งครั้งหลังสุดมีปัญหากับไฟล์โปรแกรมที่ติดตั้งมาก่อน
หน้านี้ เมื่อติดตั้งใหม่จึงอาจมีอาการเหมือนเดิมควรแก้ไขโดย
การอัพเดทเป็นโปรแกรมเวอร์ชั่นใหม่
ข้อความผิดพลาดที่ 2 : Improper shut down
detected, Checking disk for errore
ข้อความนี้แจ้งว่าพบปัญหาผิดพลาดในขั้นตอนการชัต
ดาวน์ อาจเกิดจากการผู้ใช้ปิดเครื่องไม่ถูกวิธี ทำให้ระบบชัต
ดาวน์มีปัญหา วิธีแก้ไขคือให้รอสักพักแล้วค่อยกดปุ่ม Esc
ระบบก็จะกลับเป็นปกติ ดังนั้นหาก ไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์
เช่นนี้อีก คราวหลังก็ควรปิดคอมพิวเตอร์ให้ถูกวิธีด้วยการชัต
ดาวน์เครื่องก่อนเสมอ
ข้อความผิดพลาดที่ 3 : Warning Windows has
detected a Registry / configuration error. Choose
Safe mode to start Windows with minimal set of
drivers
ข้อความนี้แจ้งว่าพบปัญหาผิดพลาดในรีจิสทรีของวินโดวส์
โดยวินโดวส์จะแนะนำให้เราเข้าไปใน Safe mode เพื่อ
แก้ปัญหา สำหรับการแก้ปัญหาข้อความนี้ค่อนข้างเป็นเรื่อง
หนักหนาและเสี่ยงมากทีเดียว เนื่องจากว่ารีจิสทรีเป็น
ฐานข้อมูลสำคัญที่เก็บรายละเอียดและค่าต่าง ๆ ของวินโดวส์
ไว้ หากมีปัญหาในส่วนนี้ ต้องอาศัยการแก้ไขอย่างรอบคอบ
ไม่อย่างนั้นอาจทำให้ระบบพังได้ แนะนำว่าให้แก้ปัญหาโดย
การติดตั้งวินโดวส์ใหม่ทับลงไปเพื่อให้รีจิสทรีใหม่ทับรีจิสทรี
เก่า หรือให้บูตเครื่องด้วยแผ่นบูตแล้วพิมพ์คำสั่ง Scanreg /
restore เพื่อเป็นการย้อนกลับไปใช้รีจิสทรีที่วินโดวส์ได้
แบ็คอัพเก็บไว้ 5 วันหลังสุด ก็ให้เราเลือกวันที่คิดว่ายังไม่เกิด
ปัญหา เพียงเท่านี้ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้ครบ ( วิธีหลังนี้
อย่าลืมแบ็คอัพข้อมูลสำคัญๆ ไว้เสียก่อนละ )
ข้อความผิดพพลาดที่ 4 : Explorer has caused an
error in Kermel132.dll
ข้อความนี้แจ้งว่าระบบมีความผิดพลาดในไฟล์
Kernel132.dll ทำให้ผู้ใช้อาจไม่สามารถเข้าไปใน Control
panel ได้ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นบนวินโดวส์ Me วิธีแก้ปัญหาคือ
ให้บูตเครื่องใหม่แล้วเข้าไปที่
Safe Mode แล้วทำตามขั้นตอนดังนี้
1. ให้ค้นหาไฟล์ที่มีนามสกุล *.cpl โดยเข้าไปค้นหาที่
โปรแกรม Search, For Files Or Folders
2. เมื่อพบไฟล์ .cpl แล้ว ซึ่งอยู่ที่ WINDOWS\SYSTEM
ให้เปลี่ยนนามสกุลเป็น .Old ทีละไฟล์ แล้วลองเข้าไปทดสอบดู
ว่าเข้า Control panel ได้หรือยังถ้า ยังไม่ได้ให้กลับไป
เปลี่ยนเป็นไฟล์ตัวอื่น จนกว่าจะสำเร็จ เมื่อสำเร็จแล้วเราก็จะ
สามารถรู้ได้ว่าไฟล์ตัวไหนที่เป็นต้นเหตุให้เกิดปัญหา
3. ให้กลับไปเปลี่ยนนามสกุลไฟล์ทุกไฟล์ให้กลับเป็น
เหมือนเดิม ยกเว้นไฟล์ที่เป็นต้นเหตุ จากนั้นบูตเครื่องขึ้นใหม่
ข้อความผิดพลาดที่ 5 : The selected disk drive is
not in use. Check to make sure a disk is inserted.
ข้อความนี้แจ้งว่าดิสก์ไดรฟ์ไม่สามารถใช้งานได้ โปรด
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าได้มีการใส่แผ่นดิสก์ลงไปในช่องดิสก์
ไดรฟ์แล้ว สำหรับปัญหานี้อาจเกิดจากผู้ใช้ลืมใส่แผ่นดิสก์ลง
ไปในช่องดิสก์ไดรฟ์ แต่หากได้มี การใส่แผ่นลงไปแล้วปัญหา
นี้อาจเกิดจากแผ่นดิสก์เสียหรือดิสก์ไดรฟ์มีปัญหา ไม่สามารถ
ใช้งานได้ให้เราทดสอบแผ่นดิสก์โดยนำไปใช้กับเครื่องอื่นหาก
สามารถใช้ได้ นั่นแสดงว่าเป็นที่ดิสก์ไดรฟ์ต้องถอดมาซ่อม
หรือเปลี่ยนเป็นตัวใหม่ก็จะสามารถแก้ปัญหานี้ได้
ข้อความผิดพลาดที่ 6 : There is not enough free
memory to run this program. Quit one or more
programs, and try again.
ข้อความนี้แจ้งว่าหน่วยความจำที่เหลืออยู่ในระบบไม่
เพียงพอในการเปิดโปรแกรม ให้แกจากโปรแกรมแล้วลองเปิด
ใหม่อีกครั้ง สำหรับสาเหตุของปัญหานั่นคือหน่วยความจำหรือ
แรมของเครื่องไม่พอนั่นเอง วิธีแก้ปัญหาแบบถาวร ( แต่ต้อง
เสียเงิน ) ก็คือ ให้ผู้ใช้ซื้อแรมมาติดตั้งเพิ่ม หรือวิธีแก้แบบ
ชั่วคราวก็คือ ในขณะใช้งานแนะนำให้ผู้ใช้ปิดโปรแกรมที่ไม่
จำเป็นลงไปบ้าง โดยเฉพาะโปรแกรมที่ทำงานอยู่เบื้องหลังโดย
ที่เราไม่ได้เปิดขึ้นมาใช้งาน ให้สังเกตจากบริเวณ System
Tray จะมีไอคอนของโปรแกรมนั้นๆ อยู่ ให้จัดการปิดให้หมด
หรือโปรแกรมประเภทที่ชอบกินแรม ( Resource Leak )
ซึ่งโปรแกรมพวกนี้แม้ว่าจะปิดโปรแกรมไปแล้วก็ยังไม่ยอม
คืนหน่วยความจำกัลบมาสู่ระบบ ซึ่งเราสามารถเข้าไป
ตรวจสอบได้ว่าระบบของเราเหลือ รีซอร์สเท่าไหร่โดยคลิกขวา
ที่ My Computer จากนั้นคลิกแท็ป Performance ดูที่
System Resource ว่าเหลือรีซอร์สกี่เปอร์เซ็นต์ หากต่ำกว่า
ครึ่งก็ให้ปิดโปรแกรมแล้วบูตเครื่องขึ้นมาใหม่โปรแกรม
เหล่านั้นก็จะคืนแรมกลับมาเหมือนเดิม
ข้อความผิดพลาดที่ 7 : Error Reading CD-ROM in
Drive D: ( หรือไดรฟ์ที่เป็นซีดีรอม ) Please insert CDROM
XX With Serial Number XX in Drive d: … if the
CD-ROM is still the drive, it may require cleaning
ข้อความผิดพลาดนี้จะแจ้งขึ้นมาว่าเกิดความผิดพลาดจาก
การอ่านแผ่นซีดีในไดรฟ์ D: ( หรือไดรฟ์ที่เป็นซีดีรอม ) ซึ่ง
สาเหตุมาจากที่ผู้ใช้กดปุ่ม Eject เพื่อนำแผ่นซีดีรอมออกมา
ก่อนที่วินโดวส์ จะอ่านข้อมูลเสร็จ วิธีแก้ไขก็คือ ให้นำแผ่นใส่
กลับไปเหมือนเดิมรอจนกว่าวินโดวส์จะอ่านข้อมูลจากแผ่น
เสร็จแล้วจึงค่อยนำออกมา โดยให้สังเกตจากหลอดไฟที่ตัว
ไดรฟ์ซีดีรอม ควรรอให้ไฟหยุดกระพริบเสียก่อน บางครั้ง
สาเหตุนี้ก็อาจเกิดจากการที่ผู้ใช้นำแผ่นซีดีที่ใช้งานไม่ได้แล้ว
ใส่ลงไป หรือไม่ก็แผ่นซีดีสกปรกจนไดรฟ์ซีดี ไม่สามารถอ่าน
ข้อมูลได้ ควรนำออกมาทำความสะอาดให้เรียบร้อยก่อนใส่
กลับไปอีกครั้งหนึ่ง
ข้อความผิดพลาดที่ 8 : -0x0000007B
INACCESSIBLE_BOOT_DEVICE
ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งเป็นโค้ด error โดยใช้เลขฐานเป็น
ตัวแสดงความผิดพลาด ซึ่งหมายความว่าเครื่องคอมพิวเตอร์
ไม่พบพาร์ทิชั่นที่กำหนด ให้เป็นตัวบูตระบบพาร์ทิชั่นที่
กำหนดหรือบูตเซ็กเตอร์เกิดมีปัญหา ให้เราแก้ปัญหาโดยลองบู
ตระบบขึ้นมาอีกครั้ง หากยังคงไม่ได้ให้นำแผ่น Startup บู
ตระบบขึ้นมาแทนแล้วใช้คำสั่ง Scandisk เพื่อซ่อมแซม
ข้อความผิดพลาดที่9 : Data Error Reading Drive C:
หรือบางครั้งอาจแจ้งว่า Error Reading Drive C: และ
Serious Disk Error Writing Drive C:
ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งว่าข้อมูลในฮาร์ดดิสก์หรือไดรฟ์ C:
เกิดความเสียหาย หรือไม่ก็แจ้งว่าไม่สามารถเขียนข้อมูลลงใน
ฮาร์ดดิสก์หรือไดรฟ์ C: ได้เลย ปัญหานี้นับว่าเป็นอันตรายต่อ
ข้อมูลและตัวฮาร์ดดิสก์เองมากที่สุด เพราะเป็นไปได้ว่า
ฮาร์ดดิสก์ของเราอาจเสียหายได้ วิธีแก้ไขที่ดีที่สุดคือใช้คำสั่ง
Scandisk เพื่อทำการตรวจสอบและซ่อมแซมในส่วนที่เสียหาย
( Automatically Fix Error ) โดยให้เลือกออปชั่นทุกตัวที่
สามารถแก้ไขได้ หากโชคดีฮาร์ดดิสก์ไม่เสียหายมากนัก
โปรแกรมก็อาจซ่อมแซมได้ แต่ถ้าไม่สามารถ แก้ไขได้คงต้อง
ใช้วิธีสุดท้ายนั่นคือ ฟอร์แมตฮาร์ดดิสก์ และทำการ Fdisk เพื่อ
แบ่งพาร์ทิชั่น กันส่วนที่เสียหายหรือเกิดแบดเซ็กเตอร์นั้นทิ้งไป
ก็จะสามารถใช้งานต่อไปได้สักระยะหนึ่ง แต่หากต้องการ
แก้ปัญหาถาวรควร รีบจัดการเปลี่ยนฮาร์ดดิสก์โดยเร็ว เพราะ
เป็นไปได้ว่าแบดเซ็กเตอร์อาจลุกลามไปทำลายข้อมูลสำคัญใน
ฮาร์ดดิสก์ได้ ซึ่งไม่คุ้มกันเลย
ข้อความผิดพลาดที่ 10 : -0x0000007F
UNEXPECED_KERNEL_MODE_TRAP
ข้อความผิดพลาดนี้จะแจ้งเป็นโค้ด error โดยใช้เลขฐานเป็น
ตัวแสดงความผิดพลาด ซึ่งมีความหมายว่าอาจเกิดปัญหาการ
ทำงานของหน่วยความจำผิดพลาด ให้ตรวจสอบการติดตั้งว่า
เสียบแรมลงบนซ็อกเก็ตแรมแน่นดีแล้วหรือไม่และ
หน่วยความจำที่ใช้เป็นชนิดเดียวกันหรือไม่ ในเมนบอร์ดบางรุ่น
จะมีทั้งซ็อกเก็ตแรมที่ ใชก้ ับ SDRAM และ DDR SDRAM
หากผู้ใช้ติดตั้งแรมทั้ง 2 ชนิดในเมนบอร์ดตัวเดียวกันอาจทำให้
เกิดปัญหานี้ได้ วิธีแก้ไข ให้ใช้แรมชนิดเดียวกันไม่ควรติดตั้ง
แรม 2 ชนิดบนเมนบอร์ดตัวเดียวกัน อีกสาเหตุหนึ่งอาจมาจาก
การกำหนดค่าในไบออสไม่ถูกต้อง ให้กลับไปกำหนดเป็นค่าเดิม
หรือเป็นไปได้ว่าแรมเสียซึ่งมี ทางเดียวคือต้องเปลี่ยนแรมใหม่
ข้อความผิดพลาดที่ 11 : - Not enough memory to
render page
ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งว่าหน่วยความจำในการจัดการหน้า
เอกสารที่สั่งพิมพ์ไม่เพียงพอ ซึ่งปัญหานี้เกิดจากการที่ผู้ใช้สั่ง
พิมพ์งานมากเกินไปทำให้หน่วยความจำของเครื่องพิมพ์นั้นมีไม่
เพียงพอ บางครั้งอาจทำให้ระบบเกิดการแฮ็งค์หรือหยุดทำงาน
ไปเฉยๆ ทางแก้ไขปัญหาต้องสั่งพิมพ์ใหม่โดยการแบ่งงานไป
พิมพ์ทีละน้อยๆ และอีกสาเหตุหนึ่งอาจมาจากไดรเวอร์ทำงาน
ผิดพลาดอาจต้องไป ดาวน์โหลดไดรเวอร์เวอร์ชั่นใหม่ตาม
เว็บไซต์ของผู้ผลิตเครื่องพิมพ์นั้น
ข้อความผิดพลาดที่ 12 : Afilename cannot contain
any of the following characters: \ / : * ? < > !
ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งว่า การตั้งชื่อหรือการเปลี่ยนชื่อไฟล์
ไม่สามารถตามด้วยอักขระเหล่านี้ได \ / : * ? < > ! แต่บางครั้ง
แม้จะมีข้อความเตือนแล้ว แต่ก็ยังยอมให้ผู้ใช้สามารถตั้งชื่อแล้ว
ตามด้วยอักขระเหล่านี้ด้วยเช่นกัน แต่อาจทำให้ระบบมีปัญหา
ภายหลังตามมา แนะนำว่าให้ควรไปเปลี่ยนชื่อไฟล์เสียใหม่
หรือไม่ต้องตั้งชื่อไฟล์ด้วยอักขระเหล่านี้
ข้อความผิดพลาดที่ 13 : ERROR LOADING CS หรือ
NO ROM BASIC SYSTEM HALTED
ข้อความผิดพลาดนี้แจ้งว่า มีการผิดพลาดในขั้นตอนของ
การบูตระบบ หรือมีการผิดพลาดจาก การทำงานของ
หน่วยความจำพื้นฐาน ซึ่งหมายความว่าไบออสไม่สามารถบูต
เครื่องขึ้นมาได้เนื่องจากไม่มีไฟล์ระบบ ซึ่งอาจเป็นเพราะการ
กำหนดค่าในไบออสไม่ถูกต้อง หรือในโปรแกรม FDISK
กำหนดไดร์ฟเพื่อให้เป็นตัวบูต (Active) ผิด ทำให้ไม่สามารถ
บูตเครื่องขึ้นมาได้
เครื่องหมายคำถามสีเหลืองตรง device manager
คือผมอยากทราบว่าตรง device manager ในส่วนของ
System นั้นมีเครื่องหมายคำถามสีเหลืองปรากฎอยู่ แสดงว่า
อุปกรณ์ชิ้นนั้นเป็นอะไรครับ
หลายคนคงสงสัยว่าในส่วน device manager นั้นมีไว้ทำ
อะไร ในส่วนของ device manager ก็มีไว้เพื่อแสดง
รายละเอียดของอุปกรณ์ของเครื่องคอมพิวเตอร์ของเราว่ามี
อุปกรณ์อะไรบ้าง และยังเป็นส่วนที่ใช้ในการลงไดรเวอร์ของ
อุปกรณ์ต่าง ๆ รวม ไปถึงเป็นส่วนที่ใช้ในการแก้ปัญหาการ
ขัดแย้งของอุปกรณ์ต่าง ๆ ภายในเครื่อง
ส่วนที่ถามว่ามีเครื่องหมายคำถามสีเหลืองปรากฎอยู่ที่หน้า
อุปกรณ์ แสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นยังไม่ได้ลงไดรเวอร์ ก็ให้ทำการ
ลงไดรเวอร์ให้กับอุปกรณ์ชิ้นนั้นเสียก่อน เมื่อทำการลง ไดรเวอร์
อุปกรณ์เสร็จแล้วเจ้าไอคอนรูปสีเหลืองก็จะหายไปเอง
นอกจากนั้นคุณอาจพบกับเครื่องหมายตกใจสีเหลืองด้วย นั่น
แสดงว่าอุปกรณ์ชิ้นนั้นเคยมีการติดตั้ง ไดรเวอร์ลงไปแล้ว จะ
เป็นการเตือนว่าคุณได้ใช้ไดรเวอร์ที่ไม่ตรง กับอุปกรณ์ที่มีอยู่ให้
รีบทำการหาไดรเวอร์ของอุปกรณ์ชิ้นนั้นมาทำการติดตั้งเสีย
เพราะว่าถ้าไม่ทำการแก้ไขก็จะไม่สามารถใช้งานความสามารถ
ของอุปกรณ์ชิ้นนั้นได้
คอมพิวเตอร์ไม่ทำงานเมื่อคุณสั่งชัตดาวน์
ทำไมคอมพิวเตอร์ของผมจึงหยุดการตอบสนองเอาดื้อ ๆ ทุกครั้ง
ที่ผมทำการปิดระบบวินโดวส์ 98 จะมีวิธีการแก้ไขอย่างไร
ปัญหานี้มีพบเห็นได้บ่อยครั้งจากผู้ใช้หลาย ๆ คน ซึ่งส่วนใหญ่
มักตีความเป็นว่าวินโดวส์เสีย สุดท้ายก็ทำการลบวินโดวส์แล้วลง
ใหม่ แต่ความจริงแล้วสาเหตุที่ทำให้เครื่องหยุดการตอบสนอง
เมื่อใช้คำสั่งชัตดาวน์นั้นมากจากหลายสาเหตุ ซึ่งสามารถ
ตรวจสอบว่าเกิดจากสาเหตุอะไรได้ดังนี้
ตรวจสอบว่าแฟ้มเสียง Exit Windows เสียหายหรือไม่
ถ้าหากว่ามีการตั้งเสียงให้กับวินโดวส์ในส่วนของ Sounds แล้ว
ไฟล์เสียงในส่วนของการออกจากวินโดวส์ (Exit Windows)
นั้นเสีย ก็จะทำให้มีปัญหาในการชัตดาวน์ขึ้นมาทันที ซึ่งขั้นตอน
การตรวจสอบและทางแก้ไขปัญหาก็มีดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start แล้วเลือกไปที่ Settings>Control Panel
จากนั้นดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน Sounds and …
ที่แท็บ Sound ในส่วนของ Sound Events ให้คลิกที่ตัวเลือก
Exit Windows
จากนั้นกำหนดค่าในส่วนของ Name ให้เป็น (None) แล้วคลิก
ปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า
แล้วทำการทดสอบปิดระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งถ้าหากว่าวินโดวส์
98 ปิดระบบได้อย่างถูกต้อง ปัญหา เกิดจากแฟ้มเสียหาย ให้
เลือกหนึ่งในปฏิบัติการต่อไปนี้เพื่อแก้ไขปัญหา
- ทำการก็อปปี้แฟ้มเสียงจากเครื่องอื่นมาใส่
- ติดตั้งโปรแกรมที่มีแฟ้มเสียงนั้นใหม่อีกครั้ง
- กำหนดค่าให้เป็น (None) เพื่อไม่ให้มีการเล่นแฟ้มเสียง Exit
Windows ต่อไป
ตรวจสอบความสามารถการปิดระบบอย่างรวดเร็ว (Fast
shutdown)
การปิดระบบอย่างรวดเร็วเป็นคุณลักษณะใหม่ที่รวมอยู่ใน
วินโดวส์ 98 เพื่อช่วยลดเวลาที่ใช้ในการปิดระบบคอมพิวเตอร์
อย่างไรก็ตามคุณลักษณะนี้เข้ากันไม่ได้กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
บางอย่าง และสามารถทำให้คอมพิวเตอร์ของคุณหยุดการ
ตอบสนองถ้ามีการติดตั้งอุปกรณ์เหล่านี้ ซึ่งหากว่าเครื่องของคุณ
เกิดปัญหาก็ให้ลองปิดคุณสมบัติดูดังนี้
1. คลิกปุ่ม Start จากนั้นเลือกไปที่คำสั่ง Run แล้วพิมพ์คำว่า
Msconfig ในส่วนของ Open จากนั้นคลิกปุ่ม OK
ในส่วนของแท็บ General ให้คลิกปุ่ม Advanced คลิก
เครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก Disable fast shutdown จากนั้น
คลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า แล้วคลิกปุ่ม Ok อีกครั้ง
รอสักครู่วินโดวส์จะแสดงข้อความให้บู๊ตเครื่องใหม่ ก็ให้คลิก
ปุ่มเพื่อทำการบู๊ตเครื่องใหม่ได้ทันที เมื่อเข้าสู่วินโดวส์อีกครั้ง ก็
ให้ลองปิดระบบคอมพิวเตอร์ถ้าคอมพิวเตอร์ปิดระบบอย่าง
ถูกต้อง คุณลักษณะการปิดระบบอย่างรวดเร็วอาจเข้ากันไม่ได้
กับอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์อย่างน้อยหนึ่ง อย่างที่ติดตั้งอยู่ใน
คอมพิวเตอร์ของคุณ คราวนี้ก็ไม่จำเป็นต้องทำตามขั้นตอนใด ๆ
เพิ่มเติมแล้ว
ซัตดาวน์แล้วปรากฎข้อความ “Window protect error”
ทำไมเวลาที่ทำการชัตดาวน์เครื่องคอม จะขึ้นข้อความว่า
“Windows protection error system hault” แล้วก็จะให้รี
สตาร์เครื่องใหม่ทุกที ไม่ทราบว่าจะแก้ไขอย่างไรดี
ปัญหานี้มักจะเกิดจาการไดรเวอร์ของอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์
ประเภทการ์ดจอ และเมนบอร์ดเสียเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งการแก้ไข
ทั่ว ๆ ไปก็ให้เข้าไปดาวน์โหลด ไดรเวอร์ตัวใหม่จากเว็บไซต์
ของผู้ผลิต มาแทนไดรเวอร์ตัวเก่า ส่วนคนที่ใช้การ์ดจอของ
Nvidia และใช้ไดรเวอร์ Deternator 3 (6.xx) ก็จะเกิดปัญหา
นี้ด้วย เพราะว่า Detemator 3 (6.xx) จะไม่ทำการเคลียร์แรม
เมื่อเลิกใช้งาน พอทำการชัตดาวน์วินโดวส์มันจะจัดการกับแรมที่
ค้างไม่ได้ จึงขึ้นข้อความว่า “Protection Error” ทางแก้ไขนั้น
ทำการดาวโหลดไดรเวอร์การ์ดจอของ Nvidia เวอร์ชั่น 7.xx
มาใช้งาน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์Nvidia แต่ไดร
เวอร์ตัวนี้ก็ยังมีปัญหาในการเล่น Mode 3D วิธีแก้ก็ให้คุณทำ
การรีสตาร์ทใหม่ 1 ครั้ง แล้วค่อยชัตดาวน์ครับ
บูตเข้าวินโดวส์ไม่ได้เพราะรีจิสทรีพัง
มีสาเหตุหลายอย่างที่ทำให้ไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้แต่
มีอย ู่ส าเหตุหนึ่งที่ค่อนข้างร้ายแรงและแก้ไขได้ยากคือสาเหตุที่
เกิดจากรีจิสทรีพัง รีจิสทรีคืออะไรสำคัญขนาดไหนช่าง
คอมพิวเตอร์มือใหม่ควรต้องรู้จักและเรียนรู่ไว้ เพราะรีจิสทรีมี
ความสำคัญต่อระบบปฏิบัติการวินโดวส์มาก แต่ส่วนใหญ่ผู้ใช้มัก
ไม่ค่อยได้เข้าไปยุง่ เกี่ยวกับมัน จึงอาจไม่ทราบว่ารีจิสทรีมี
ความสำคัญมากทีเดียว โดยรีจิสทรีของวินโดวส์จะทำหน้าที่เป็น
ฐาน ข้อมูลสำหรับวินโดวส์ที่ใช้ในการจัดเก็บข้อมูลสำหรับ
โปรแกรมขนาด 32 บิต รวมถึงข้อมูลที่เกี่ยวกับฮาร์ดแวร์
ซอฟต์แวร์ การกำหนดค่าต่างๆ และการทำงานของผู้ใช้ ดังนั้น
หากรีจิสทรีเกิดไม่สามารถทำงานได้หรือล่ม ขึ้นมา จะทำให้
ระบบปฏิบัติการวินโดวส์ทั้งระบบไม่สามารถใช้งานได้ด้วย
เช่นกัน
นี่เองจึงเป็นสาเหตุให้ผู้สร้างไวรัสทั้งหลาย เขียนไวรัสขึ้นมาโดย
มีเป้าหมายในการโจมตีรีจิสทรี โดยตรง นอกจากสาเหตุไวรัสเข้า
ทำลายรีจิสทรีแล้ว การติดตั้งโปรแกรมต่างๆที่มีปัญหากับรีจิสทรี
หรือไฟล์ รีจิสทรีถูกลบทิ้งไปก็ทำให้เกิดปัญหากับรีจิสทรีและ
ระบบวินโดวส์ได้ มีผู้ใช้หลายคนเข้าใจผิดคิดว่าฮาร์ดดิสก์พัง
เนื่องจากไม่สามารถบูตเข้าวินโดวส์ได้แต่ความจริงแล้วหลาย
สาเหตุมักเกิดมาจากเจ้ารีจิสทรีนั่นเอง
เผลอใช้คำสั่ง Empty Recycle Bin ทำอย่างไรจะกู้ไฟล์คืน
มาได้
พอดีผมเผลอไปลบไฟล์ภายในเครื่องเข้า แล้วลืมไปใช้คำสั่ง ๆ
Empty Recycle Bin ทำให้ไฟล์ใน ถังขยะหายไปหมด จะมีวิธี
ใดบ้างที่ผมจะสามารถกู้ไฟล์นั้นคืนมา เพราะเคยทราบว่ามีวีธี
การทำได้แม้ลบจาก Recycle Bin แล้วก็ตาม
บ้างครั้งเราอาจลืมลบไฟล์สำคัญ ๆ ไป แต่ด้วยความที่คิดว่า
มันยังอยู่ในถึงขยะจึงยังไม่ทำการกู้ข้อมูลคืนมา เวลาผ่านไปเนิ่น
นามดันลืมก็เลยไปเผลอใช้คำสั่ง Empty Recycle Bin คราวนี้
หลาย ๆ คนไมเกรนคงถามหาเป็นแน่ ฉะนั้นหากว่าจะลบไฟล์
อะไรอย่าลืมคิดสักนิด ดูให้ดีก่อนว่าจะยังคงใช้ไฟล์นั้นหรือไม่
เมื่อตรวจสอบเรียบร้อยแล้วจึงลบไฟล์นั้นทิ้งไป
จากปัญหาในข้อนี้ทางแก้ไขของปัญหานั้น ก็ให้ลองหา
โปรแกรมที่ชื่อ Lost and Found หรือ recover4all มาใช้ดู
(หาได้จากเว็บไซต์; Download.com) แต่จะกู้ได้ 100% หรือ
เปล่านั้นผมไม่รับรองนะครับ แต่ผลการทดลองใช้งานดูก็พบว่า
มันสามารถทำการกู้ข้อมูลกลับมาได้พอสมควร แต่กระนั้น
โปรแกรมนี้จะใช้ได้ผลก็ต่อเมื่อไฟล์นั้น ๆ เพิ่งถูกลบทิ้งไป แต่ถ้า
ลบทิ้งไป นานแล้วอาจจะไม่ได้คืนมาทั้งหมดหรืออาจไม่สามารถ
กู้ข้อมูลได้เลย ฉะนั้นหากเกิดปัญหาลักษณะนี้ต้องรีบกู้ข้อมูล
โดยเร็ว โดยขึ้นตอนในการกู้จะใช้เวลานานพอสมควรฉะนั้นอย่า
ใจร้อน…….รอหน่อย
ลบรายชื่อไฟล์ในส่วน Document ได้อย่างไร
ผู้ใช้หลายคนคิดว่าไฟล์ที่อยู่ในรายการ Document ที่ส่วน
ของเมนู Start นั้น ลบไม่ได้ แต่แท้ที่จริงแล้วเราสามารถลบ
รายชื่อเหล่านั้นออกไปจากรายการ Document ได้อย่างง่ายดาย
ซึ่งขึ้นตอนการลบไฟล์ในรายการดังนี้ คลิกปุ่ม Start แล้วเลือก
ไปที่ Settings>Taskbar and Start Menu
คลิกที่แท็บ Advanced (ถ้าเป็นวินโดวส์ 98 ก็คลิกที่แท็บ Start
Menu Program)
คลิกปุ่ม Clear เพียงเท่านั้นไฟล์ที่อยู่ในรายการ Document ก็
จะถูกลบทั้งหมด คราวนี้ไปทำอะไรไว้ก็ไม่ต้องกลัวคนอื่นจะมา
เห็นแล้ว
ขั้นตอนการลบไฟล์ขยะโดยอัตโนมัติ
คือผมใช้วินโดวส์ 98 อยู่ตอนนี้ ผมต้องการทราบว่าทำ
อย่างไรจึงจะสามารถลบไฟล์ชั่วคราวที่สิงสถิตอยู่ในไดเร็คทอรี
C:\Windows\Temp ได้โดยอัตโนมัติ เพราะมีความรู้สึกว่ามัน
กินเนื้อที่ฮาร์ดดิสก์อย่างมาก จะมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
วิธีการที่ดีที่สุดคือ การเพิ่มบรรทัด del
C:\Windows\Temp\*.tmp>nul ลงไปในไฟล์
Autoexec.bat เพื่อให้ดอสลบไฟล์ชั่วคราวเหล่านี้ทุกครั้งที่เปิด
เครื่อง โดยมีขั้นตอนดังนี้
ดับเบิ้ลคลิกที่ไอคอน My Computer
ดับเบิ้ลคลิกที่ไดรว์ C:
คลิกขวาที่ไฟล์ Autoexec. Bat แล้วเลือก คำสั่ง Edit
พิมพ์คำว่า del C:\Windows\Temp\*.tmp>nul เพิ่มลงไปใน
บรรทัดใหม่
คลิกเมนูคำสั่ง File>Save เพื่อทำการบันทึกค่า เพียงเท่านั้น
เวลาบู๊ตเครื่องเข้าสู่วินโดวส์ไฟล์ขยะก็จะถูกลบออกไปทุกครั้ง
แบบอัตโนมัติ
ลบไฟล์หมดแล้ว แต่ยังปรากฎรายชื่อโปรแกรมใน
ไดอะล็อก Add/Remove Programs
ปัญหาหนึ่งที่อาจพบได้ภายหลังกระบวนการ uninstall นั่น
คือ รายชื่อโปรแกรมที่เพิ่งลบทิ้งไปยังคงปรากฎอยู่ในไดอะล็อก
Add/Remove Programs ทางแก้ก็คือการเข้าไปลบคีย์ในรี
จีสทรีโดยเรียกโปรแกรม Registry Editor ขึ้นมาโดยการคลิก
ปุ่ม Start แล้วเลือกคำสั่ง Run..จากนั้นพิมพ์คำว่า regedit ลง
ไปในช่อง open จากนั้นคลิกปุ่ม OK หน้าต่าง Registry
Editor ก็จะปรากฎขึ้นมาทันที
จากนั้นเปิดคีย์
HKEY_LOCAL_MACHINE\SOFTWARE\Microsoft\W
indows\CurrentVersion\ Uninstall แล้วทำการลบซับคีย์
ของโปรแกรมที่มีปัญหาทั้งไป เพียงเท่านี้รายชื่อโปรแกรมที่ค้าง
อยู่ก็จะถูกลบออกไป
ช่วยด้วย…..โฟลเดอร์และโปรแกรมหายไปไหนหมด
ทำไมโฟล์เดอร์และโปรแกรมต่าง ๆ ของวินโดวส์ 98 หายไป
จากหน้าต่างของวินโดวส์ครับ เกิดจากอะไรวินโดวส์ของผมพัง
หรือเปล่า จะทำอย่างไรให้โฟลเดอร์และโปรแกรมต่าง ๆ ปรากฎ
ขึ้นมาอีกครั้ง
ผู้ใช้มือใหม่หลาย ๆ ท่านหากเกิดเหตุการณ์ลักษณะนี้ขึ้นมาต้อง
ใจเย็น ๆ ครับ แล้วค่อย ๆ ไล่หาสาเหตุของปัญหานั้นทีละขั้นตอน
โดยปัญหาลักษณะนี้อาจเกิดจากการปรับแต่งให้วินโดวส์ทำการ
ซ่อน ไอคอนบนเดสก์ทอปทั้งหมด ซึ่งขั้นตอนการแก้ไขก็ให้คุณ
ทำตามดังนี้
คลิกปุ่ม Start จากนั้นเลือกไปที่ Settings>Folder
Options เลือกไปที่แท็บ View
ดูในส่วนของ Visual Settings ว่ามีการเลือกที่ตัวเลือก
Hide icons when desktop… หรือเปล่าหากว่ามีการเลือกที่
ตัวเลือกนี้อยู่ก็ให้คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือกนี้ออก
คลิกปุ่ม OK เพียงเท่านี้ ไอคอนและโฟลเดอร์ต่าง ๆ ก็จะ
ปรากฎเหมือนเดิมแล้ว แต่ถ้าหากว่ายังไม่หาย ก็ให้ลองทำการ
ติดตั้งวินโดวส์ทับลงไปใหม่ ปัญหาที่เกิดขึ้นก็น่าจะหายไปครับ
ทำไมอยู่ ๆ ไฟล์ในเครื่องเพิ่มมากขึ้น
ผมสงสัยว่าเมื่อผมใช้คอมพิวเตอร์ไปนาน ๆ ทำไมจึงมีไฟล์
เกิดขึ้นมากมาย และไฟล์ไหนบ้างที่ผมสามารถลบได้ ช่วยบอก
ด้วย
หลังจากที่ใช้คอมพิวเตอร์ไปช่วงหนึ่ง วินโดวส์จะมีการสร้าง
ไฟล์ขึ้นมาเองเช่น ไฟล์.tmp หรือว่าถ้าทำการลงโปรแกรมบาง
โปรแกรม โปรแกรมเหล่านั้นก็อาจสร้างไฟล์ขึ้นมาให้เอง เช่น
ไฟล์ .bak เป็นต้น ฉะนั้นไม่ต้องสงสัยเลยว่าทำไมจึงมีไฟล์เกิด
ขึ้นมาเองมากมาย โดยไฟล์ที่สามารถลบได้โดยไม่มีผลกระทบ
ตามมา ก็ได้แก่ไฟล์ที่มีนามสกุลต่อไปนี้ .tmp, .BAK, .$$$,
.chk, .PCC, ไฟล์ Autoexec และ Config ยกเว้นไฟล์
Autoexec.bat และ Config.sys ห้ามลบเด็ดขาด เพราะเป็น
ไฟล์ที่มีส่วนช่วยในการบู๊ตระบบวินโดวส์ ซึ่งหากไม่มีไฟล์ทั้ง 2
นี้ก็จะพบปัญหาตามมาทันที เช่น บู๊ตเครื่องไม่ขึ้น เป็นต้น ฉะนั้น
ต้องระมัดระวังหน่อย
ใช้ปุ่ม (~) เปลี่ยนตัวอักษรในโปรแกรมออฟฟิศไม่ได้
ผมได้ลงโปรแกรมวินโดวส์ ME ทับวินโดวส์ 98 แล้วปรากฎ
ว่าเวลาเปลี่ยนตัวอักษรจากไทยเป็นอังกฤษหรืออังกฤษเป็นไทย
ในโปรแกรมออฟฟิศ ซึ่งเมื่อก่อนใช้ปุ่มบนซ้าย (~) ได้แต่
ปัจจุบันใช้ปุ่มนี้เปลี่ยนตัวอักษรไม่ได้แล้ว ต้องใช้ <Shift+Alt>
ซึ่งไม่สะดวกมาก ๆ ลองเข้าไปแก้ที่ Control Panel ในหมวด
Keyboard แล้วก็ยังไม่ดีขึ้น หรือลงโปรแกรม Office 97 ใหม่
ก็ยังใช้ไม่ได้เหมือนเดิม ขอให้ช่วยแนะนำวิธีแก้ไขด้วยครับ
เช่นนี้ทั้งหมดเลยไม่ว่าจะเป็นโปรแกรม Word หรือ Excel
ที่เป็นอย่างนี้เพราะวินโดวส์ ME มีการกำหนดค่าแป้นพิมพ์
ลัดไม่เหมือนอย่างที่เราคุ้ยเคย ซึ่งขั้นตอนการแก้ไขนั้นก็ให้เข้า
ไปแก้ไขค่าใน Control Panel โดยสามารถทำได้ดังนี้
เข้าไปที่ Control Panel โดยการคลิกปุ่ม Start แล้วเลือกไป
ที่ Settings>Control Panel ดับเบิ้ลคลิกที่ตัวเลือก
Keyboard คลิกที่แท็บ Language คลิกเครื่องหมายถูกหน้า
ตัวเลือกด้านล่างทั้ง 2 ตัว คลิกปุ่ม OK เพียงเท่านี้ก็สามารถแก้ไข
ปัญหาได้แล้ว
ปัญหาในการ Defragment
ทำไมเวลาที่ผมทำการ Scandisk ในวินโดวส์ 98 จึงใช้
เวลานานมาก และเมื่อทำการ Defragment ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์
เมื่อถึง 11 % แล้วปรากฎว่าโปรแกรมมันจะกลับมาเริ่มต้นใหม่
ทุกครั้ง
คำถามนี้มักพบมากเป็นพิเศษซึ่งอาการ Run Program
Scandisk แล้วขึ้นคำประมาณว่า Scandisk has restarted
10 time because windows or another program has
been writing to this drive. Quitting some running
programs may enable Scandisk to finish sooner. หรือ
เมื่อทำการ Defrag ได้ไม่กี่ % ก็จะกลับมาตั้งต้นที่ 0% ใหม่
ปัญหานี้เกิดจากการที่คุณยังไม่ได้ทำการปิดโปรแกรมที่ยัง
ทำงานอยู่ในขณะนั้น หรือโปรแกรมที่ฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำ
บางโปรแกรม ที่มีการตรวจเช็คสถานะบางอย่างบ่อย ๆ เช่น
โปรแกรม ICQ Netdetect Agent เป็นต้น จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์
ของเราทำงานโยกย้ายข้อมูลอยู่ตลอดเวลาที่ Scandisk หรือทำ
การ Defrag ซึ่งการแก้ไขสามารถทำได้ดังนี้ ทำการปิด
โปรแกรมที่ใช้งานใน TaskBar ให้หมดก่อน เช่น Scheduled
Task, V Shield, RemoveIT เป็นต้น โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. เข้าไปที่ System Configuration Utility โดยการคลิกปุ่ม
Start แล้วเลือกไปที่ Programs>Accessories>System
tools>System Information
เลือกเมนูคำสั่ง Tools>System Configuration Utility ที่
แท็บ General ให้คลิกเครื่องหมายถูกหน้าตัวเลือก
Diagnostics startup… ในส่วนของ Starup selection แล้ว
คลิกปุ่ม OK ก็สามารถทำการปิดโปรแกรมที่ใช้งานใน
TaskBas ได้แล้ว
หยุดการใช้งานโปรแกรมที่ทำงานตลอดเวลา
หยุดการใช้งานโปรแกรมที่ทำงานตลอดเวลา เช่น โปรแกรม
WinAMP, WinAMP Agent, Screensaver หรือพวก
โปรแกรม Power Management ใน Control Panel โดยให้
ทำการตั้งค่าให้เป็น Never ให้หมด ทำการปิดส่วน Active
Desktop ด้วย โดยเฉพาะผู้ที่รันไฟล์ Gif ที่มีการขยับไปมาได้
ซึ่งสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดปัญหา โดยมีขั้นตอนดังนี้
1. คลิกขวาบนพื้นที่ว่างในส่วนของ Desktop แล้วเลือกไปที่
Properties คลิกไปที่แท็บ Web
คลิกเครื่องหมายถูหน้าตัวเลือก View my Active…ออก
จากนั้นคลิกปุ่ม OK เพียงเท่านี้ก็สามารถปิดส่วน Active
Desktop ได้แล้ว เมื่อทำขั้นตอนต่าง ๆ เรียบร้อยแล้ว ก็ให้
เริ่มต้นทำการ ScanDisk ก่อนเพื่อตรวจหาว่ามีส่วนใดของ
HDD เสียหรือผิดปกติ หลังจากทำการ ScanDisk เสร็จจึงค่อย
ทำการ Defrag เพื่อจัดข้อมูลให้เป็นระเบียบในการเรียกใช้ครั้ง
ต่อไป อีกวิธีในการแก้ไขปัญหา ก็เพียงทำการ Defrag และ
ScanDisk ใน SefeMode เท่านั้นเอง ซึ่งขั้นตอนในการเข้าสู่
ส่วน SafeMode สามารถทำได้ดังนี้
1. โดยตอนเปิดเครื่องก่อนเริ่มขึ้น Logo หน้าจอ Starting
Windows ให้กดปุ่ม บนคีย์บอร์ดรัว ๆ
2. จากนั้นเลือกตัวเลือกข้อ 3 โดยการกดปุ่ม <3> บนคีย์บอร์ด
เพื่อเข้าสู่ SafeMode แล้วทำการ Defrag หรือ Scandisk
ตามปกติ
ไขปัญหาอุปกรณ์ทำงานผิดพลาด
ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น
จริงแล้วสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้นนั้นหลายครั้งมักเกิด
จากความผิดพลาดทางด้านซอฟต์แวร์ ส่วนสาเหตุทางด้าน
ฮาร์ดแวร์นั้นส่วนใหญ่มักเกิดจากฮาร์ดดิสก์มีแบดเซ็กเตอร์
เป็นจำนวนมาก หรือเกิด แบดเซ็กเตอร์บริเวณพื้นที่ที่เก็บ
ข้อมูลสำคัญของฮาร์ดดิสก์จึงทำให้ฮาร์ดดิสก์ไม่สามารถบูตขึ้น
มาได้ โดยจะแสดงอาการเงียบไปเฉยๆ หลังจากที่บูตเครื่องขึ้น
มาแล้ว หรืออาจฟ้องขึ้นมาว่า No Boot Device หรือ Disk
Boot failure Please insert system disk and please
anykey to continue
สำหรับวิธีแก้ไขนั้น ให้เราทำการตรวจสอบแบดเซ็กเตอร์
โดยอาจบูตเครื่องขึ้นมาด้วยแผ่นบูตแล้วใช้ คำสั่ง Scandisk
หรือโปรแกรม Norton Disk Doctor เวอร์ชั่นดอสตรวจสอบ
แบ็ดเซ็กเตอร์และซ่อมแซมดูก่อน หากมีแบดเซ็กเตอร์มากก็
อาจไม่หาย หนทางสุดท้ายคือทำ Fdisk แบ่งพาร์ทิชั่นใหม่แล้ว
พยายามกันส่วนที่เป็นแบดเซ็กเตอร์ออกไป
บางครั้งสาเหตุที่ฮาร์ดดิสก์บูตไม่ขึ้น นิ่งเงียบไปเฉยๆ อาจ
เกิดจากแผ่น PCB ( แผ่นวงจรด้านล่างของฮาร์ดดิสก์ ) เกิด
การช็อต วิธีแก้ไขคือให้นำฮาร์ดดิสก์รุ่นเดียวกัน สเป็ค
เหมือนกันมาถอดเปลี่ยนแผ่น PCB ก็จะทำให้ฮาร์ดดิสก์ตัวที่
ช็อตกลับมาทำงานได้เหมือนเดิม
หากต้องการกู้ข้อมูลที่สำคัญกลับมาไม่ควรใช้คำสั่ง Fdisk
เด็ดขาดเพราะจะทำให้ข้อมูลที่อยู่ภายในฮาร์ดดิสก์ให้เกลี้ยงไป
หมด ในที่นี้แนะนำให้ใช้โปรแกรม Spinrite ในการกู้ข้อมูล
สำคัญๆ ซึ่งโปรแกรมนี้เป็นโปรแกรมที่ถูกสร้างมาเพื่อกู้ข้อมูล
ภายในฮาร์ดดิสก์โดยเฉพาะ
ปัญหาที่เกิดจากซีพียู ซีพียูเป็นอุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยี
ในการผลิตค่อนข้างสูงภายในมีรายละเอียดซับซ้อนโดยจะมี
ทรานซิสเตอร์ตัวเล็กๆ อยู่รวมกันนับล้านๆ ตัวทำให้หากมี
ปัญหาที่เกิดจากซีพียูแล้วโอกาสที่จะซ่อมแซมกลับคืนให้เป็น
เหมือนเดิมนั้นเป็นไปไม่ได้เลย ช่างคอมพิวเตอร์เมื่อพบ
สาเหตุอาการเสียที่เกิดจากซีพียูแล้วก็ต้องเปลี่ยนตัวใหม่สถาน
เดียว
ปัญหาที่เกิดขึ้นกับซีพียูส่วนใหญ่แล้วจะมีเพียง 2 อาการที่
ช่างคอมพิวเตอร์พบได้บ่อยๆ อาการแรกคือ ทำให้เครื่องแฮงค์
เป็นประจำ และอาการที่สองคือวูบหายไปเฉยๆ โดยที่ทุกอย่าง
ปกติ เช่นมีไฟเข้า พัดลมหมุน แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้นบนหน้าจอ
สาเหตุส่วนใหญ่มักจะเกิดจากซีพียูมีความร้อนมากเกินไปจน
เมื่อถึงจุดๆ หนึ่งก็เดี้ยงไปแบบไม่บอกไม่กล่าว เลย สำหรับวิธี
แก้ปัญหาก็คือต้องส่งเคลมสถานเดียว
RAM หายไปไหน Spec 128 MB. ทำไม Windows
บอกว่ามีแรมแค่ 96MB. เอง
อาการของ RAM หายไปดื้อ ๆ จะเกิดกับการใช้เมนบอร์ดรุ่น
ที่มี VGA on board นะครับ ที่จริงก็ไม่ได้หายไปไหนหรอก
เพียงแต่ส่วนหนึ่งของ RAM จะถูกนำไปใช้กับ VGA ครับและ
ขนาดที่จะ โดนนำไปใช้ก็อาจจะเป็น 2M, 4M, 8M ไปจนถึง
128M. ก็ได้ขึ้นอยู่กับการตั้งใน BIOS ครับ
"Insert System Disk and Press Enter"
อยู่ ๆ ผมไม่สามารถบูตเข้าสู่วินโดวส์ได้ ไม่ทราบว่าเกิดอะไร
ขึ้น โดยจะขึ้นข้อความว่า "Insert System Disk and
Press Enter" ทั้ง ๆ ที่ผมไม่ได้ทำการปรับแต่งวินโดวส์ เลย
ปัญหานี้เกิดจากบู๊ตเครื่องโดยมีแผ่นดิสก์ที่ไม่มี OS หรือ
ระบบปฎิบัติการอยู่ในไดรว์ A ซึ่งขั้นตอนแก้ปัญหาก็ให้เอา
แผ่นไดรว์ A ออกจากนั้นก็กดปุ่ม Enter เพียงเท่านี้ก็สามารถ
เข้าวินโดวส์ได้แล้ว
ไดรว์ซีดีรอม อ่านแผ่นได้บ้างไม่ได้บ้าง หาแผ่นไม่เจอ
แก้ปัญหาอย่างไร
ปัญหานี้มักจะไม่เกิดกับไดรว์ซีดีรอมตัวใหม่ ๆ ครับ แต่ส่วน
ใหญ่จะเกิดกับไดรว์ซีดีรอมที่มีการใช้งาน มานานแล้ว หรือ
ประมาณ 1 ปีขึ้นไป และสาเหตุที่เห็นกันบ่อยก็คือหัวอ่าน
สกปรก ส่วนใหญ่จะเป็นพวกฝุ่น เข้าไปกับแผ่นซีดี แล้วเราก็
นำมันเข้าไปอ่านในไดรว์ ฝุ่นก็เลยเข้าไปติดที่หัวอ่าน พอ
สะสมมาก ๆ เข้าก็เลย ทำให้เกิด อาการดังกล่าว อ่านแผ่น
ไม่ได้บ้างละ หาแผ่นไม่เจอบ้างละ วิธีการแก้ไขก็คือทำความ
สะอาดหัวอ่าน โดยใช้แผ่นซีดีที่ไว้สำหรับทำความสะอาด
หัวอ่าน ที่มีขายอยู่ตามร้านคอมพิวเตอร์ทั่วไปมาใช้ รับรอง
อาการดังกล่าวจะไม่เกิดขึ้นแน่นอน
ปัญหาของซีดีออดิโอ
ถ้าคุณเล่นซีดีออดิโอใน CD Writer แล้ว Windows Media
หรือ CD Playar แสดงข้อความ "Please insert an audio
compact disk" หรือ Data or no disk loaded อาจมี
สาเหตุมาจากไดรเวอร์ วิธีแก้คือ ให้เปิด Control Panel
เลือก Sound &Multimedia คลิก Devices ดับเบิลคลิก ที่
Media Control Devices และ CD Audio Devices
(Media Control) คลิก Remove และ Yes คลิก OK เพื่อ
ปิด หน้าต่างทั้งหมดและบูตเครื่องใหม่
อะไรคือสาเหตุ ที่ทำให้แผ่น CD-ROM เล่นเพลงจนแผ่น
แตก
กลายเป็นเรื่องปกติธรรมดาไปแล้วครับ เรื่องไดรว์ CD-ROM
ทำแผ่นแตก ซึ่งสาเหตุก็เป็นเพราะไดรว์ ที่ผลิตในปัจจุบันมี
ความเร็วสูง ทำให้เมื่ออ่านแผ่นที่มีคุณภาพต่ำหรือแผ่นที่มีรอย
ขีดข่วนลึก ๆ ก็ทำให้เกิดสะดุดเป็นผล ทำให้แผ่นแตก ซึ่ง
ปัญหานี้เราจะไม่พบในไดรว์รุ่นเก่า ๆ เลย ทางแก้ก็คือ
หลีกเลี่ยงการใช้แผ่นที่มีคุณภาพต่ำ หรือแผ่นที่เป็นรอยมาก ๆ
แบตเตอรี่เสื่อมทำอะไรกับเครื่องคุณไดบ้ ้าง
บางครั้งเมื่อเราเปิดเครื่องคอมฯ ขึ้นมาปรากฎว่าเจอกับ
ข้อความ "CMOS CHECKSUM ERROR" หรือไม่เมื่อเรา
ใช้เครื่องคอมฯ ไปเรื่อย ๆ จะสังเกตุเห็นว่านาฬิกาของเครื่องดู
เหมือนจะเดินช้าลงนั่น แสดงให้เห็นว่าแบตเตอรี่ที่อยู่ใน
เมนบอร์ดของเรากำลังจะหมด และถ้ายังคงใช้งานต่อไปโดย
ไม่หา แบตเตอรี่มาเปลี่ยนก็จะทำให้ค่าต่าง ๆ ที่ตั้งไว้ใน
BIOS SETUP หายไปได้ อย่างเช่นค่าของ ฮาร์ดดิสก์ว่า เป็น
ชนิดอะไร ทำให้เมื่อเปิดเครื่องขึ้นมาใหม่ เราจะต้องตั้งค่า
เหล่านี้ใหม่ทุกครั้ง
"Bad or Missing Interpreter" มันคืออะไร
ปัญหาลักษณะนี้จะเกิดจากไฟล์ Command.com นั้นเกิด
ความเสียหาย หรือถูกลบทิ้งไป ซึ่งทางแก้ไขก็คือให้คุณทำการ
ก๊อปปี้ไฟล์ Command.com จากเครื่องอื่น ซึ่งต้องเป็น
วินโดวส์รุ่นเดียวกัน หรือจากแผ่น Start Up ดิสก์ที่สร้างจาก
เครื่อง คุณก็ได้ โดยเมื่อก๊อปปี้ไฟล์ได้แล้วก็ให้ใส่แผ่นในไดรว์
A แล้วเข้าไปที่ A : Promt จากนั้นก็พิมพ์คำสั่ง copy
a:\command.com c: เพียงเท่านี้ก็สามารถใช้งานคอมได้
เป็นปกติ
"8042 GATE-A20 Error" มันคืออะไร
หากว่าพบข้อความ 8042 GATE-A20 Error ปรากฎขึ้นมา
นั่นแสดงว่าชิปที่ควบคุมการทำงานของแป้นพิมพ์บน
เมนบอร์ด มีปัญหาหรืออาจเกิดจากปลั๊กเสียบไม่แน่น ให้คุณ
ทำการปิดเครื่องแล้วลองขยับปลั๊กให้แน่นขึ้นดู หากยังไม่หาย
นั้นแสดง ว่าเมนบอร์ดของคุณมีปัญหาแล้ว ควรที่จะยกไปให้
ซ่อมหรือไปเปลี่ยนกับทางร้านที่คุณซื้อมา (ถ้ายังมีประกัน)
ทำไมเสียงไม่สามารถแสดงออกมาพร้อมกัน 2 เสียงได้
โดยทั่วไปแล้วการ์ดเสียงส่วนใหญ่จะสามารถทำได้อยู่ ปัญหา
น่าจะเกิดมาจากการ์ดเสียงหรือว่าโปรแกรม DirectX ซึ่งการ
แก้ไขก็ให้คุณลองนำการ์ด เสียงตัวที่คุณใช้แล้วมีปัญหา ไป
ลองกับเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่น ๆ ดู หรือลองอัพเดต
โปรแกรม DirectX ให้สูงกว่าเวอร์ชั่น 6 ถ้าหากไม่หายแสดง
ว่าการ์ดเสียงของคุณมีปัญหา แล้วละครับ
Disk Boot Failure
สาเหตุอาจเกิดจาก
เกิดจากคุณอาจลืมแผ่นดิสที่บูทไม่ได้ไว้ในไดร์ฟ A: หรือ
แผ่น CD ไว้ในไดร์ฟ CD (กรณีตั้งซีมอสให้บูทที่ซีดีได้)
หรือเกิดจากฮาร์ดดิสที่เป็นตัวบูท C: ไม่สามารถใช้งาน
ได้หรือมีการเปลี่ยนแปลงค่าในซีมอสทำให้ไม่ตรงรุ่นของ
ฮาร์ดิส
การแก้ปัญหา
1. ตัว Harddisk มีจานแม่เหล็กที่มีผิวเสียหายมากไม่สาม
รถใช้งานได้อีกต่อไป
2. ขณะที่ทำการ Scandisk ใช้เวลานานหลายชั่วโมงหรือ
พบพื้นที่เสียหายมากและต่อเนื่องให้ยกเลิกไปทำการ
Format แทน (แต่โอกาสที่จะใช้ได้มีนอ้ ยมากเนื่องจากผิว
จานแม่เหล็กเสียหายมาก)
3. ตัวควบคุม Harddisk หรือสายแพรที่ใช้ต่อ Harddisk
กับ Controler บน MainBoard เสียหรือเสื่อมสภาพ (จะมี
โอกาสเกิดน้อยกว่าความเสียหายบนตัว Harddisk เอง)
หลังจากทำตามขั้นตอนต่างๆ แล้วยังเกิดอาการดังกล่าว
อีกให้ทำการ Format Harddisk ตัวนี้ โดยทำดังนี้
1. Boot เครื่องด้วยแผ่น Startup Disk
2. เรียกคำสั่ง Format แบบเต็ม (Full Format) ดังนี้ โดย
พิมพ์คำสั่งที่เอพร้อม a:/format c:/s และกด Enter และ
ตอบ y และ Enter
3. ในขณะที่ทำการ Format โปรแกรมจะทำการตรวจสอบ
พื้นผิวของจานแม่เหล็กถ้าพบจุดเสียที่ใดก็จะทำการ
บันทึก ไว้ในตาราง FAT ของตัว Harddisk เพื่อไม่ให้
โปรแกรม อื่นๆ นำพื้นที่นี้ไปใช้ได้อีก (จุดที่เสียจะเรียกว่า
BAD Sector)
4. จากนั้นก็สามารถนำไปลง OS Program ต่อไปได้
5. หากยังเกิดอาการดังกล่าวอีกแนะนำให้เปลี่ยนตัว
Harddisk ครับ คงจะไม่ไหวแล้วจริงๆ
Harddisk ไม่ทำงาน (ไม่มีเสียง Motor หมุน)
สาเหตุอาจเกิดจาก
1. เกิดจากไม่มีไฟเลี้ยงตัว Mortor และวงจรควบคุมตัว
Mortor
2. ตัวควบคุมการทำงาน (Controler) บนตัว Harddisk
เสียหาย
3. สายบางเส้นที่ต่อจาก Harddisk กับตัวควบคุมบน
Mainboard หลวมหรือหลุดหรือเกิดสนิม
การแก้ปัญหา
1. ตรวจสอบสายต่อไฟเลี้ยงดูว่าแน่นหรือเกิดสนิมหรือ
เปล่า โดยการถอดออกมาแล้วตรวจดูว่าเป็นปกติหรือไม่
แล้วเสียบกลับเข้าไปใหม่
2. เปลี่ยนสายไฟเลี้ยงที่ต่อให้กับตัว Harddisk เส้นใหม่ดู
ว่าใช้งานได้หรือเปล่า
3. ทดลองเปลี่ยนสายแพร หรือถอดออกดูก่อนแล้วเปิด
เครื่องเพื่อดูว่าทำงานได้หรือเปล่า
4. อาจลองนำเอาสายไฟเลี้ยงที่ต่อให้กับ CD-ROM
Drive มาต่อดูก็จะรู้ได้ว่าสายจ่ายไฟเลี้ยงเสียหรือเปล่า
Sector not fond error reading in drive C:
สาเหตุอาจเกิดจาก
1. ปัญหานี้จะคล้ายกับอาการ Data error reading in drive
C: หรือ BAD Sector แต่ส่วนที่เกิดปัญหานี้จะเกิดกับส่วน
ของ File Allocation Table (FAT) ไม่ใช่ที่ตัวพื้นที่เก็บ
ข้อมูลจริง
2. ส่วนของฮาร์ดดิสที่ใช้ในการเก็บข้อมูลของ FAT มี
ปัญหาเช่นเกิดการเสื่อมของสารแม่เหล็กหรือเกิดรอยที่
ผิวของจานแม่เหล็ก เนื่องจากหมดอายุการใช้งาน
การแก้ปัญหา
1. ทำเช่นเดียวกับปัญหา BAD Sector แต่ในส่วนโหมด
ของการ Scan ให้เลือกเป็นแบบ Standard ก็พอ โดย
โปรแกรมจะทำการตรวจในส่วนของ File Allocation
Table (FAT) และ Folders และเมื่อโปรแกรมตรวจพบ
ข้อผิดพลาดก็จะทำการซ่อมแซมค่าที่ผิดพลาดนั้นๆ ให้
กลับเป็นปกติ หรืออาจบันทึกเป็นชื่ออื่นแต่ตัวข้อมูลจะยัง
อยู่ซึ่งเราต้องเข้าไปแก้ไขเองอีกครั้ง ซึ่งปัญหาที่มักจะ
เกิดก็ได้แก่ Cross link, Folders error ที่เกิดขึ้นในตาราง
FAT ซึ่ง Files ที่มักจะสร้างปัญหาบ่อยๆ ก็ได้แก่ประเภท
ที่มีส่วนขยายเป็น TMP ซึ่งมักจะถูกเก็บอยู่ที่โฟเดอร์ชื่อ
TEMP (c:\windows\temp) ซึ่ง Files เหล่านี้ จะถูกสร้าง
จากโปรแกรมประยุกต์ต่างๆ เช่น โปรแกรมเวิร์ดโปรเซส
ซิ่ง ซึ่งผู้ใช้งานควรที่จะทำการลบ Files พวกนี้ทิ้งเป็น
ประจำ การลบ temp files ทำได้โดยการเข้าไปที่โฟรเดอร์
ดังนี้ และทำการเลือกทุก files และกดปุ่ม DELETE ที่
แป้นคีบอร์ด (C:/windows/temp/*.tmp)
2. หากแก้ไขตามข้อแรกไม่ได้ผลควรที่จะทำการ Format
ฮาร์ดดิสใหม่ และลงโปรแกรมใหม่เพื่อเป็นการจัดและ
เริ่มต้นระบบใหม่ซึ่งจะมีผลให้ความเร็วในการทำงานของ
เครื่องเพิ่มขึ้นด้วย
ก่อนการทำการ Format ฮาร์ดดิสต้องแน่ใจว่าไม่มีความ
จำเป็นต้องรักษาข้อมูลบนตัวฮาร์ดดิส หรือได้สำรอง
ข้อมูลที่สำคัญไว้ในสื่ออื่นๆ แล้ว การ Format ทำได้โดย
Boot เครื่องด้วยแผ่น Startup Disk แล้วใช้คำสั่ง
a:/format c:/s เพื่อทำการจัดเตรียมพื้นที่ใหม่ โดย
โปรแกรมจะทำการตรวจสอบพื้นผิวของแผ่นจานเก็บ
ข้อมูล และเมื่อไม่สามารถอ่านพื้นผิวบริเวณใดก็จะระบุ
ตำแหน่งจุดที่เสียบนพื้นผิวเพื่อที่โปรแกรม Windows จะ
ไม่ไปใช้พื้นที่นั้นในการเก็บข้อมูล
การป้องกันปัญหา:
1. ทำการ Scandisk ทุกๆ สัปดาห์
2. ลบ temp files ใน Windows/temp ทิ้งให้หมดหลังจาก
การทำ Scandisk แล้ว (ก่อนทำการ Scandisk และลบ
temp file ทิ้ง ควรทำการปิดโปรแกรมทุกตัวก่อนทุกครั้ง)
3. ใช้โปรแกรม Disk Cleanup ช่วยในการลบ files ที่ไม่
จำเป็นทิ้งโดยเริ่มต้นที่ Start
Menu/Programs/Accessories/System tools/Disk
Cleanup จากนั้นทำเครื่องหมายถูกที่หน้า Temporary
files
Data Error Reading in Drive C:
สาเหตุอาจเกิดจาก
เนื่องจากโปรแกรมไม่สามารถอ่านข้อมูลจากผิวของตัว
จานเก็บข้อมูลได้
การแก้ปัญหา
เรียกโปรแกรม Scandisk ขึ้นมาโดย
1. ดับเบิลคลิกที่ My Computer
2. ชี้ mouse ไปที่ Drive ที่ต้องการจะทำการ Scan
3. คลิกปุ่มขวาของ Mouse เลือก Properties
4. เลือก TAB Tools
5. กดปุ่ม [Check Now...] บน Windows Propeties
6. เลือกรูปแบบการ Scan เป็น [Thorough]
7. ทำเครื่องหมายถูกหน้า Automatically fix errors
8. เริ่มทำการ Scan โดยกดที่ปุ่ม Start
9. เมื่อทำการ Scan จนเสร็จแล้วจะมีหน้าต่างแสดงค่าที่
ทำการ Scan ให้ดู (ScanDisk Results- [c:] ให้สังเกตุดูที่
หัวข้อ bytes in bad sectors ถ้ามีตัวเลขขึ้นแสดงว่า
โปรแกรม Scan ตรวจพบส่วนที่เสียหายของผิวจาน
แม่เหล็กของ Hardisk
10. กดปุ่ม close เพื่อทำการปิดโปรแกรม ScanDisk
11. ในขณะนี้โปรแกรม ScanDisk จะทำการตรวจสอบ
ส่วนต่างๆ ของ Harddisk เรียบร้อยแล้วและได้ทำการทำ
เครื่องหมายบริเวณที่ไม่สามารถอ่านได้แล้วลงบนตาราง
แฟ็ท (FAT=File Allocation Tables), Folders หลังจาก
ทำการ Scandisk เสร็จแล้วอาการดังกล่าวน่าจะหายไป
ไขปัญหาจุกจิกในการแสดงผล
ใช้การ์ดจอของ TNT แล้วเมื่อพิมพ์ข้อความต่าง ๆ สระบนล่างไม่ยอม
ขึ้นมาทันที
ต้องพิมพ์ตัวต่อไปก่อนจึงจะเห็น เป็นปัญหาที่พบบ่อยมาก ๆ กับผู้ที่ใช้การ์ดจอของ
TNT ครับให้ลองหา Driver รุ่นใหม่ ๆ จากเวปไซต์ของผู้ผลิตการ์ดจอมาใช้
จะแก้ไขได้หรือใช้ Driver ของ Detonator Version 3.65 หรือใหม่
กว่านี้ขึ้นไป หาได้จาก http://www.nvidia.com
ปัญหาสีเพี้ยนของหน้าจอแก้ปัญหาอย่างไร
ปัญหาสีเพี้ยนลักษณะนี้อาจเกิดจากคลื่นแม่เหล็กที่วางอยู่ใกล้ ( ตู้เย็น,เตาอบ
ไมโครเวฟ,ลำโพง ) ถาพที่ปรากฎ จึงมีสีเพี้ยนไป ซึ่งหากว่ามีการนำลำโพงที่ไม่มี
Shield ป้องกันคลื่นแม่เหล็ก ไปวางไว้ข้างจอคอมพิวเตอร์ ก็อาจพบว่าภาพบน
จอคอมพิวเตอร์แสดงสีเพี้ยน ๆ เพราะว่าในตัวของลำโพงจะประกอบไปด้วยคลื่น
แม่เหล็กแรงสูงอยู่ภายใน จึงทำให้มอนิเตอร์ที่มีการใช้สนามแม่เหล็กในการควบคุม
การยิงเม็ดสี ให้ตกกระทบ ตรงตำแหน่งบนหน้าจออย่างถูกต้อง เกิดอาการยิงผิดยิง
ถูก ภาพที่ออกมาจึงมีสี เพี้ยนไป วิธีการแก้ไขก็เพียงวางลำโพงให้ห่างจาก
จอคอมพิวเตอร์พอประมาณ หรือหาลำโพงที่ Shield ป้องกันคลื่นแม่เหล็กมาใช้
ภาพสีก็จะหายไปครับ แต่ถ้าอาการยัง ไม่ดีขึ้น ควรให้ช่างตรวจเช็คดูดีกว่า เพราะ
บางทีอาจมีปัญหาที่จอมอนิเตอร์เอง
เพราะเหตุใดจอจึงดับโดยไร้สาเหตุ
ใช้ Windows 98 ตอนบูตเครื่องขึ้นมาไม่มีปัญหา แต่ถ้าทิ้งเครื่องไว้สัก
ประมาณ 5 นาทีหรือขณะกำลังทำงาน อยู่ จอก็ดับไปเฉย ๆ แต่เครื่องทำงานอยู่ ถ้า
ไปกดปุ่ม ESC ก็จะกลับมาเหมือนเดิม สาเหตุที่เป็นอย่างนั้นก็คือ เกิดจากการตั้ง
ค่า ในส่วน Power Management ( การประหยัดในวินโดวส์ เมื่อไม่ได้
ทำงานบนคอมพิวเตอร์เป็นเวาลานาน ๆ ) ของวินโดวส์ ซึ่งขั้นตอนการแก้ไขก็ทำ
ตามขั้นตอนดังนี้
1 เข้าไปในส่วนของ Display Properties คลิกแท็บ Screen Saver
2 คลิกปุ่ม Setting
3 คลิกที่แท็บ Power Schemes
4 เลือกค่าต่าง ๆ ในส่วนของ Setting for Always.... ให้เป็น Never
ให้หมด และคลิกปุ่ม OK เพื่อทำการบันทึกค่า
5 คลิกปุ่ม OK อีกครั้งเพื่อปิด หน้าต่าง Display Propertie เพียงแค่นี้ก็
สามารถแก้ไขปัญหาได้แล้ว
ชัตดาวน์แล้วปรากฎข้อความ "Windows protect error
ปัญหานี้มักจะเกิดมาจากไดรเวอร์ของอุปกรณ์ฮาร์แวร์ประเภทการ์ดจอ และ
เมนบอร์ดเสียเป็นส่วนใหญ่ซึ่งการแก้ไขทั่ว ไปก็ให้เข้าไปดาวน์โหลดไดรเวอร์ ตัว
ใหม่ ๆ จากเว็บไซต์ของผู้ผลิต มาแทนไดรเวอร์ ตัวเก่า ส่วนคนที่ใช้การ์ดจอของ
Nvidia และใช้ไดรเวอร์ Detemator 3 (6.xx) ก็จะเกิดปัญหานี้ด้วย
เพราะว่า Detemator 3 (6.xx) จะไม่ทำการเคลียร์แรม เมื่อเลิกใช้ พอทำ
การชัตดาวน์วินโดวส์มันจะจัดการกับแรมที่ค้างไม่ได้ จึงขึ้นข้อความ
Protection Error ทางแก้ไขนั้นให้ทำการ ดาวน์โหลดไดรเวอร์การ์ดจอของ
Nvidia เวอร์ชั่น 7.xx มาใช้งาน ซึ่งสามารถดาวน์โหลดได้ที่เว็บไซต์
http://www.nvidia.com แต่ไดรเวอร์ตัวนี้ก้ยังมีปัญหาในการเล่น
Mode 3D วิธีแก้ก็ให้คุณทำการรีสตาร์ทใหม่ 1 ครั้ง แล้วค่อยชัตดาวน์ครับ
จอภาพสั่น ๆ หรือกระพริบอยู่ตลอดเวลา ทำงานแล้วรู้สึกปวดตาจะแก้ปัญหา
อย่างไรดี ??
ปัญหานี้เกิดจากคุณไม่ได้เข้าไปปรับอัตรา Refresh Rate ของจอภาพใน
Windows ครับ หรือถ้าปรับแล้วก็ยังสั่นอยู่อีก ให้ลองดูครับว่ามีคลื่น
สนามแม่เหล็ก มากวนจอภาพของเราหรือเปล่า เช่น จอภาพที่วางใกล้ ๆ กัน หรือจะ
เป็นคลื่นจากลำโพงที่วางไว้ใกล้กับจอภาพ อัตรา Refresh สูง ๆ นั้นจะช่วยให้
ภาพที่แสดงออกมานั้นนิ่งดูสบายตามากขึ้น สำหรับจอภาพขนาด 15" ส่วนใหญ่
จะปรับอัตรา Refresh Rate อยู่ที่ 75-85 Hz ซึ่งการปรับอัตรา
Refresh Rate นี้จะสัมพันธ์กับความละเอียดของจอด้วย เช่น 800x600
@ 85Hz , 1024x768 @ 75Hz ฯลฯ ขั้นตอนการปรับอัตรา
Refresh Rate ทำได้ดังนี้
- คลิกขวาที่ Desktop เลือก Properties
- คลิกที่แท็บ Settings และคลิกที่ Advanced
- คลิกที่แท็บ Adapter ที่ Refresh Rate สามารถปรับอัตรา Refresh
Rate ได้ตามต้องการ
- คลิก ปุ่ม OK
- คลิกปุ่ม YES เพื่อยืนยันอีกครั้ง เพียงแค่นี้ก็สามารถแก้ปัญหาได้แล้วละครับ
หากไม่มีส่วนให้ปรับค่า Refresh Rate ทำอย่างไร
เป็นปัญหาพอสมควร เพราะหลังจากการที่ได้ติดตั้งไดรเวอร์ต่าง ๆ ครบแล้วครั้นจะ
มาทำการปรับแต่งอัตรา Refresh Rate แต่ปรากฎว่าไม่สามารถทำได้เลย
เพราะไม่มีช่องให้ปรับแต่ง ซึ่งหากว่าพบปัณหาแบบนี้ก็ต้อง ใช้ซอฟต์แวร์ช่วยใน
การปรับแต่งนั่นก็คือ โปรแกรม Power Strip โดยสามารถดาวน์โหลดได้จาก
เว็บไซต์ Download.com เมื่อทำการ ดาวน์โหลดและติดตั้งเสร็จแล้ว ตัว
โปรแกรมก็จะฝังตัวอยู่ที่ทาส์บาร์ใกล้ ๆ กับนาฬิกาด้านขวาล่าง ซึ่งขั้นตอนในการ
ปรับแต่งจากโปรแกรม Power Strip มีดังนี้
1 คลิกขวาที่ไอคอน Power Strip
2 เลือกไปที่ตัวเลือก Desk top
3 ปรับค่ารีเฟรชในส่วนของ Refresh Rate ซึ่งควรปรับอยู่ที่ 70-85 Hz
4 เมื่อปรับแล้วก็ให้ คลิกปุ่ม OK เท่านี้ก็สามารถปรับอัตรารีเฟรซได้แล้วครับ
รู้จักกับ Blue Screen of Death
"จอฟ้ามรณะ" "มฤตยูจอฟ้า" หรือ "จอฟ้าแห่งความตาย" ไม่ว่าใครจะเรียกอะไร
ก็แล้วแต่ Blue Screen of Death คือสิ่งที่ผู้ใช้พีซีไม่อยากเจอะเจอมาก
ที่สุด เพราะถ้ามันปรากฏขึ้นเมื่อใด ย่อมหมายถึงได้เวลาที่คุณต้องล้างระบบ
ติดตั้งวินโดวส์ใหม่กันแล้ว แต่ในความเป็นจริง จอฟ้ามรณะนี่มันน่ากลัวขนาด
นั้นเลยหรือ?
Blue Screen of Death คืออะไร?
เชื่อแน่ๆ ว่าผู้ใช้พีซีไม่ว่าจะมือใหม่หรือมือเก๋า น่าจะเจออาการแบบรูปที่ 1 กัน
บ้าง ไม่มากก็น้อย
แต่ปฏิกิริยาที่เจออาจจะแตกต่างกัน ถ้าเป็นมือเก๋า ก็แค่ร้อง "ว้าเว้ย!!" แล้วก็
หาทางแก้กันไป หน้าจอเดียวกันนี้ ถ้าเป็นมือใหม่หัดใช้คอมพ์ อาจถึงกับลนลาน
รีบต่อสายตรงที่ช่างซ่อมคอมพ์ทันทีเลยทีเดียว แต่ช้าก่อนครับ!!?? ถ้าคุณได้
อ่านบทความเรื่องนี้ อาจช่วยลดอาการลนลานไดบ้ ้าง และถ้าคุณร้าสาเหตุที่มาที่
ไปของอาการนี้คุณอาจช่วยเหลือตัวเองได้บ้างโดยไม่ต้องง้อช่างเลย
ทีนี้มาถึงคำตอบของคำถามที่ผมตั้งเป็นหัวข้อไว้ Blue Screen of
Death ( ต่อไปขอย่อว่า BOD นะครับ) อธิบายง่ายๆ ก็คือ หน้าจอที่แสดง
อาการผิดปกติของวินโดวส์ ซึ่งอาการที่เกิดได้ก็มาจากหลายๆ สาเหตุ ทั้งเกิดจาก
ซอฟต์แวร์ก็ได้ หรือฮาร์ดแวร์ก็ได้ หรือเกิดพร้อมๆ กันเลยก็มี เหตุที่ตั้งชื่อให้มัน
น่ากลัวขนาดนั้น ก็เพราะถ้าหน้าจอสีฟ้านี้แสดงขึ้นมา มันหมายความว่าอาการ
ผิดปกติที่เกิดขึ้น ค่อนข้างหนักหนาจนวินโดวส์ไม่สามารถทำงานต่อไปได้
นอกจากรีเซ็ตเครื่องเพียงอย่างเดียว
ในบางกรณี การรีเซ็ตเครื่องหลังจากขึ้นบลูสกรีน ก็สามารถใช้งานเครื่องพีซีต่อ
ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าปัญหาจะหมดไป วันดีคืนดี หน้าจอมรณะก็อาจจะ
กลับมาหลอกหลอนได้อีก เพราะสาเหตุของปัญหายังไม่ได้ถูกขจัด ถามว่า
ทำไมบลูสกรีนอยู่ๆ ก็เกิดขึ้นมาได้อย่างไร ทั้งๆทีใช้งานมาตั้งนานยังไม่เคยมี
ปัญหาแบบนี้? คำตอบของปัญหานี้จะไปโทษระบบปฏิบัติการเพียงอย่างเดียวก็
คงจะไม่ได้ อย่างที่รู้กันอยู่แล้วว่าการทำงานของเครื่องพีซีต้องประกอบไปด้วย
ฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์เป็นหลัก ฮาร์ดแวร์ถ้าไม่ซอฟต์แวร์ควบคุมจัดการก็ไม่
ต่างอะไรกับเศษเหล็ก ในทางกลับกันถ้าซอฟต์แวร์ไม่มีอะไรให้จัดการก็ไม่ต่าง
อะไรจากโค้ดดิ้งไร้สาระหลายหมื่นบรรทัด และในเมื่อทั้งสองอย่างต้องทำงาน
ร่วมกัน ความเข้ากันได้จึงเป็นสิ่งสำคัญที่สุด
มาถึงตรงนี้อาจจะเป็นคำตอบของคำถามที่ว่า ทำไมหน้าจอมรณะถึงพบบ่อยได้
นักในระบบปฏิบัติการ วินโดวส์ทุกยุค ทุกสมัย นั่นก็เพราะ วินโดวส์เป็น
ระบบปฏิบัติการที่จำเป็นต้องออกแบบให้ใช้กับเครื่องพีซีและอุปกรณ์ รอบข้าง
ให้ได้หลากหลายที่สุดเท่าที่จะทำได้ แตกต่างจากระบบยูนิกซ์หรือ แมคโอเอส
ที่ออกแบบมาเพื่อเครื่องยูนิกซ์หรือแอปเปิ้ลเพียงอย่างเดียว ลองนึกดูง่ายๆ แค่
เมนบอร์ดที่ใช้กับเครื่องพีซีก็มีกี่ยี่ห้อ กี่รุ่น เข้าไปแล้ว ยังไม่นับกราฟิกการ์ด
ซาวด์การ์ด โมเด็ม ฯลฯ และอีกสารพัดอุปกรณ์ที่ต้องนำมาเชื่อมต่อ ซึ่งอุปกรณ์
ต่างๆ เหล่านี้ถ้าเกิดปัญหาเรื่องความไม่เข้ากันเมื่อไหร่จอฟ้ามรณะก็บังเกิดขึ้น
ครับ
ความจริงวินโดวส์เองก็มีข้อบังคับเรื่องของฮาร์ดแวร์คอมแพตทิเบิลอยู่ รายระ
เอียดของเรื่องนี้อยู่ที่
http://www.microsoft.com/resources/documentation
/windows/xp/all/proddocs/enus/
hsc_compat_overview.mspx ซึ่งอุปกรณ์แต่ละชิ้นถ้าผ่าน
การรับรองจากไมโครซอฟต์แล้ว จะมีโลโก้แสดงว่าวินโดวส์ คอมแพตทิเบิลอยู่
แต่สมัยนี้อุปกรณ์ใหม่ๆ เกิดขึ้นมากมาย บางตัวก็ติดโลโก้วินโดวส์คอมแพตทิ
เบิลมาด้วย แต่ผู้ใช้ก็ไม่มีทางรู้ว่าจริงหรือไม่ ยังไม่นับซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่ร้อยพ่อ
พันแม่พัฒนากันออกมา ดังนั้นในความเป็นจริง ผู้ใช้จึงไม่สามารถใช้อุปกรณ์ที่
เป็นคอมแพตทิเบิลร่วมกันได้ทั้งหมดได้
ที่เล่ามาทั้งหมด ขอออกตัวว่าผมไม่ได้แก้ต่างให้ไมโครซอฟท์แต่อย่างใด แค่
อยากจะชี้ให้เห็นถึงสาเหตุของปัญหาบลูสกรีนที่สามารถเกิดขึ้นได้โดยไม่
จำเป็นต้องบอกล่วงหน้า ตราบใดที่เรายังใช้วินโดวส์ที่ยังคงรันอยู่พีซีที่ภายในมี
อุปกรณ์ติดตั้งไม่ซ้ำยี่ห้อกันเลยแม้แต่ยี่ห้อเดียว
ในวินโดวส์ NT, 2000 และ XP นั้น BOD ที่เกิดขึ้น มักเกิดมาจากเคอร์
แนลหรือไดรเวอร์ ที่เกิดทำงานผิดพลาดโดยที่ไม่สามารถจะคืนสภาพการ
ทำงานให้กลับมาเหมือนเดิมได้ เช่น ไดรเวอร์ส่งค่าบางอย่างที่ไม่ถูกต้องไปยัง
กระบวนการอื่นๆ ทำให่ตัวระบบปฏิบัติการทำงานผิดพลาด วิธีเดียวที่ผู้ใช้จะ
แก้ไขได้ คือ รีบูตเครื่องคอมพิวเตอร์
ซึ่งนั่นหมายความว่า ข้อมูลหรืองานที่คุณกำลังทำอยู่มีโอกาสที่จะหายไปด้วย
เพราะวินโดวส์ไม่ได้ถูกสั่งปิดแบบปกติ
การพิจารณาแก้ปัญหา BOD ดูได้จากข้อความที่แสดงและเออเรอร์โค้ด บาง
ปัญหาวินโดวส์จะแสดงข้อความที่เป็นสาเหตุอย่างชัดเจน แต่บางปัญหาก็ไม่
สามารถอาศัยข้อความที่แสดงเพียงอย่างเดียว ต้องนำเอาเออเรอร์โค้ดมาร่วม
พิจารณาด้วย ตำแหน่งของข้อความและเออเรอร์โค้ด
Error : IRQL_NOT_LESS_OR_EQUAL
(Error Code : Stop 0x0000000A)
ความหมายของ 0xA นั้นหมายความว่า Kernel-mode process
หรือไดรเวอร์นั้นไม่สามารถจะเข้าถึงเมโมรีที่จองไว้ได้ อาจเนื่องจากไม่มี
สิทธิ์ที่จะเข้าถึง หรือค่าที่เคอร์แนลส่งระดับ IRQL นั้นอยู่สูงเกินไป แต่
Kernel-mode process ที่มีค่า IRQL ต่ำกว่าสามารถเข้าถึง
หน่วยความจำนั้นได้ โดยส่วนมาก Stop Message นี้มักจะมาจากการ
ที่ไม่คอมแพตทิเบิลของฮาร์ดแวร์หรือซอฟท์แวร์ที่อยู่ในเครื่องนั่นเอง
สาเหตุและหนทางแก้ปัญหาที่อาจเป็นไปได้
สาเหตุนี้อาจเกิดหลังการติดตั้ง device driver, system sevice
หรือ Firmware ที่เสียหายหรือไม่สมบูรณ์ หาก Stop Message
นั้นแสดงชื่อไดรเวอร์ที่ผิดพลาดมาด้วยให้แก้ไขโดยการยกเลิก หรือ
rollback กลับไปใช้ ไดรเวอร์ที่สมบูรณ์ หรือหากยังแก้ไขไม่ได้ อาจจะ
เป็นที่ไฟล์ที่ใช้ในการติดตั้งไดรเวอร์เกิดเสียหาย เพราะไวรัสก็ได้ ต้อง
ตรวจสอบจุดนี้ด้วย
ข้อผิดพลาดอาจเกิดจากตัวฮาร์ดแวร์ก็ได้ หากเออเรอร์นี้แจ้งประเภทของ
Device มา ยกตัวอย่างเช่น กราฟิกการ์ดหรือไดรฟ์ ก็ให้ลองปลดหรือ
เปลี่ยนอุปกรณ์ที่Error Message แจ้งมาอาจจะช่วยแก้ปัญหาได้
หากปัญหานี้เกิดมาในช่วงที่คุณกำลังติดตั้งเซอร์วิสแพ็ค ของวินโดวส์ สาเหตุ
อาจ
จะมาจากการที่ไม่คอมแพตทิเบิลกันของไดรเวอร์หรือ System
Service ที่ได้ติดตั้งไว้ให้ลองถอน Third-party Device ก่อน
การติดตั้งเซอร์วิสแพ็ค และเมื่อหลังจากติดตั้งสำเร็จแล้วให้ลองติดต่อไปยัง
โรงงานผู้ผลิต เพื่อสอบถามหาไดรเวอร์ที่เข้ากันได้อีกที
Error :
KMODE_EXCEPTION_NOT_HANDLED
(Error Code : 0x0000001E)
ค่า 0x1E เป็นเครื่องบ่งบอกว่าวินโดวส์ เอ็กซ์พีตรวจสอบพบชุดคำสั่ง
ที่ไม่ถูกต้อง หรือไม่อาจระบุได้ ปัญหาที่พบจาก 0x1E นั้นใกล้เคียงกับ
การเกิดขึ้นของ 0xA อาจจะแตกต่างกันเล็กน้อย ที่ ค่า 0xA เกิดจาก
การใช้งานผิดพลาดที่หน่วยความจำ แต่ เจ้า 0x1E นั้น เป็นการ
ผิดพลาดจากชุดคำสั่ง
สาเหตุและหนทางแก้ปัญหาที่อาจเป็นไปได้
0x1E โดย ส่วนมากจะปรากฏหลังจากติดตั้งไดรเวอร์ หรือ System
sevices ที่ผิดพลาด หรือเกิดจากอุปกรณ์ที่ติดตั้งลงไปใหม่นั้นทำให้
เกิดการขัดแย้งหรือแย่งกันใช้งานค่าบางอย่าง เช่น หน่วยความจำหรือ
IRQ ( memory or IRQ conflicts) ถ้าเออเรอร์นี้ แสดง
รายละเอียดของชื่อไดรเวอร์ที่มีปัญหาก็ให้ลองหยุดใช้ หรือ ถอดถอนไดร
เวอร์เจ้าตัวที่มีปัญหาออก อาจจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ หรืออาจจะเป็นที่ไฟล์
ไดรเวอร์ที่ติดตั้งนั้นเสียหายจากไวรัส เป็นต้น
แต่ถ้าเออเรอร์นั้นได้อ้างถึงไฟล์ชื่อ Win32k.sys อาจจะเกิดจากมี
การติดตั้งไฟล์ตัวนี้มาแทนที่จากโปรแกรมอื่นๆ วิธีแก้ก็ลองให้พยายาม
ยกเลิก system service นี้ โดยการสตาร์ทวินโดวส์ใน Safe
Mode แต่หากยังแก้ไขไม่ได้ คงต้องใช้งาน Recovery
Console เพื่อลบไฟล์ System Service ที่สร้างปัญหานั้นทิ้ง
ปัญหานี้ก็อาจจะเกิดมาจากอัพเดตไบออสที่เข้ากันไม่สมบูรณ์ เช่น
ไบออสที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานพลังงาน (ACPI) ให้ลองแก้ไข โดย
การกลับไปใช้ไบออสตัวเก่า หรือหาตัวที่สมบูรณ์กว่านี้
อีกสาเหตุหนึ่ง อาจมาจากพื้นที่ฮาร์ดดิสก์ไม่เพียงพอต่อการติดตั้ง
โปรแกรมวิธีแก้ง่ายๆ เพียงแต่จัดหา หรือบริหารพื้นที่ให้เพียงพอต่อความ
ต้องการใช้งาน เช่น การลบ Temporary File ทิ้ง (พวกไฟล์
นามสกุล .tmp) พวก Internet Cache files, หรือ ไฟล์ต่างๆ ที่
ไม่ได้ใช้งาน แล้วก็กลับไปติดตั้งโปรแกรม ที่ต้องการต่อได้ หรืออีก
สาเหตุหนึ่ง ปัญหานี้อาจจะเกิดจากการที่หน่วยความจำไม่เพียงพอต่อการ
ใช้งาน เนื่องจากโปรแกรมหรือเซอร์วิสบางตัวนำหน่วยความจำไปใช้งาน
แล้วไม่ยอมคืนหน่วยความจำกลับมา ให้คุณใช้ยูทิลิตี้ที่ชื่อว่า
Poolmon (Poolmon.exe) มาช่วยเหลือ (อยู่ในไดเรกทอรี
\Support\Tools\ของแผ่นติดตั้งวินโดวส์ เอ็กซ์พี) เจ้าตัวนี้สามารถ
ช่วยคุณตรวจสอบว่าโปรแกรมตัวไหนนำหน่วยความจำไปใช้ และไม่
ยอมคืนบ้าง เมื่อเจอแล้ว คุณอาจต้องถอนการติดตั้งโปรแกรมนั้นเสีย
Error : NTFS_FILE_SYSTEM (Error Code
: 0x00000024)
0x24 บ่งบอกถึงปัญที่เกิดขึ้นจากไฟล์ Ntfs.sys ซึ่งเป็นไดรเวอร์
ที่ใช้ในการอนุญาตให้ระบบสามารถอ่านและเขียนระบบไฟล์ซิสเต็มส์
แบบ NTFS ปัญหานี้จะคล้ายกับโค้ด 0x23 ซึ่งมาจากความ
ผิดพลาดในการอ่านหรือเขียนไฟล์ซิสเต็มส์แบบ FAT16 หรือ
FAT32
สาเหตุและหนทางแก้ปัญหาที่อาจเป็นไปได้
อาจเกิดจากการทำงานผิดพลาดของฮาร์ดแวร์ SCSI หรือ ATA
หรือไดรเวอร์ที่เกี่ยวข้องกับอุปกรณ์จำพวกนี้ ทำให้เกิดความผิดพลาด
ในการอ่านหรือเขียนข้อมูลสู่ดิสก์ไดรฟ์ จากปัญหานี้ถ้าคุณใช้งาน
ฮาร์ดแบบ SCSI ให้ตรวจสอบที่รายละเอียดในส่วนของสาย
เชื่อมต่อ หรือจุดเชื่อมต่อต่างๆ และลองตรวจสอบที่ Event
Viewer เพื่อตรวจหาข้อผิดพลาดที่อาจจะเกี่ยวข้องกับอุปกรณ์
ดังกล่าว
ตรวจสอบให้แน่ใจว่าระบบที่ใช้ในการตรวจสอบระบบของคุ ณ ไม่ว่า
จะเป็นระบบ Anti virus หรือระบบแบ็กอัพที่ใช้งาน ทำงานเข้า
กันได้อย่างสมบูรณ์กับ วินโดวส์ เอ็กซ์พี หลังจากนั้นให้ลอง
ตรวจสอบกับอุปกรณ์ที่คุณใช้งาน บางชิ้นนั้นจะให้มากับเครื่องมือที่
ใช้ในการตรวจสอบความสมบูรณ์ของมันได้ (Diagnostic
Tool) หากไม่มีเครื่องมือจำพวกนี้มาให้ เราก็สามารถตรวจสอบได้
จากเครื่องมือของวินโดวส์ที่ให้ซึ่งมี 2 วิธีดังนี้ (ควรทำใน Safe
mode)
วิธีที่ 1
1. ในช่อง Run ให้พิมพ์คำว่า "cmd"
2. ให้เริ่มต้นใช้งานเครื่องมือ Chkdsk, และใส่พารามิเตอร์เพื่อ
ตรวจสอบความผิดพลาดของไฟล์โดยพิมพ์คำสั่ง ว่า "chkdsk
[drive:] /f" (drive: คือชื่อไดรฟ์ที่คุณต้องการตรวจสอบ เช่น
C: D: E: หรือ F: เป็นต้น)
ข้อควรระวัง ถ้าคุณไม่ได้ใช้งานระบบ NTFS ไฟล์ที่มีการตั้งชื่อยาว
กว่า 8
ตัว อักษร อาจจะเกิดการสูญหายไปจากฮาร์ดดิสก์ได้ หลังจากการ
ตรวจสอบด้วยวิธีนี้
วิธีที่ 2
1. ดับเบิลคลิ้กที่ My computer และเลือกไปที่ฮาร์ดดิสก์ที่
ต้องการจะตรวจเช็ค
2. ที่หัวข้อ "File" บนเมนูบาร์ให้เลือกที่ Properties
3. เลือกแท็บที่เขียนว่า Tools
4. ให้เช็คที่ช่องที่เขียนว่า Error-checking box
5. ในหัวข้อเช็ค Check disk options ให้เลือกที่ Scan
for and attempt recovery for and sectors หรือ จะ
เลือกที่automatically fix file system error ด้วยก็ไม่
เสียหายนะครับ
อีกสาเหตุหนึ่งอาจจะมาจากปัญหา Nonpage pool memory
ในหน่วยความนำในระบบหมดสิ้นอย่างสิ้นเชิง สาเหตุนี้สามารถแก้ได้
อย่างง่ายได้ โดยใช้เงินในกระเป๋าคุณไปซื้อแรมมาเพิ่มนั่นเอง